PAGE TITLE
 
 
 
กลับหน้าหลัก
บทนำ
การพัฒนาชนบท
การพัฒนาการเกษตร
การพัฒนาแหล่งน้ำ
การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน
การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
การพัฒนาชาวเขา
โครงการธนาคารข้าว
โครงการธนาคารโค-กระบือ
โครงการฝนหลวง
หน่วยแพทย์เคลื่อนที่
แก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ
โครงการศิลปาชีพพิเศษ
กังหันน้ำชัยพัฒนา


                           หน้า   1    2    3  
 

การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ (ต่อ)

 
 

วิทยาการด้านอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
1.  ในด้านการปลูกป่าทดแทน
     1.1   การปลูกป่าทดแทน ได้มีหลักให้ดำเนินการคือ ให้พิจารณาปลูกพันธุ์ไม้ 3 อย่างคือ ไม้สำหรับใช้สอย ไม้ผล และไม้สำหรับเป็นเชื้อเพลิง
     1.2  ให้ราษฎรเห็นความสำคัญของป่าไม้ และรักป่า รักที่อยู่อาศัยของตนเอง
     1.3  ให้พิจารณาขยายแนวปลูกต้นไม้ จากบริเวณชุ่มชื้นเข้าหาแนวบริเวณแห้งแล้ง
     1.4  ใช้หลักการในการที่จะรักษาแหล่งต้นน้ำลำธารให้เขียวชอุ่ม ชุ่มชื้นอยู่ตลอดปี เพื่อให้ประชาชนมีน้ำสะอาดได้บริโภคไม่ขาดแคลน
2.  ในด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ
     2.1  ในด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าบางชนิด ที่มีจำนวนลดลงหรือกำลังจะ

 
 

สูญพันธุ์ ให้จัดหามาเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ให้แพร่หลาย ส่งเสริมให้ราษฎรทำการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเป็นอาชีพ และจัดให้มีการดำเนินงานเกี่ยวกับสวนสัตว์เปิด
     2.2  ในด้านของอุทยานแห่งชาติ หากพื้นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีสภาพภูมิประเทศอันเป็นทิวทัศน์สวยงามเหมาะสมที่จะจัดทำในรูปของวนอุทยานหรืออุทยานแห่งชาติได้ เพื่อให้ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ก็จะให้มีการดำเนินการจัดตั้งให้เป็นวนอุทยานหรืออุทยานแห่งชาติขึ้น
3.  ในด้านการจัดพื้นที่ทำกิน
     3.1  พิจารณาถึงแหล่งน้ำที่จะใช้ในการบริโภค และทำการเกษตรกรรมเป็นอันดับแรก ทั้งนี้ เนื่องจากน้ำเป็นปัจจัยเบื้องต้นที่จะนำไปสู่ในการพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่าง หากประชาชนมีสุขภาพพลานามัยดี ร่างกายมีความแข็งแรง การที่จะพัฒนาด้านอื่นๆ ก็สามารถที่จะกระทำสำเร็จได้โดยไม่ยากนัก
     3.2  ให้คำนึงถึงสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประชาชน และสิ่งแวดล้อมใกล้เคียงที่ได้มีการจัดที่ทำกิน
     3.3  ปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์ที่ดินตามความเหมาะสมของประเภทที่ดิน
4.  ในด้านพัฒนาวิจัยป่าไม้
     มีหลักในการดำเนินงาน คือการจัดทำกิจกรรมต่างๆ ควรทำในรูปแบบการสาธิตแผนใหม่ สามารถนำไปใช้ในที่อื่นได้
     

สรุป  การดำเนินการตามพระราชดำริต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้แล้ว ย่อมสามารถที่จะแก้ปัญหาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ได้  หากมีการนำแนวทางหรือหลักการของแนวพระราชดำริไปใช้ยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติในจุดที่มีปัญหาคล้ายคลึงกัน และให้มีการปฏิบัติต่อเนื่อง ตลอดจนให้มีการติดตามประเมินผล
           สำหรับงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เป็นงานที่จะต้องดำเนินการอย่างมีระบบแบบแผนและต้องใช้เวลา ตลอดทั้งเทคโนโลยี รวมทั้งงบประมาณและเจ้าหน้าที่ดำเนินการแก้ไข พัฒนา แล้วยังต้องพึ่งพาและแรงสนับสนุน ความร่วมมือ ความเข้าใจของราษฎรที่ใกล้ชิดทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งราษฎรจะต้องเห็นรู้คุณค่า และความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ด้วย การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้จึงจะสัมฤทธิ์ผล
          อย่างไรก็ตาม การดำเนินตามแนวพระราชดำริในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ผลประโยชน์ที่จะได้รับส่วนใหญ่จะตกอยู่กับพสกนิกร ที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร ซึ่งราษฎรเหล่านี้หากมีความเป็นอยู่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีหลักแหล่งในการประกอบอาชีพที่แน่นอน ไม่มีการอพยพเคลื่อนย้าย ปัญหาการบุกรุกทำลายป่าเพื่อเอาพื้นที่ทำการเกษตรกรรม อย่างน้อยที่สุดก็สามารถหยุดยั้งลงได้  หรือจำกัดขอบเขตในการบุกรุกทำลายป่าจากกลุ่มคนเหล่านั้นได้  และหากคนกลุ่มนี้ได้มีความเข้าใจและเห็นคุณค่าความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งเขาจะต้องหวงแหนและช่วยกันดูแลคุ้มครอง เพราะเป็นที่จะให้หรือจะสร้างคุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์ต่อชุมชนของเขาเหล่านั้น และประเทศชาติโดยส่วนรวมต่อไป