ความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ของประเทศไทยที่ตั้งอยู่ในบริเวณจุดเชื่อมระหว่างแผ่นดินใหญ่ไปสู่เขตอบอุ่นกับบรรดาเกาะน้อยใหญ่ในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิคสู่เส้นศูนย์สูตรพร้อมกับมีลมมรสุมพัดผ่านจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
และจากทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
ทั้งสองทิศทาง
ได้นำเอาความชุ่มชื้นและความหนาวเย็นมาสู่ประเทศไทยเป็นเวลารวมแล้วประมาณ
8 เดือน มีช่วงที่ปลอดจากลมมรสุมอีกประมาณ 4 เดือน
ที่ประเมินเอาว่าเป็นช่วงฤดูร้อน
ทั้งลมและฝนจะเป็นตัวนำพาพรรณพืชจำนวนมากให้ทยอยเข้ามาสู่ประเทศ
ซึ่งอาจปลิวมาหรืออาจจะลอยตามน้ำมาจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่งจนส่งผลถึงเข้าสู่ประเทศไทยในที่สุด
ประกอบกับประเทศไทยมีความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 1,650 กม.
และมีความกว้างจากทางตะวันออกจรดตะวันตกประมาณ 770 กม.
มีสภาพผิวดินที่ส่วนใหญ่เกิดจากอิทธิพลของหินชนิดต่างๆ
ที่รองรับรับอยู่มากชนิด ทำให้พืชสามารถเลือกถิ่นตามความต้องการได้
และอันเนื่องมาจากความผสมผสานตามธรรมชาติของพื้นที่บริเวณนี้
ทำให้บรรยากาศเป็นที่น่าอยู่น่าอาศัย เพราะไม่ร้อนเกินไป
ไม่หนาวเกินไป ไม่แห้งแล้งเกินไป
ทำให้มนุษย์และสัตว์นานาชนิดเมื่อเข้ามาแล้วไม่อยากกลับถิ่นเดิมมีแต่จะพยายามอพยพเข้ามาเพิ่มขึ้น
ผู้อพยพเข้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์มักจะนำพืชพรรณในถิ่นเดิมของตน
ที่สามารถใช้เป็นอาหารหรือเป็นยารักษาโรค
หรือที่เกี่ยวพันกับความเชื่อของตนเองนำติดตัวเข้ามาด้วย อย่างเช่น
มะขาม พริกไทย และต้นโพธิ์ เป็นต้น
ในลักษณะอย่างนี้ไม่ถือว่าพืชหรือพรรณไม้ชนิดนั้นเป็นพรรณไม้ถิ่นเดิมของไทย
สำหรับสัตว์ความเด่นชัดในการนำพาจะมาในรูปของพืชหรือเมล็ดพืชที่สัตว์นั้นกินเข้าไปแล้วถ่ายออกเมื่อเดินทางไปถึงจุดหนึ่ง
การกระจายพันธุ์จะเป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
และเป็นการกระจายจากป่าหนึ่งสู่อีกป่าหนึ่งโดยตรง
ลักษณะอย่างนี้ถ้าพบในป่าของประเทศไทยก็ถือว่าเป็นพรรณไม้ถิ่นเดิมของไทยด้วยเช่นกัน
ไม่ต้องคำนึงถึงพรรณไม้ต้นแบบ (Type specimens)
จากความได้เปรียบพิเศษสุดที่ธรรมชาติมอบให้กับประเทศไทยนี้ได้ก่อให้เกิดความหลากหลายของพรรณพืชในรูปแบบต่างๆ
กัน เช่น ความหลากหลายของสังคมพืชหรือชนิดป่า
ที่เหล่าพรรณไม้นั้นขึ้นอยู่
ความหลากหลายของพืชข้ามถิ่นและความหลากหลายของพืชเขตร้อน
ความหลากหลายของสังคมพืชหรือชนิดป่า
ปัจจัยสำคัญที่กำหนดสังคมพืชที่เป็นหลักใหญ่ๆ มี 3
ประการด้วยกันคือ ดิน (หิน) รวมทั้งธาตุอาหารในดิน
ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางของผิวดิน ปริมาณน้ำฝน (ฝน)
และความชุ่มชื้นในดิน ทั้ง 3 ประการ
ก่อให้เกิดสังคมพืชในประเทศไทยในกรอบกว้างๆ 2 รูปแบบ คือ
สังคมพืชป่าดงดิบ และสังคมพืชป่าผลัดใบ
|
1.
สังคมพืชป่าดงดิบ evergreen forest เป็นสังคมที่ประกอบไปด้วยพรรณไม้ที่ให้ความเขียวชอุ่มตลอดปี
สังคมนี้มีประมาณร้อยละ 30 ของเนื้อที่ป่าของประเทศไทย
และแยกเป็นกลุ่มย่อยๆ
ตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมได้อีกหลายกลุ่มดังนี้
1.1 ป่าดิบชื้น (
tropical evergreen rain forest )
มีอยู่ตามภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ของประเทศ
ที่มีระดับสูงตั้งแต่ระดับเดียวกันกับน้ำทะเลจนถึงระดับ 100 เมตร
มีปริมาณน้ำฝนตกไม่น้อยกว่า 2,500 มม. ต่อปี
พรรณไม้ที่ขึ้นจะมีมากชนิด ได้แก่ พวกไม้ยางต่างๆ ไม้ตะเคียน
ไม้สยา ตะเคียนชันตาแมว ไข่เขียว กระบาก ตีนเป็ดแดง จิกนม ขนุนนก
เป็นต้น พืชชั้นล่างจะเต็มไปด้วยปาล์ม หวาย ไผ่ต่างๆ
และเถาวัลย์นานาชนิด ตามผิวดินและใต้ดินมีพวกมวลชีวภาพ
ปุ๋ยอินทรีย์ การผุสลายทรากอินทรีย์วัตถุ ฯลฯ ก่อให้เกิดการสะสม |
ป่าดิบชื้น |
ความโอชะของดิน และการอุ้มน้ำไว้อย่างมหาศาล ป่าประเภทนี้หากถูกทำลายลง
จะด้วยเหตุจากการกระทำของมนุษย์หรือภัยธรรมชาติก็ตาม
จะมีพรรณไม้ใหม่ เช่น พวกตองเต้า สอยดาว พวกปอบางชนิด
เข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็ว หากไม่มีการทำลายซ้ำอีก
จะฟื้นตัวได้ในเวลาอันควร และเป็นไปตามขั้นตอน |
1.2 ป่าดิบแล้ง
( dry evergreen forest )
มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่างๆ ของประเทศ
ตามบริเวณที่ราบและหุบเขา ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่
100-500 เมตร มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000 - 2,000 มม. ต่อปี
มีพรรณไม้หลักมากชนิดด้วยกัน อาทิ กระบาก ยางนา ยางแดง ตะเคียนหิน
เต็งตานี พยอม ตีนเป็ดหรือสัตบรรณ สมพง มะค่า ยางน่อง กระบก พลอง
ฯลฯ
ความโอชะและการอุ้มน้ำของดินแม้จะไม่เท่าเทียมกับป่าดิบชื้น
แต่ก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก พืชชั้นล่างมีพวก ปาล์ม พวกหวาย
พวกขิง-ข่า แต่ปริมาณไม่หนาแน่นนัก
ป่าประเภทนี้มักเปลี่ยนสภาพมาจากป่าดิบชื้นที่ถูกทำลาย
หรือป่าเบญจพรรณชื้นที่สมบูรณ์ก็ได้
หากถูกทำลายโอกาสที่จะกลายเป็นป่าเบญจพรรณจะมีมากกว่าอย่างอื่น
โดยมี ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้กระโดย เข้ามาทดแทน แต่เป็นไปอย่างช้าๆ
|
|
ป่าดิบแล้ง |
|
|