กลับหน้าหลัก : บทนำ

 

ความรู้ทั่วไป

 

สรรพคุณสมุนไพรแบ่งตามกลุ่มอาการ

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

  แคดอกขาว ดอกแดง

 

  ท้าวยายม่อม (ต้น)

 

  ท้าวยายม่อม (หัว)

 

  ธรณีสาร

 

  บอระเพ็ด

 

  ประทัดใหญ่ ประทัดจีน

 

  ประคำดีควาย

 

  ประยงค์

 

  ปลาไหลเผือก

 

  ฝ้ายแดง

      พิมเสนต้น
      ฟ้าทะลายโจร
      มะปราง
      ย่านาง
      ลูกใต้ใบ
      สะเดา
 

  สะเดาอินเดีย

































 

     

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน

ประยงค์

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Aglaia odorata  Lour

วงศ์  Meliaceae

ชื่ออื่น :  ขะยง ขะยม พะยงค์ ยม (ภาคเหนือ) ประยงค์ใบใหญ่ (ภาคกลาง) หอมไกล (ภาคใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-3 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น เปลือกต้นเรียบ สีเทา ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก  ออกเรียงสลับ รูปรี ปลายใบมน โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ก้านใบแผ่ออกเป็นปีก ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีเหลือง กลีบดอกมี 6 กลีบ ซ้อนกันเป็นรูปทรงกลมไม่บาน ผล รูปทรงกลมรี ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเหลืองอ่อน ผลสุกสีแดง เมล็ดเดี่ยว สีน้ำตาล
ส่วนที่ใช้
ดอก  ก้าน และใบ

สรรพคุณ :

  • ดอก - ช่วยเร่งการคลอด แก้อาการเมาค้าง ฟอกปอด ทำให้หูตาสว่าง แก้ร้อนดับกระหาย อึดอัดแน่นหน้าอก ไอ วิงเวียนศีรษะ ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง

  • ก้านและใบ - แก้แผลบวมฟกช้ำ จากการหกล้ม หรือถูกระทบกระแทก ฝีมีหนองทั้งหลาย

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ดอก หรือก้านและใบ แห้ง 3-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก เคี่ยวให้ข้น ใช้ทาแผลบวมฟกช้ำ

ข้อห้ามใช้ - หญิงมีครรภ์ห้ามดื่ม
สารเคมีที่พบ
          ใบ มี Aglaiol, Aglaiondiol, (24 S) - Aglaitriol  (24 R) - Aglaitriol, อัลคาลอยด์ Odoratine และ Odoratinol
การเก็บมาใช้
          ช่อดอกและใบ  เก็บในฤดูร้อน ตอนออกดอก ตากแห้งแยกเก็บไว้ใช้
หมายเหตุ :
          เป็นไม้ที่เหมาะที่จะปลูกเป็นรั้ว ดอกมีกลิ่นหอม แต่โตชา

  • ดอกแห้ง  -  ใช้อบเสื้อผ้า บุหรี่ และแต่งกลิ่นใบชา

  • รากและใบ
    - ในฟิลิปปินส์ ใช้ต้มเป็นยาบำรุงร่างกาย
    - แก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก แก้ไข้และอาการชัก

  • ยาชงจากดอก - ใช้ดื่มแบบน้ำชา เป็นยาเย็น แก้ไข้ พุพอง

  • ราก - ในไทยใช้เป็นยาทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา