PAGE TITLE
 
 
 
กลับหน้าหลัก
บทนำ
การพัฒนาชนบท
การพัฒนาการเกษตร
การพัฒนาแหล่งน้ำ
การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน
การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
การพัฒนาชาวเขา
โครงการธนาคารข้าว
โครงการธนาคารโค-กระบือ
โครงการฝนหลวง
หน่วยแพทย์เคลื่อนที่
แก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ
โครงการศิลปาชีพพิเศษ
กังหันน้ำชัยพัฒนา


                           หน้า   1    2    3  
 

โครงการฝนหลวง

 
 

"...กิจการฝนเทียมก็เป็นผลที่ดี เพื่อให้กิจการฝนเทียมได้ผลดียิ่ง จะต้องอาศัยหลายอย่างนอกจากเงินสำหรับค่าใช้จ่ายนั้นก็ต้องมีความร่วมมือกันระหว่างทุกฝ่าย ทางด้านวิชาการก็ต้องค้นคว้าอยู่เสมอว่าลักษณะใดจะทำฝนเทียมได้เป็นผลสำเร็จ และต้องพยายามหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ..."

พระราชดำรัส
พระราชทานแก่คณะชาวสวนจันทบุรี
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา
๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๑๕

 

 
 

แนวพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการฝนหลวง
          จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆ เป็นประจำ ได้ทรงพบเห็นปัญหาทุกข์ยากของพสกนิกรอันเนื่องจากสภาวะแห้งแล้งดังกล่าวข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรจะประสบความเดือดร้อนทุกข์ยากมาก เนื่องจากสภาวะแห้งแล้งดังกล่าวข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรจะประสบความเดือดร้อนทุกข์ยากมาก เนื่องจากบางครั้งฝนได้ทิ้งช่วงนานหรือภาวะฝนทิ้งช่วงเกิดในระยะวิกฤตของพืชผล คือ พืชอยู่ในระยะที่ผสมพันธุ์และกำลังให้ผลผลิต ซึ่งเป็นช่วงสำคัญที่พืชต้องการน้ำมาก หากขาดน้ำในระยะดังกล่าวนี้ จะให้ผลผลิตต่ำหรืออาจไม่มีผลผลิตให้เลย ดังนั้นภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงในแต่ละครั้ง/แต่ละปี จึงสร้างความเดือดร้อนและความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างสูง นอกจากนี้ภาวะความต้องการใช้น้ำมันนับวันจะทวีปริมาณความต้องการเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการเพิ่มของประชากร การขยายพื้นที่เกษตรกรรมและการเจริญเติบโตของกลุ่มอุตสาหกรรม
        
 

          ดังนั้น เป็นเวลาเกือบ 10 ปีก่อนที่จะเริ่มโครงการพระราชดำริฝนเทียม หรือฝนหลวง ในปี พ.ศ.2512 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทุ่มเทเวลาคิดค้นและวิจัยเพื่อที่จะนำเทคโนโลยีการทำฝนในประเทศไทยซึ่งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อนมาใช้เป็นมาตรการหนึ่งในการป้องกันและบรรเทาสภาวะแห้งแล้งนอกเหนือจากการบำรุงรักษาต้นน้ำลำธาร การปลูกป่า และการสร้างระบบชลประทาน เพื่อให้ครบวัฏจักรของน้ำ
          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริในการจัดตั้งโครงการค้นคว้าทดลองการทำฝนเทียมและการทดลองกับเมฆในท้องฟ้าเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2512 โดยการโปรยน้ำแข็งแห้ง (คาร์บอนไดออกไซด์แข็ง) จากเครื่องบินเข้าสู่ยอดของเมฆคิวมูลัส ซึ่งเป็นเมฆชนิดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการปฏิบัติการให้เกิดฝน  โดยขึ้นบินปฏิบัติการทดลองครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 กรกฏาคม พ.ศ.2512 ณ บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เมฆที่ทดลองเป็นเมฆคิวมูลัส ฐานสูงประมาณ 3,900 ฟุต ยอดสูงประมาณ 5,600 ฟุต ปรากฎว่า หลังการปฏิบัติการประมาณ 15 นาที ก้นเมฆรวมตัวกันหนาแน่น ก่อยอดสูงและมีขนาดใหญ่ขึ้น สีของฐานเมฆได้เปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเทาเข้ม พร้อมที่จะตกเป็นฝน แต่ไม่สามารถสังเกตเห็นฝนตกได้เพราะยอดเขาบัง
          ต่อมา  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแนะนำให้เปลี่ยนสถานที่ทดลองจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ไปใช้บริเวณศูนย์โครงการพัฒนาชนบทไทย-อิสราเอล อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และศูนย์โครงการพัฒนาหมู่บ้านเขาเต่า อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เป็นสถานที่เป้าหมายทดลอง เพราะบริเวณพื้นที่ทั้งสองแห่งดังกล่าวได้ประสบความแห้งแล้งติดต่อกันมาหลายปี การติดตามสังเกตการทดลองทำได้ดีกว่าเพราะสามารถขอความร่วมมือจากตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ตามแนวเทือกเขาตะนาวศรีด้านตะวันตก บริเวณเหนือลมของพื้นที่เป้าหมายทดลองและรายงานผลได้อย่างรวดเร็ว โดยผ่านข่ายสื่อสารของกรมตำรวจ และหากมีฝนตกมากเกินความต้องการก็สามารถระบายลงสู่ทะเลได้ ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดอุทกภัยทำความเสียหายแก่ราษฎรด้วย
          ดังนั้น สถานที่สำหรับดำเนินการทดลองปฏิบัติการในระยะต่อมาจึงเป็นบริเวณพื้นที่ดังกล่าวข้างต้น และผลการทดลองต่อๆ มา ก็สามารถทำให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่เป้าหมายได้
                                                                   อ่านหน้าต่อไป