PAGE TITLE
 
 
 
กลับหน้าหลัก
บทนำ
การพัฒนาชนบท
การพัฒนาการเกษตร
การพัฒนาแหล่งน้ำ
การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน
การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
การพัฒนาชาวเขา
โครงการธนาคารข้าว
โครงการธนาคารโค-กระบือ
โครงการฝนหลวง
หน่วยแพทย์เคลื่อนที่
แก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ
โครงการศิลปาชีพพิเศษ
กังหันน้ำชัยพัฒนา


                           หน้า  1    2   
 

โครงการธนาคารข้าว (ต่อ)

 
 

สรุป
         
รัฐบาลโดยหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะกรรมการพัฒนาชุมชน ได้รับสนองพระบรมราโชบาย ขยายขอบเขตการดำเนินงานธนาคารข้าวออกไปอย่างกว้างขวาง จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๘ มีธนาคารข้าวที่จัดตั้งขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ มากว่า ๔,๓๐๐ แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ ๕๗ จังหวัด จำนวนข้าวหมุนเวียนในธนาคารข้าว มากกว่า ๑๔.๕ ล้านกิโลกรัม หลักการดำเนินงานของธนาคารข้าวปัจจุบันสามารถปรับใช้กับสภาพปัญหาและความจำเป็นที่แตกต่างกันของแต่ละพื้นที่ เช่น ลักษณะการให้บริการซึ่งมีทั้งให้เปล่า ให้โดยแลกแรงงาน ให้ยืมหรือให้กู้ สำหรับทุนดำเนินงานนั้นอาจหาทุนได้หลายวิธี เช่น การรับบริจาค การเรียกหุ้น ฯลฯ และในกรณีที่ไม่สามารถจัดตั้งกองทุนเริ่มต้นขึ้นมาได้เอง ก็อาจเสนอแผนงานเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐได้
          ธนาคารข้าว เป็นโครงการในเชิงการให้สวัสดิการสังคม สิ่งที่เกิดขึ้นเท่ากับเป็นการโอนรายได้ (
Transfer income) จากคนรวยไปยังคนจน และเป็นการกระจายรายได้ที่ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ ราษฎรมีแหล่งข้าวกลางของหมู่บ้านที่สามารถกู้ยืมไปบริโภคหรือทำพันธุ์ โดยเสียดอกเบี้ยในอัตราต่ำกว่าอัตราซึ่งต้องเสียให้แก่พ่อค้าคนกลางเป็นอันมาก ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากการอดอยากขาดแคลน ช่วยยกระดับฐานะความเป็นอยู่ และระดับรายได้ของเกษตรกรที่ยากจน เป็นการแก้ปัญหาที่ได้ผลและตรงจุดประการหนึ่ง
 

          สิ่งที่ได้มานอกจากนั้น เป็นเรื่องที่มองไม่เห็นผลโดยตรง แต่เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นการสร้างพื้นฐานสำคัญของการพัฒนา สร้างความสมัครสมานสามัคคีของชุมชน ในการที่จะเรียนรู้และดำเนินการแก้ไขปัญหาของตน ซึ่งเป็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงย้ำอยู่เสมอในเรื่องความเข้าใจของราษฎร ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ และความรู้สึกมีส่วนร่วม พระองค์ทรงเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ปลูกฝังได้ ธนาคารข้าวอาจทำหน้าที่เป็นโรงเรียนที่ดี ในขณะเดียวกันก็เป็นตัวชี้ถึงประสิทธิภาพ และความเข้มแข็งของชุมชนนั้นๆ ธนาคารข้าวที่ประสบความสำเร็จมิได้บรรลุเพียงจุดหมายพื้นฐานในการบรรเทาการขาดแคลนข้าวเท่านั้น  แต่ยังได้สร้างกิจกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพ สร้างการมีส่วนร่วม ภาวะผู้นำ และความร่วมมือในระดับชุมชนอีกด้วย กิจกรรมธนาคารข้าวในท้องที่หลายแห่ง เป็นที่มาของความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ของชาวบ้านที่ร่วมใจกันหาวิธีการนำข้าวเข้ากองทุน และในอีกหลายท้องที่ ผลประโยชน์ที่เพิ่มพูนขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมธนาคารข้าว ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันในจุดเล็กๆ ที่พร้อมจะเติบโตต่อไป