กลับหน้าหลัก : บทนำ

 

ความรู้ทั่วไป

 

สรรพคุณสมุนไพรแบ่งตามกลุ่มอาการ

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

  แคดอกขาว ดอกแดง

 

  ท้าวยายม่อม (ต้น)

 

  ท้าวยายม่อม (หัว)

 

  ธรณีสาร

 

  บอระเพ็ด

 

  ประทัดใหญ่ ประทัดจีน

 

  ประคำดีควาย

 

  ประยงค์

 

  ปลาไหลเผือก

 

  ฝ้ายแดง

      พิมเสนต้น
      ฟ้าทะลายโจร
      มะปราง
      ย่านาง
      ลูกใต้ใบ
      สะเดา
 

  สะเดาอินเดีย



















 

     

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

ประทัดใหญ่ ประทัดจีน

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Quassia amara  L.

ชื่อสามัญ  Stave-wood, Sironum wood

วงศ์  Simaroubaceae

ชื่ออื่น :  ปิง ประทัด  (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1.5-3 เมตร แตกกิ่งก้านมากเป็นพุ่มเตี้ย เปลือกต้นเรียบ  สีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยมี 5 ใบ รูปรีหรือรูปไข่กลับ  กว้าง 2-3 ซม. ยาว 3-5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบรวมสีแดงมีครีบแผ่ออกทั้งสองข้าง ใบอ่อนสีแดง ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกสีแดงสด กลีบดอกไม่บานจะหุ้มเกสรอยู่เป็นรูปกรวยคว่ำ ก้านช่อดอกสีแดง ผล เป็นผลกลุ่ม ผลย่อยรูปไข่กลับ สีแดงคล้ำ
ส่วนที่ใช้ :
ราก  ใบ  เนื้อไม้  เปลือก

สรรพคุณ :

  • รากมีรสขมจัด ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้ได้ดี

  • ใบ - ทาผิวหนัง แก้คัน

  • เปลือกและเนื้อไม้ - เป็นยาบำรุงน้ำย่อย ทำให้เกิดอยากรับประทานอาหาร

  • เนื้อไม้ - นำมาสกัดเป็นยาขับพยาธิเส้นด้ายสำหรับเด็ก

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

  • ใช้เป็นยาแก้ไข้มาเลเรีย
    ต้มเนื้อไม้ประทัดจีน (ประทัดใหญ่) 4 กรัม ด้วยน้ำ 4 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้ว วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า-เย็น

  • ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร และเป็นยาขับพยาธิเส้นด้าย
    ใช้เนื้อไม้ 0.5 กรัม ประมาณ 4-5 ชิ้น ชงน้ำเดือด 1/2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งเดียว