PAGE TITLE
 
 
 
กลับหน้าหลัก
บทนำ
การพัฒนาชนบท
การพัฒนาการเกษตร
การพัฒนาแหล่งน้ำ
การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน
การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
การพัฒนาชาวเขา
โครงการธนาคารข้าว
โครงการธนาคารโค-กระบือ
โครงการฝนหลวง
หน่วยแพทย์เคลื่อนที่
แก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ
โครงการศิลปาชีพพิเศษ
กังหันน้ำชัยพัฒนา


                           หน้า   1    2    3    4  
 

การพัฒนาแหล่งน้ำ

 
 

"...หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภคน้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้..."


พระราชดำรัส
พระราชทานแก่ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อ
ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และคณะฯ
ณ สวนจิตรลดา
๑๗ มีนาคม ๒๕๒๙

 

 
 

ความทั่วไป
          การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญ นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญ และมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่เป็นประเทศเกษตรกรรม เช่น ประเทศไทยในการช่วยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี ในปัจจุบันพื้นที่การเพาะปลูกส่วนใหญ่ในทุกภาคของประเทศ เป็นพื้นที่เพาะปลูกนอกเขตชลประทาน ซึ่งการเพาะปลูกอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอตามที่พืชต้องการ เป็นผลให้ผลิตผลที่ได้รับไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งความผันแปรเนื่องจากฝนตกไม่พอเหมาะกับความต้องการเสมอๆ เป็นเหตุให้การเพาะปลูกได้รับความเสียหายอยู่บ่อยๆ ส่วนใหญ่แล้วในเขตภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มักมีฝนตกน้อยประมาณเดือนกรกฎาคม ทำให้เกิดสภาวะฝนแล้ง ฝนที่ช่วงเป็นเวลานานในระหว่างฤดูฝนเป็นประจำเกือบทุกปี พอถึงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน ในเขตพื้นที่ดังกล่าวเช่นกันก็มักจะมีฝนตกหนักมากเกินความต้องการจนบางปีก็เกิดอุทกภัยอย่างรุนแรง ทั้งสภาวะฝนแล้งและอุทกภัยล้วนเป็นเหตุทำให้พืชผลในพื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหาย ปัญหานี้สามารถที่จะแก้ได้โดยการชลประทานหรือการพัฒนาแหล่งน้ำ
     
 
     
 

          ปัญหาและการพัฒนาแหล่งน้ำ 
        
อุปสรรคทางธรรมชาติเป็นปัญหาของการพัฒนาแหล่งน้ำมี 3 ประการ ดังต่อไปนี้
           1.  ปัญหาเกี่ยวกับสภาพแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีประมาณน้ำน้อย หรือในบริเวณที่ไม่มีแหล่งน้ำเลย มักพบกันทั่วทุกภาคของประเทศ
            2.    ปัญหาเกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศ เป็นปัญหาจากการที่สภาพภูมิประเทศไม่เหมาะสมกับการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ อย่างเช่น ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีสภาพพื้นที่โดยทั่วไปค่อนข้างแบนราบไปตลอด สภาพภูมิประเทศเช่นนี้ไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างงานพัฒนาแหล่งน้ำที่ให้ประโยชน์คุ้มค่าตามที่ต้องการได้
           3.   ปัญหาเกี่ยวกับที่ดิน   ในบางท้องที่เรื่องที่ดินเป็นปัญหาสำคัญทำให้ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างแหล่งน้ำที่เหมาะสมได้ อย่างเช่น โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่พื้นที่เพาะปลูกของราษฎรจำนวนมากต้องถูกน้ำท่วม และทางราชการไม่สามารถจัดหาพื้นที่จัดสรรชดเชยให้ได้
           แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำ
           แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำ หรือพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่พระราชทานกับส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้เป็นแนวทางปฏิบัติพอสรุปได้ดังนี้
          1.   พระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำ  ที่พระราชทานให้กับส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการเพื่อช่วยเหลือราษฎรต่อไปนั้น เป็นแต่เพียงพระราชทานเป็นแนวทางให้เจ้าหน้าที่นำไปพิจารณา โดยส่วนราชการที่รับพระราชทานพระราชดำริไป จะต้องพิจารณาศึกษาและวางโครงการโดยละเอียดให้ถูกต้องตามหลักวิชาการเสมอ หางโครงการใดทำการศึกษาโดยละเอียดแล้วปรากฎว่าไม่มีความเหมาะสม เช่น ฐานรากของเขื่อนเก็บกักน้ำไม่ดี ค่าก่อสร้างเขื่อนมีราคาสูงมากจนไม่เหมาะสม หรือบางโครงการที่วางโครงการไว้ในแผนที่มาตราส่วน 1
: 50,000  แล้วมีความเหมาะสม แต่เมื่อได้สำรวจรายละเอียดภูมิประเทศจริงๆ แล้วปรากฎว่าสภาพภูมิประเทศมีความคลาดเคลื่อนมากจนไม่สามารถดำเนินการ ก็ให้ส่วนราชการนั้นระงับการก่อสร้างโครงการนั้นได้
                                                                                                                                                             อ่านหน้าต่อไป