กลับหน้าหลัก : บทนำ

 

ความรู้ทั่วไป

 

สรรพคุณสมุนไพรแบ่งตามกลุ่มอาการ

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

  แคดอกขาว ดอกแดง

 

  ท้าวยายม่อม (ต้น)

 

  ท้าวยายม่อม (หัว)

 

  ธรณีสาร

 

  บอระเพ็ด

 

  ประทัดใหญ่ ประทัดจีน

 

  ประคำดีควาย

 

  ประยงค์

 

  ปลาไหลเผือก

 

  ฝ้ายแดง

      พิมเสนต้น
      ฟ้าทะลายโจร
      มะปราง
      ย่านาง
      ลูกใต้ใบ
      สะเดา
 

  สะเดาอินเดีย















 

     

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

ย่านาง

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Tiliacora triandra  (Colebr.) Diels

ชื่อสามัญ  Bamboo grass

วงศ์  Menispermaceae

ชื่ออื่น :  จ้อยนาง (เชียงใหม่)  เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว (กลาง) ยาดนาง (สุราษฎร์ธานี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเลื้อยพัน กิ่งอ่อนมีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างเรียบ รากมีขนาดใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนานปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5 - 10 ซม. กว้าง 2 - 4 ซม. ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1 ซม. ดอกออกตามซอกโคนก้านใบเป็นช่องยาว 2 - 5 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3 - 5 ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้นไม่มีกลีบดอก ผลรูปร่างกลมรีขนาดเล็ก สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดงและกลายเป็นสีดำ
ส่วนที่ใช้ : 
รากแห้ง

สรรพคุณ :

  • รากแห้ง -  แก้ไข้ทุกชนิด 

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ใช้รากแห้งครั้งละ 1 กำมือ (15 กรัม) ต้มกับน้ำ ดื่มก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง

สารเคมี :
         
รากมี isoquinolone alkaloid ได้แก่ tilacorine, tiacorinine, nortiliacorinine A, tiliacotinine 2 - N - Oxide, และ tiliandrine, tetraandrine, D - isochondrodendrine (isoberberine)