2548

 

ห้องสมุด อพ.สธ. : บทความปี 2548 บทความปี 2549

 
 



บทความเดือน มิถุนานยน 2548
 

 

ผืนแผ่นดินไทยภายใต้พื้นที่ประมาณ 513,115 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 320.6 ล้านไร่ เป็นดินแดนขวานทองที่เคยปกคลุมไปด้วยผืนป่าอันกว้างใหญ่ และอุดมสมบูรณ์ด้วยสรรพสิ่งที่มีชีวิต มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดเขตหนึ่งของโลก  เนื่องจากที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรซึ่งเป็นเขตโซนร้อนของโลก (Tropical Zone) ยังผลให้มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงตลอดปี ประกอบกับได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านนำพาฝนและความชุ่มชื้นมาสู่พื้นที่  ทำให้ภูมิอากาศโดยรวมของประเทศเอื้ออำนวยต่อการเกิดและวิวัฒนาการของสรรพสิ่งที่มีชีวิตทั้งมวล  ทั้งยังเป็นต้นกำเนิดของสายน้ำนับร้อยนับพันสายที่ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำสายใหญ่ หล่อเลี้ยงมวลมนุษย์ในที่ราบมาช้านาน

 
         
 



บทความเดือน กรกฎาคม 2548
 

 

ความสัมพันธ์ระหว่างหิน ดิน และชีวิต เป็นความเกี่ยวเนื่องกันของกระบวนการทางกายภาพ อันมีธรณีวิทยาและเคมี กับกระบวนการทางชีวภาพ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจนดูเป็นธรรมชาติที่แยกจากกันแทบไม่ได้  เมื่อมีหินก็จะถูกกระบวนการผุพัง กัดกร่อน กลายเป็นดิน เมื่อมี่ดิน ก็จะมีกระบวนการทางชีวภาพตามมา เช่น มีต้นไม้ มีป่า มีสัตว์หลากหลายชนิดเกิดขึ้นมาด้วย ขณะเดียวกันกระบวนการทางชีวภาพก็เอื้อเกื้อกูลให้เกิดดินเพิ่มมากขึ้นไปอีก เมื่อศึกษาสิ่งซึ่งธรรมชาติสร้างขึ้นมา จึงต้องทำความเข้าใจถึงปัจจัยพื้นฐานทั้งกายภาพและชีวภาพ

 
         
 


บทความพิเศษ

 


มูลนิธิชัยพัฒนาได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเจ้าของลิขสิทธิ์คือ
U.S. National Oceanic & Atmospheric Administration (NOOA) ร่วมกับ UNESCO/Inter-governmental Oceanographic Commission (IOC), International Tsunami Information Center (ITIC) และ Laboratoire de Geophysique, France (LDG) ซึ่งได้อนุญาตให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดแปลและเพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์แห่งปี พ.ศ. 2547 โดยมีกระราชกระแสให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดพิมพ์ขึ้นเป็นภาษาไทย ใช้ชื่อว่า "คลื่นยักษ์สึนามิ คลื่นอภิมหาภัย"  และเผยแพร่เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์โดยด่วน หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้ผู้อ่านได้รู้จักต้นเหตุของการเกิดคลื่นยักษ์และวิธีการป้องกันภัยจากคลื่นยักษ์นี้  รวมทั้งสร้างความเข้าใจพื้นฐานให้ประชาชนในการเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัตินี้ต่อไป
 

 
     



บทความพิเศษ
 

 

"...งานที่จะทำต่อไปเป็นงานที่ยากและมีรายละเอียดอีกมาก แต่กองทัพเรือก็มี หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ ร่วมกับกรมต่างๆ ทำอยู่แล้ว และทำได้ดี ประกอบกับขณะนี้มรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. มีสมาชิกมากว่า 500 คน กระจายอยู่ในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัย ทั่วประเทศ มีศักยภาพพอที่จะดำเนินการศึกษาวิจัยได้...." ตอนหนึ่งจากบทความพิเศษของ ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร กรรมการที่ปรึกษาคณะกรรมการ อพ.สธ.และประธานที่ปรึกษาประสานงานโครงการ อพ.สธ. เขียนขึ้นในโอกาสครบรอบ 50 ปีของหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองทัพเรือ

     



 

 

ดร.พรรณี วราอัศปติ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Remote Sensing ท่านนี้ อดีตเป็นที่ปรึกษาในงานด้านต่างๆ ให้กับ อพ.สธ. เป็นผู้ที่จริงจังในการทำงานอยู่เสมอ ท่านสนใจศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยา ในโอกาสหนึ่งท่านได้เขียนบทความลงในวารสาร ชีวปริทรรศน์ ซึ่งเล่าถึงการผจญภัยวัยเด็กในป่าโทะ ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่เกือบจะสูญหายไปจากความทรงจำของผู้คน บัดนี้ท่านได้ฟื้นชีวิตให้กับพรรณไม้ชนิดนี้อีกครั้งหนึ่ง

     



บทความเดือน สิงหาคม 2548
 

 

ธรรมชาติมีสภาพที่หลากหลายแตกต่างกันหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นป่า ทุ่งหญ้า หนองน้ำ ทะเล ชายหาด เกาะ แก่งต่างๆ ซึ่งทุกแห่งหนประกอบด้วย ดิน หิน กรวด ทราย รวมไปถึงน้ำ ลม แสงอาทิตย์ ตลอดจนสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย ตั้งแต่ในท้องน้ำ จรดท้องฟ้า ซึ่งแต่ละชนิด ต่างก็ทำหน้าที่ของตัวเองมีความสัมพันธ์กัน เกี่ยวข้อง และพึ่งพาซึ่งกันและกัน นก เป็นทรัพย์ธรรมชาติที่มีชีวิต  ซึ่งเป็นหน่วยหนึ่งของธรรมชาติ ทำให้ระบบนิเวศอยู่ในภาวะสมดุล ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ภายใต้สิ่งแวดล้อมเดียวกัน สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยืนนาน ตราบเท่าที่ธรรมชาติไม่ถูกเปลี่ยนแปลงสภาพไป..อ่าน
ชีวิตรักของนก
ได้ที่นี่...

         


บทความเดือน กันยายน 2548
 

 


ปัจจุบันนี้ กระแสของการอนุรักษ์กำลังมาแรง คนส่วนมากจะนึกถึงแต่การอนุรักษ์พลังงาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้ำลำธาร ภูเขา ชายทะเล ป่าชายเลน และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ อีกมากมาย จะมีสักกี่คนที่คำนึงถึงการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตเล็กๆ บนหน้าดอนและในดิน สิ่งมีชีวิตดังกล่าว ก็มีบทบาทไม่ใช่น้อย เพราะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในระบบนิเวศ...อ่านบทความพิเศษ สัตว์หน้าดิน ในดิน สำคัญไฉน แล้วท่านจะรู้ว่าธรรมชาติสร้างสมดุลให้กับธรรมชาติได้อย่างไร
 

     



บทความเดือน ตุลาคม 2548
 

 

ในน้ำทะเล ที่มองดูใสๆ แท้จริงแล้วเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ขนาดเล็กๆ มีลักษณะรูปร่างเฉพาะที่มีความสวยงามแตกต่างกันเป็นจำนวนมาก เรียกสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เหล่านี้ว่า แพลงก์ตอน (plankton) ซึ่งเราจะสามารถมองเห็นความสวยงาม และความมหัศจรรย์ของมันได้ โดยดูด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น  บทความเรื่อง แพลงก์ตอนพืช จุดกำเนินสิ่งมีชีวิตบนโลก  เขียนโดย  ผศ. ดร.มาลินี ฉัตรมงกลกุล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งท่านเป็นหนึ่งในเป็นคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ.

     



บทความเดือนพฤศจิกายน 2548
 

 

ความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ของประเทศไทยที่ตั้งอยู่ในบริเวณจุดเชื่อมระหว่างแผ่นดินใหญ่ไปสู่เขตอบอุ่นกับบรรดาเกาะน้อยใหญ่ในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิคสู่เส้นศูนย์สูตรพร้อมกับมีลมมรสุมพัดผ่านจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  และจากทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทั้งสองทิศทาง ได้นำเอาความชุ่มชื้นและความหนาวเย็นมาสู่ประเทศไทยเป็นเวลารวมแล้วประมาณ 8 เดือน มีช่วงที่ปลอดจากลมมรสุมอีกประมาณ 4 เดือน ที่ประเมินเอาว่าเป็นช่วงฤดูร้อน ทั้งลมและฝนจะเป็นตัวนำพาพรรณพืชจำนวนมากให้ทยอยเข้ามาสู่ประเทศ ซึ่งอาจปลิวมาหรืออาจจะลอยตามน้ำมาจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่งจนส่งผลถึงเข้าสู่ประเทศไทยในที่สุด....อ่าน ความหลากหลายและการเรียนรู้เรื่องของป่าและพรรณพืชเมืองไทย โดย ดร.จำลองเพ็งคล้าย ราชบัณฑิต ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์ อพ.สธ. และประธานคณะปฏิบัติงานวิทยากา อพ.สธ.

     



บทความเดือนธันวาคม 2548
 

 

ภาวะการดำเนินชีวิตแบบเร่งรีบในปัจจุบัน ทำให้การดำเนินชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไป อุบัติการณ์ของการเกิดโรคต่างๆ ก็เปลี่ยนไปด้วย  โรคหัวใจเป็นโรคที่อุบัติการณ์การเกิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ซึ่งโรคหัวใจที่พบบ่อยโรคหนึ่ง คือ โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease) ได้มีการศึกษาวิจัยพืชหลายชนิด เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจซึ่งรวมทั้งมะกอกโอลีฟ บทความนี้ให้ความรู้เรื่องการทดลองใช้น้ำมันมะกอกโอลีฟในการบำบัดและช่วยลดการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด พร้อมด้วยสูตรอาหารไทยที่ใช้น้ำมันมะกอกโอลีฟในการปรุง