PAGE TITLE
 
 
 
กลับหน้าหลัก
บทนำ
การพัฒนาชนบท
การพัฒนาการเกษตร
การพัฒนาแหล่งน้ำ
การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน
การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
การพัฒนาชาวเขา
โครงการธนาคารข้าว
โครงการธนาคารโค-กระบือ
โครงการฝนหลวง
หน่วยแพทย์เคลื่อนที่
แก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ
โครงการศิลปาชีพพิเศษ
กังหันน้ำชัยพัฒนา


                           หน้า   1    2    3  
 

การพัฒนาชาวเขา (ต่อ)

 
 

แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาชาวเขา
         
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบดี ถ้าไม่มีการพยายามหยุดยั้งปัญหาเกี่ยวกับชาวเขาแล้ว เรื่องต่างๆ ก็จะซับซ้อนและทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีเสียงวิพาษ์วิจารณ์ต่างๆ นาๆ เช่น ชาวเขามีอภิสิทธิ์ในการละเมิดกฎหมายบ้านเมือง ทั้งๆ ที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยโดยผิดกฎหมายอยู่แล้ว เมื่อทางเจ้าหน้าที่กวดขันและใช้มาตรการรุนแรง ชาวเขาบางกลุ่มก็ถูกชักชวนให้ร่วมกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ จับอาวุธขึ้นต่อต้านรัฐบาล ฝิ่นที่ผลิตได้และถูกลักลอบออกนอกประเทศ ก็แปรสภาพเป็นยาเสพติดร้ายแรงส่งกลับมาทำลายเยาวชนในประเทศ
          พระองค์ทรงปรารภว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องทำงานแข่งกับเวลา แต่งกับทรัพยากรที่กำลังถูกทำลายลงไปทุกวัน  จึงทรงพยายามรวบรวมผู้มีความรู้ ความสามารถสาขาต่างๆ มาร่วมมือกันทำงานอาสาชิ้นนี้ให้บรรลุผลให้ได้ เพื่อให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เลิกการปลูกฝิ่น เลิกทำไร่เลื่อนลอย อันเป็นผลต่อการอนุรักษ์ป่าไม้และต้นน้ำลำธารด้วย
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริให้เริ่มดำเนินงานโครงการหลวงพัฒนาชาวเขา ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2512  ซึ่งในขณะนั้นมีผู้ที่เข้าใจถึงงานของพระองค์ไม่มากนัก
          ในเวลาต่อมา โครงการหลวงพัฒนาชาวเขา หรือโครงการหลวงในปัจจุบัน ได้ร่วมกับองค์กรอื่นๆ ของทางราชการ เอกชน และองค์กรต่างประเทศ จำนวนมาก ปัจจุบันการดำเนินงานของโครงการครอบคลุมหมู่บ้านชาวเขา 126

 
 

แห่งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และลำพูน เป็นระบบการพัฒนาแบบครบวงจร ที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือชาวเขาทุกด้านไปพร้อมๆ กัน
           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญกับงานค้นคว้าวิจัย เพื่อการพัฒนามากและทรงเชื่อมต่อข้อสรุปทางวิชาการกับการปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ การดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาชาวเขา จึงมีงานด้านการค้นคว้า วิจัย เพื่อการพัฒนาเป็นกิจกรรมสำคัญโดยได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากองค์กรทางวิชาการหลายแห่ง มีการจัดสถานีทดลองวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรบนพื้นที่สูงขึ้นในหมู่บ้านต่างๆ 5 แห่ง ซึ่งมีสภาพแตกต่างกันออกไป เป็นสถานีวิจัยย่อยๆ และจัดตั้งสถานีวิจัยขนาดใหญ่อีก 1 แห่ง นักวิชาการเกษตรที่สูงฝ่ายไทยและผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศร่วมกันทำงานประจำอยู่ในหมู่บ้าน เพื่อดำเนินการทดลองวิจัยเก็บข้อมูล ทำรายงาน และเริ่มให้คำแนะนำส่งเสริมการเพาะปลูกสมัยใหม่แก่ชาวเขา
          งานวิจัยทั้งหมดมุ่งที่จะค้นหาพืชที่ปลูกง่าย มีราคาและเป็นที่ต้องการของตลาดมาทดแทนฝิ่น ขณะเดียวกันมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการใช้ทรัพยากรชนิดต่างๆ เช่น งานวิจัยเกี่ยวกับการทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง งานศึกษาบรรยากาศในที่สูง และงานวิจัยเรื่องการจัดการลุ่มน้ำ โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดิน น้ำ และพืชจากป่าธรรมชาติและพื้นที่เสื่อมโทรม ทั้งนี้ เพื่อหาทางปรับปรุงพื้นที่ลุ่มน้ำบนภูเขาหรือบริเวณต้นน้ำทั้งหลายให้มีสหภาพดีขึ้น

                           
                                                                                                                              อ่านหน้าต่อไป