PAGE TITLE
 
 
 
กลับหน้าหลัก
บทนำ
การพัฒนาชนบท
การพัฒนาการเกษตร
การพัฒนาแหล่งน้ำ
การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน
การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
การพัฒนาชาวเขา
โครงการธนาคารข้าว
โครงการธนาคารโค-กระบือ
โครงการฝนหลวง
หน่วยแพทย์เคลื่อนที่
แก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ
โครงการศิลปาชีพพิเศษ
กังหันน้ำชัยพัฒนา


   

          หน้า   1    2    3    4

 
 

การพัฒนาแหล่งน้ำ (ต่อ)

 
 

          ในด้านเกี่ยวกับท้องถิ่นและสงคม ทรงหลีกเลี่ยงการเข้าไปสร้างปัญหาความเดือดร้อนให้กับคนกลุ่มหนึ่ง โดยสร้างประโยชน์ให้กับคนอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ว่าประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับการลงทุนนั้นจะมีความเหมาะสมเพียงใดก็ตาม ด้วยเหตุนี้การทำงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทุกแห่ง จึงทรงพระราชทานพระราชดำริไว้ว่าราษฎรในหมู่บ้านซึ่งได้รับประโยชน์จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดิน โดยจัดการช่วยเหลือผู้ที่เสียประโยชน์ตามความเหมาะสมที่จะตกลงกันเอง เพื่อให้ทางราชการสามารถเข้าไปใช้ที่ดินทำการก่อสร้างได้ โดยไม่ต้องจัดซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นพระบรมราโชบายที่มุ่งหวังให้ราษฎรมีส่วนร่วมกับรัฐบาล และช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในสังคมของตนเอง และมีความหวงแหนที่จะต้องดูแลบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างนั้นต่อไปด้วย
   

สรุป   โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สามารถให้ประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติเป็นส่วนรวม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวในด้านต่างๆ โดยสรุปดังนี้
          1.  พื้นที่เพาะปลูกจำนวนมากในเขตโครงการพัฒนาแหล่งนำเพื่อการเพาะปลูกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีน้ำอย่างอุดมสมบูรณ์ได้ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง ช่วยให้ราษฎรในท้องที่ต่างๆ ซึ่งแต่เดิมทำการเพาะปลูกไม่ค่อยได้ผลแม้กระทั่งการทำนาปี ส่วนในฤดูแล้งทำการเพาะปลูกไม่ได้เลย เนื่องจากขาดแคลนน้ำ เพราะต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก  สามารถทำการเพาะปลูกในฤดูฝนไผลิตผลมากขึ้นและมีความแน่นอน นอกจากนั้นยังมีน้ำให้ทำการเพาะปลูกในฤดูแล้งได้อีกด้วย ซึ่งโครงการดังกล่าวจนถึงปี พ.ศ. 2529 กรมชลประทานได้ดำเนินการแล้ว 824 โครงการ  พื้นที่รับประโยชน์ 1,517,126

ไร่ และจากข้อมูลผลผลิตข้าวของกรมชลประทานปรากฎว่า ข้าวนาปีที่อาศัยน้าฝนจะได้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณไร่ละ 450 กิโลกรัม นอกจากนั้นยังช่วยให้ราษฎรมีรายได้มากขึ้น
          2.  ในท้องที่บางแห่งซึ่งเป็นพื้นที่ที่เคยมีน้ำท่วมขัง จนไม่สามารถใช้ทำการเพาะปลูกได้หรือทำการเพาะปลูกไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ช่วยให้พื้นที่ต่างๆ เหล่านั้นสามารถใช้ทำการเพาะปลูกได้ผล ได้ผลผลิตสูงขึ้นและมีความแน่นอน ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น สำหรับโครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ขอบพรุอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อให้พื้นที่ขอบพรุแห้งลงและสามารถจัดสรรให้ราษฎรที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองเข้าทำกินได้ เป็นการช่วยให้ราษฎรมีที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง ไม่ไปบุกรุกทำลายป่าหาที่ทำกินแห่งอื่นๆ ต่อไป ซึ่งเป็นการช่วยรักษาป่าไม้อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติของชาติไว้ได้ส่วนหนึ่ง
          3.  โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเองมาจากพระราชดำริ ได้มีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งอ่างเก็บน้ำเหล่านั้นทางกรมประมงได้นำพันธุ์ปลาและพันธุ์กุ้งไปปล่อยไว้ทุกอ่างตามความเหมาะสม และอ่างเก็บน้ำใดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการ จะทรงปล่อยพันธุ์ปลา และอาจจะมีพันธุ์กุ้งด้วยเกือบทุกครั้ง ทำให้ราษฎรตามหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกับอ่างเก็บน้ำต่างๆ นอกจากจะมีอาหารปลาและกุ้งสำหรับบริโภคภายในครอบครัวแล้ว ราษฎรบางรายอาจมีเหลือนำไปขายเป็นรายได้เสริมหรือรายได้หลักให้กับครอบครัวอีกด้วย
          4.  ช่วยให้ราษฎรในเขตโครงการต่างๆ มีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ที่สะอาดอย่างพอเพียงตลอดปี ทำให้ราษฎรมีสุขภาพพลานามัยดีขึ้น และยังช่วยให้มีแหล่งน้ำสำหรับการเลี้ยงสัตว์อีกด้วย
          5.   โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประเภทโครงการบรรเทาอุทกภัยในเขตชุมชนเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ได้ช่วยลดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาลเป็นอันมาก
          6.  โครงการพัฒนาแห่งน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จะช่วยให้ราษฎรตามชนบทที่อยู่ในป่าเขาในท้องถิ่นทุรกันดารซึ่งอยู่ห่างไกลจากเขตชุมชน ได้มีไฟฟ้าใช้สำหรับให้แสงสว่างในครัวเรือนทำให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ดีขึ้น
          7.   โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการจัดหาน้ำสนับสนุนราษฎรชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ ให้มีพื้นที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง โดยมีน้ำสำหรับทำการเพาะปลูกไม้ผลเมืองหนาว และพืชเมืองหนาว รวมทั้งปลูกข้าวไร่เพื่อทดแทนการบุกรุกทำลายป่าตามบริเวณต้นน้ำลำธาร สำหรับทำไร่เลื่อนลอยและปลูกฝิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคเหนือนั้น จะช่วยรักษาพื้นที่ป่าไม้บริเวณต้นน้ำลำธาร ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่าของชาติไว้และเป็นการกำจัดแหล่งผลิตฝิ่นภายในประเทศ ซึ่งเป็นต้นตอของยาเสพติดของประเทศพร้อมกันไปด้วย
          8.  โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการรักษาต้นน้ำลำธารอันเองมาจากพระราชดำริ โดยการสร้างฝายเก็บกักน้ำบริเวณต้นน้ำลำธารเป็นชั้นๆ พร้อมระบบกระจายน้ำจากฝายต่างๆ ไปสู่พื้นที่สองฝั่งของลำธารทำให้พื้นที่ดินสองฝั่งลำธารชุ่มชื้น และป่าไม้ตามแนวสองฝั่งลำธารเขียวชอุ่มตลอดปี ลักษณะเป็นป่าเปียกสำหรับป้องกันไฟป่าเป็นแนวๆ กระจัดกระจายไปทั่วบริเวณต้นน้ำลำธารซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์ไว้ต่อไป