1.3
ป่าดิบเขา ( hill
evergreen forest )
ถือเอาป่าที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่
1,000 เมตรขึ้นไปที่มีกระจัดกระจายอยู่ตามภาคต่างๆ ของประเทศ
มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,500 - 2000 มม.ต่อปี
พรรณไม้หลักค่อนข้างจำกัด เข่น ก่อชนิดต่างๆ ทะโล้ ยมหอม
กำลังเสือโคร่ง นางพญาเสือโคร่ง ดูช้างย้อย สนสามพันปี มะขามป้อมดง
พญาไม้ พญามะขามป้อมดง สนแผง กุหลาบป่า ผสมปนกันไป
ตามต้นไม้จะมีพวกไลเคน และมอสส์หรือตะไคร่น้ำเกาะอยู่
ผิวหน้าดินพร้อมความโอชะของดินมักจะถูกนำพาโดยน้ำฝนได้ง่าย
ไปทับถมกันอยู่ตามหุบเขาและกระจายไปสู่ที่ราบลุ่มตามกระแสน้ำไหล
พืชชั้นล่างจะมีพวกผักกูดหรือเฟิร์นและไผ่ชนิดต่างๆ
กระจายอยู่ทั่วไป ป่าดิบเขาไวต่อการเปลี่ยนแปลงมาก
หากถูกทำลายมักมีโอกาสเปลี่ยนเป็นป่าสนหรือป่าหญ้าได้ง่ายและตามโอกาส
ถ้าหากทิ้งไว้จะค่อยๆ คืนสู่สภาพ โดยมีพวก ก่อ ทะโล้ และสารภีดอย
เข้ามาเป็นแนวหน้า แต่ค่อนข้างช้ามาก
1.4 ป่าสน (
pine
forest )
มักกระจายเป็นหย่อมๆ ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 200 -
1,600 เมตร (ที่จังหวัดประจวบฯ สูงประมาณ 30 เมตร )
ปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000 - 1,500 มม.พรรณไม้ที่ขึ้นมีไม่มากชนิด
และมีสนสองใบกับสนสามใบเป็นหลัก นอกนั้นก็มีพวกไม้เหียง พลวง ก่อ
กำยาน เหมือด ฯลฯ มีปุ๋ยและความโอชะของดินและมวลชีวภาพน้อย
ดินเป็นกรดอ่อนๆ พืชชั้นล่างมักเป็นพวกหญ้าต่างๆ
และพืชกินแมลงบางชนิด เป็นต้น
ป่าประเภทนี้หากถูกทำลายจะกลายเป็นป่าหญ้าเป็นส่วนใหญ่
การฟื้นตัวยากมาก
โดยธรรมชาติป่าประเภทนี้จะต่อสู้กันระหว่างป่าดิบเขากับป่าสน
1.5
ป่าพรุหรือป่าสนุ่น ( peat swamp forest )
เป็นป่าตามที่ลุ่มและมีน้ำขังอยู่เสมอ
พบกระจายทั่วๆไป และพบมากทางภาคใต้
ระดับเดียวกับน้ำทะเลเป็นส่วนมาก ปริมาณน้ำฝนระหว่าง 2,300 - 2,600
มม. ต่อปี เป็นป่าอีกประเภทหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมาก
เท่าที่มีการสำรวจมีไม่น้อยกว่า 470 ชนิด
และจำนวนนี้เป็นชนิดที่พบครั้งแรกของประเทศถึง 50 ชนิด
พันธุ์ไม้หลักมีพวก มะฮัง สะเตียว ยากาตารา อ้ายบ่าว หว้าน้ำ
หว้าหิน ช้างไห้ ตังหน ตีนเป็ดแดง จิกนม ตะเคียนราก หงอนไก่ ชุมแสง
เที๊ยะ กันเกรา ฯลฯ ผิวและใต้ดินประกอบไปด้วยซากที่ยังไม่สลายของอินทรีย์วัตถุและซากพืช
บางทีสะสมกันนานถึง 10 เมตร ดินชั้นล่างเป็นกรด
ส่วนหน้าดินตามปกติเป็นกรดอย่างอ่อนๆ ที่พืช สัตว์ สามารถอยู่ได้
พืชชั้นล่างจะเป็นพวก ปาล์ม เช่น หลุมพี ค้อ หวายน้ำ ขวน ปาล์มสาคู
หมากแดง รัศมีเงิน กระจูด เตยต่างๆ
ป่าประเภทนี้ถ้าถูกทำลายลงในครั้งแรกจะพยายามปรับตัวเองคืนสภาพ
โดยมีไม้มะฮัง หว้าหิน หว้าน้ำ เข้ามาทดแทนในโอกาสแรก
แต่ถ้าถูกทำลายซ้ำซาก ไม้เสม็ดขาวจะเข้ามาแทนที่
กลายเป็นป่าบึงน้ำจืดต่อไป โอกาสที่จะกลายเป็นป่าพรุอีกนั้นยากมาก
1.6 ป้าบึงน้ำจืด (
fresh-water swamp forest )
เป็นป่าที่มีน้ำท่วมขังในบางช่วงหรือขังตลอดปี
มักพบกระจายทั่วไปทุกภาค พบมากทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้
และภาคใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 10-500 เมตร ปริมาณน้ำฝน
1,500-2,000 เมตร ต่อปี พรรณไม้หลักจะมี เสม็ดขาว
ซึ่งบางทีเกือบเป็นชนิดเดียวล้วน ไม้อื่นมี สะแก จิก กระทุ่มน้ำ
กระเบาน้ำ หว้าน้ำ สนุ่น ชุมแสง ไทรบางชนิด โสกน้ำ ข่อย เป็นต้น
พืชชั้นล่างเช่น ผักบุ้ง แพงพวย บัว โสน และพืชน้ำต่างๆ
เป็นป่าที่มีการบุกรุกจากมนุษย์เพื่อใช้เป็นที่ทำกินและอยู่อาศัย
เพราะดินอุดมไปด้วยอินทรีย์วัตถุมาก และเป็นที่ราบ
เหมาะแก่การปลูกพืชเกษตร และอาจตื้นเขินตามธรรมชาติ
จะมีพวกพืชป่าดิบชื้นเข้ามาทดแทนเป็นส่วนใหญ่ต่อไป
|
|
|
|
|
|
ป่าดิบเขา |
ป่าสน |
ป่าบึงน้ำจืด |
|
|