กลับหน้าหลัก : บทนำ

 

ความรู้ทั่วไป

 

สรรพคุณสมุนไพรแบ่งตามกลุ่มอาการ

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

  แคดอกขาว ดอกแดง

 

  ท้าวยายม่อม (ต้น)

 

  ท้าวยายม่อม (หัว)

 

  ธรณีสาร

 

  บอระเพ็ด

 

  ประทัดใหญ่ ประทัดจีน

 

  ประคำดีควาย

 

  ประยงค์

 

  ปลาไหลเผือก

 

  ฝ้ายแดง

      พิมเสนต้น
      ฟ้าทะลายโจร
      มะปราง
      ย่านาง
      ลูกใต้ใบ
      สะเดา
 

  สะเดาอินเดีย














 

     

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

ปลาไหลเผือก

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Eurycoma longifolia  Jack

วงศ์  Simaroubaceae

ชื่ออื่น :  คะนาง ขะนาง ไหลเผือก (ตราด) ตุงสอ แฮพันชั้น (ภาคเหนือ) หยิกปอถอง หยิกไม่ถึง เอียนดอย (ภาคอีสาน) เพียก (ภาคใต้) กรุงบาดาล (สุราษฎร์ธานี) ตรึงบาดาล (ปัตตานี) ตุวุเบ๊าะมิง ดูวุวอมิง (มลายู-นราธิวาส)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลอมดำ แตกกิ่งก้านน้อย กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนปกคลุม ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายใบคู่ ออกเรียงสลับหนาแน่นที่ปลายยอด ใบย่อยมี 7-8 คู่ รูปใบหอกหรือรูปรี กว้าง 1.5-6.5 ซม. ยาว 5-20 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้ม ดอก ออกเป็นช่อใหญ่ตามซอกใบ ดอกสีม่วงแดง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.1 ซม. กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5-6 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5-6 กลีบ รูปไข่มีขน เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ก้านช่อดอกสีแดง ผล รูปกลมรี กว้าง 0.5-1.2 ซม. ยาว 1-1.7 ซม. ออกเป็นพวง ผิวเรียบ ผลสดสีเขียว สุกเป็นสีแดง เมล็ดเดี่ยว
ส่วนที่ใช้ : 
รากปลาไหลเผือก

สรรพคุณ :

          รากปลาไหลเผือก - รสขมจัด เบื่อเมาเล็กน้อย ถ่ายฝีในท้อง ถ่ายพิษต่างๆ ใช้เป็นยาแก้ไข้ ตัดไข้ทุกชนิด ใช้ผสมยาจันทลิ้นลา* ใช้เป็นยาตัดไข้ ใช้รับประทานแก้วัณโรคในระยะบวมขึ้น
* ยาจันทลิ้นลา เป็นยาตำรับโบราณ ใช้รักษไข้ แก้อาการชัก