แนวพระราชดำริเกี่ยวกับกาพัฒนาชนบท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในชนบททั่วทุกภาคของประเทศ
ทรงทราบถึงปัญหาดังกล่าวข้างต้น
และได้มีพระราชดำริที่จะแก้ปัญหาของชนบทด้วยวิธีกาต่างๆ หลายประการด้วยกัน
ตามลักษณะของปัญหาและสภาพทางกายภาพตลอดจนสังคมจิตวิทยาแห่งชุมชนนั้นๆ
แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทที่สำคัญ
คือการทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนาให้เกิดการพึ่งตนเองได้ของคนในชนบทเป็นหลัก
กิจกรรมและโครงการตามแนวพระราชดำริที่ดำเนินการอยู่หลายพื้นที่ทั่วประเทศในปัจจุบันล้วนแล้วแต่มีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่การพึ่งตัวเองได้ของราษฎรทั้งสิ้น
การที่ราษฎรในชนบทจะสามารถพัฒนาพึ่งตนเองได้นั้น
แนวทางพระราชดำริเน้นการพัฒนาอย่างน้อยสองประการ ประการแรก ได้แก่
การสร้างความแข็งแรงให้ชุมชนด้วยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานหลักที่จำเป็นต่อการผลิต
อันจะเป็นฐานนำไปสู่การพึ่งตนเองได้ในระยะยาว โครงการพื้นฐานที่สำคัญคือ
แหล่งน้ำ
เพราะแหล่งน้ำนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรโดยเฉพาะที่ต้องพึ่งพาอาศัยน้ำฝนได้มีโอกาสที่จะผลิตได้ตลอดปี
และเมื่อชุมชนแข็งแรงพร้อมดีแล้ว ก็อาจมีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ
ที่จำเป็นต่อการยกระดับรายได้ของชุมชน เช่น เส้นทางคมนาคม ฯลฯ
การพัฒนาในลักษณะที่เป็นการมุ่งเตรียมชุมชนให้พร้อมต่อการติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอกอย่างเป็นขั้นตอนนี้ทรงเรียกว่า
" การระเบิดจากข้างใน"
|
|
|
|
|
|
แนวพระราชดำริประการต่อมาคือ การส่งเสริม
หรือสร้างเสริมสิ่งที่ชาวชนบทขาดแคลนและเป็นความต้องการอย่างสำคัญ ซึ่งก็คือ
เรื่องของความรู้ ทรงเห็นว่า ชาวชนบทควรจะมีความรู้ในเรื่องการทำมาหากิน
การทำการเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
ในเรื่องนี้ทรงเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี "ตัวอย่างของความสำเร็จ"
ในเรื่องการพึ่งตัวเอง
มีพระราชประสงค์ที่จะให้ราษฎรในชนบทได้มีโอกาสได้รู้ได้เห็นถึงตัวอย่างของความสำเร็จนี้และนำไปปฏิบัติได้เอง
จึงทรงปรารถนาที่จะให้ตัวอย่างของความสำเร็จทั้งหลายได้กระจายไปสู่ท้องถิ่นต่างๆ
ทั่วประเทศ เรื่องนี้นับเป็นประเด็นแรก ประเด็นต่อไปที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ
การนำเอาความรู้ในด้านเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่เข้าไปให้ถึงมือชาวชนบทอย่างเป็นระบบ
และต่อเนื่องเป็นกระบวนการเดียวกัน
เป็นเทคโนโลยีการผลิตที่ชาวบ้านรับได้และสามารถนำไปปฏิบัติอย่างได้ผลแท้จริง
ในทางปฏิบัติ
การที่จะบรรลุถึงเป้าหมายตามแนวทางดังกล่าวข้างต้นนั้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงใช้เทคนิควิธีการต่างๆ หลายประการ
หลักในการพัฒนาของพระองค์ประการแรกคือ
การพัฒนาโดยยึดปัญหาสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่เป็นหลัก
โดยเฉพาะทรงให้ความสำคัญกับความกระตือรือร้นของคนในพื้นที่
รวมทั้งปัญหาและความต้องการของเขาเหล่านั้นมากเป็นพิเศษ มีพระราชดำรัสว่า
"
การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์
และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ในสังคมวิทยา
ภูมิประเทศตามสังคมวิทยาคือนิสัยใจคอของคนเราจะไปบังคับให้คนคิดอย่างอื่นไม่ได้
เราต้องแนะนำ เราเข้าไป ไปช่วยโดยที่จะดัดเขาให้เข้ากับเราไม่ได้
แต่ถ้าเราเข้าไปแล้ว เราเข้าไปดูว่าเขาต้องการอะไรจริงๆ
แล้วก็อธิบายให้เขาเข้าใจ
หลักการของการเข้าไปพัฒนานี้ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง "
อ่านหน้าต่อไป
|