PAGE TITLE
 
 
 
กลับหน้าหลัก
บทนำ
การพัฒนาชนบท
การพัฒนาการเกษตร
การพัฒนาแหล่งน้ำ
การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน
การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
การพัฒนาชาวเขา
โครงการธนาคารข้าว
โครงการธนาคารโค-กระบือ
โครงการฝนหลวง
หน่วยแพทย์เคลื่อนที่
แก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ
โครงการศิลปาชีพพิเศษ
กังหันน้ำชัยพัฒนา


                           หน้า   1    2    3  
 

การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน

 
 

"...เดี๋ยวนี้ทุกคนก็คงเข้าใจแล้วว่า ป่า ๓ อย่างนั้น คืออะไร แต่ก็ให้เข้าใจว่า ป่า ๓ อย่างนี้มีประโยชน์ ๔ อย่าง..ประโยชน์ที่ ๔ นี้สำคัญคือ รักษาอนุรักษ์ดิน เป็นต้นน้ำ ลำธาร..."


พระบรมราโชวาท
พระราชทานในวันเปิดการสัมมนาการเกษตรภาคเหนือ
ณ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่
๒๖  กุมภาพันธ์  ๒๕๒๔

 

 
 

ความทั่วไป
          ประเทศไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา การเพิ่มผลผลิตและรายได้ของประเทศมาจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากกว่าการเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ จนถึงขณะนี้ได้ประมาณกันว่า พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเกษตรกรรมได้ใช้ไปจนเกือบหมดสิ้นแล้ว การอพยพโยกย้ายของประชากรเข้าไปอยู่กระจัดกระจายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ได้ทำลายพื้นที่ป่าไม้ลงเป็นจำนวนมาก แม้กระทั่งทั้งๆ ที่บางส่วนดินไม่มีความเหมาะสมต่อการเกษตรกรรมเลย อย่างเช่นพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ดินเลื่อนลงไปในแหล่งน้ำต่างๆ และตกตะกอนจนตื้นเขินเป็นการทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมไปอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ ในพื้นที่ที่ทำการเกษตรกรรมโดยทั่วไปได้มีการกใช้ที่ดินกันอย่างขาดความระมัดระวัง ใช้ดินซ้ำซากโดยไม่มีการบำรุงรักษาทำให้เกิดความเสื่อมโทรมทั้งทางด้านเคมีและกายภาพ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้หากไม่รีบแก้ไขโดยเร็วก็ย่อมจะมีผลกระทับและเป็นปัญหาต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก
     

          สถานการณ์ปัจจุบันและสภาพปัญหา
          การใช้ทรัพยากรดินของประเทศไทยในปัจจุบัน มีปัญหาสามารถประมวลได้เป็น 4 ลักษณะคือ
          1.  การใช้ที่ดินผิดประเภท  เช่น การบุกรุกทำลายป่า ซึ่งควรสงวนไว้เป็นต้นน้ำลำธาร มาทำไร่เลื่อนลอย หรือการใช้ที่ดินที่เหมาะสมต่อการเกษตรมาใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือเขตอุตสาหกรรม พื้นที่ดังกล่าวมีอยู่ประมาณ 30 ล้านไร่
          2. ปัญหาความเสื่อมโทรมของดิน ซึ่งเกิดจากการชะล้างพังทลายของดินและการขาดอินทรีย์วัตถุในดิน ปัญหานี้มีอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เป็นปัญหาซึ่งพบมากที่สุดในประเทศไทย เป็นพื้นฐานรวมกันถึง 298 ล้านไร่
          3.  สภาพธรรมชาติของดินไม่เหมาะสม เช่น
          -  ดินเปรี้ยว  เกิดอยู่ทั่วไปในพื้นที่ลุ่มภาคกลาง ประมาณ 2.3 ล้านไร่
          -  ดินเค็ม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เป็นพื้นที่ประมาณ 17.8 ล้านไร่
          -  ดินเค็ม และดินเปรี้ยวภาคใต้ เป็นพื้นที่รวม  2.4 ล้านไร่
          -  ดินพรุคือ ดินที่เกิดจากซากพืชที่ทับถมกันยังไม่เกิดการสลายตัว และมีน้ำแช่ขังอยู่เกือบตลอดปี มีอินทรีย์วัตถุสูงมาเกินไป ทำให้มีโครงสร้างที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืชหรือทำการเกษตร พื้นที่ดังกล่าวมีประมาณ 300,000 ไร่ ทางภาคใต้
          4.  ดินที่มีปัญหาจากสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประกอบ เช่น บริเวณบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ทุ่งกุลาร้องไห้) ซึ่งแห้งแล้งและขาดความอุดมสมบูรณ์ และที่ดินชายฝั่งทะเล ซึ่งยังมีการใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ หรือที่ดินเหมืองแร่เก่า ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของดินอยู่ในระดับต่ำมาก
          ปัญหาสำคัญที่สุดและพบมากที่สุดในประเทศไทยคือ  ปัญหาดินเสื่อมคุณภาพ ขาดธาตุอาหารในดิน ที่ดินหลายล้านไร่กำลังเปลี่ยนสภาพและในระยะเวลาอันใกล้ที่ดินหลายแห่งอาจจะไม่สามารถใช้ทำการเพาะปลูกได้อีกต่อไป
         ปัญหาทั้งหลายนี้เป็นผลมาจากการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติมากเกินขนาดโดยขาดความรู้ ขาดความเข้าใจ และไม่ได้พยายามฟื้นฟูบำรุงรักษาธรรมชาติให้ฟื้นกลับคืนมาเป็นการทดแทน ที่ดินจึงกลายเป็นทรัพยากรที่กำลังเสื่อมคุณภาพ เพราะการใช้ประโยชน์ที่ไม่ถูกวิธี รวมทั้งในแง่ปริมาณพื้นที่ก็นับว่าน้อยลงไปเป็นลำดับด้วย เมื่อเทียบกับจำนวนประชาการที่เพิ่มมากขึ้น
          นอกจากนั้นปัญหาการครองครองและกรรมสิทธิ์ในที่ดินก็เป็นปัญหาสำคัญอีกด้านหนึ่งสำหรับเกษตรกร มีพื้นที่ 66.3 ล้านไร่ ซึ่งมีเกษตรกรทำกินอยู่โดยไม่มีเอกสารสิทธิ์ใดๆ เลย และมีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยกว่า 500,000 ล้านครอบครัว หรือร้อยละ 10.7 ของครอบครัวเกษตรกรทั้งประเทศอยู่ในสภาพไร้ที่ทำกิน เมื่อรวมการเช่าที่ดินทั้งจากเกษตรกรที่มีที่ดินทำกินไม่เพียงพอ และเกษตรกรที่ไร้ที่ทำกินแล้ว รวมพื้นที่เช่าทั้งหมดถึง 14 ล้านไร่
                                                                                                                                                             อ่านหน้าต่อไป