กลับหน้าหลัก : บทนำ

 

ความรู้ทั่วไป

 

สรรพคุณสมุนไพรแบ่งตามกลุ่มอาการ

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

  แคดอกขาว ดอกแดง

 

  ท้าวยายม่อม (ต้น)

 

  ท้าวยายม่อม (หัว)

 

  ว่านธรณีสาร

 

  บอระเพ็ด

 

  ประทัดใหญ่ ประทัดจีน

 

  ประคำดีควาย

 

  ประยงค์

 

  ปลาไหลเผือก

 

  ฝ้ายแดง

      พิมเสนต้น
      ฟ้าทะลายโจร
      มะปราง
      ย่านาง
      ลูกใต้ใบ
      สะเดา
 

  สะเดาอินเดีย































 

     

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

แคดอกขาว แคดอกแดง

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Sesbania grandiflora  (L.) Desv.

ชื่อสามัญ  Agasta, Sesban, Vegetable humming bird

วงศ์  Leguminosae - Papilionoideae

ชื่ออื่น :  แค แคบ้านดอกแดง แคขาว (ภาคกลาง) แคแดง (เชียงใหม่)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม.  ยาว 3-4 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ  สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ 2-4 ดอก ดอกสีขาวหรือแดง มีกลิ่นหอม ก้านเกสรเพศผู้สีขาว 60 อัน ผล เป็นฝัก ยาว 8-15 ซม. ฝักแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดกลมแป้น สีน้ำตาล มีหลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้ :
เปลือกต้น  ดอก  ใบสด  ยอดอ่อน

สรรพคุณ :

  • เปลือก 
    - ต้มหรือฝนรับประทาน แก้โรคบิดมีตัว
    - แก้มูกเลือด แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
    - ภายนอก ใช้ชะล้างบาดแผล

  • ดอก,ใบ - รับประทานแก้ไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู (แก้ไข้หัวลม) 
    ชาวอินเดีย ใช้สูดน้ำที่คั้นได้จากดอกหรือใบแคเข้าจมูกรักษาโรค ริดสีดวงในจมูก และทำให้มีน้ำมูกออกมา แก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้

  • ใบสด
    - รับประทานใบแคทำให้ระบาย
    - ใบแค ตำละเอียด พอกแก้ช้ำชอก

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

  • แก้มูกเลือด บิดมีตัว แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
    ใช้เปลือกต้นปิ้งไฟ 1 ส่วน ต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง

  • แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้หัวลม (หรือไข้อากาศเปลี่ยน)
    - ใบสด ต้มกับน้ำรับประทานลดไข้ ใช้ยอดอ่อนจำนวนไม่จำกัด ลวกจิ้มกับน้ำพริก รับประทานแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
    - ใช้ดอกที่โตเต็มที่ล้างน้ำ ต้มกับหมูทำบะช่อ 1 ชาม รับประทาน 1 มื้อ รับประทานติดต่อกัน 3-7 วัน จะได้ผล