2.3
ป่าเหล่าหรือป่าไสใหม่ (
scrub forest )
เป็นป่าดงดิบหรือป่าผลัดใบที่มีการทำไม้ออกมามากเกินไป
จนขาดหรือเหลือแต่ไม้ที่โปรยเมล็ดหรือรักษาสมดุลย์ตามธรรมชาติของป่านั้นๆ
ให้คงอยู่ได้น้อยมาก
ต้นไม้ที่เหลือมักมีลักษณะทรามหรือเป็นไม้ที่ไม่พึงประสงค์ของคนมากนัก
อาจอยู่ในช่วงที่ต้องเปิดพื้นที่ให้มีการผลัดเปลี่ยนให้พรรณไม้จากที่อื่นเข้ามา
ฉะนั้นพรรณไม้โดยมากจะเป็นพรรณพืชเบิกนำที่ทนต่อความแห้งแล้ง ทนไฟ
ทิ้งใบง่ายเมื่อมีความจำเป็นอาจมีทั้งเมล็ดดกและมีหน่อจากเหง้าช่วย
หรือมีเปลือกหนา อุ้มน้ำ กิ่งก้านอาจเป็นหนามฯลฯ เช่น ไผ่ชนิดต่างๆ
สะแก กระโดน ส้าน แดง ประดู่ มะพอก หว้า ข่อย ถ่อน ตะแบก เป็นต้น
ป่าชนิดนี้ง่ายต่อการไปสู่เป็นป่าหญ้ามาก หากถูกทำลายซ้ำอีกหลายๆ
ครั้ง
2.4 ป่าหญ้า (
savannah forest )
เป็นป่าที่เกิดภายหลังจากที่ป่าธรรมชาติอื่นๆ
ดังกล่าวข้างต้นได้ถูกทำลายไปหมด
ดินมีสภาพเสื่อมโทรมจนไม้ต้นไม่อาจขึ้นหรือเจริญงอกงามต่อไปได้
พวกหญ้าต่างๆ จึงขึ้นมาแทนที่ จะพบได้ทางภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกของไทย
หญ้าที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็น หญ้าคา แฝก หญ้าพง อ้อ แขม เป็นต้น
ไม้ต้นจะมีขึ้นกระจายห่างๆ กันบ้าง เช่น กระโดน กระถินป่า
สีเสียดแก่น ประดู่ ติ้ว-แต้ ตานเหลือง
ไม้เหล่านี้ทนแล้งและทนไฟป่าได้ดีมาก
|
|
|
|
ป่าเหล่าหรือป่าไสใหม่ |
ป่าหญ้า |
ความหลากหลายของพรรณพืชข้ามเขต ประเทศไทยแม้จะอยู่ในเขตร้อน
เพราะตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 5 องศา 37 ลิปดา ถึง 20 องศา
27 ลิปดาเหนือ
แต่มีพรรณพืชข้ามถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรณไม้จากเขตอบอุ่น
กระจายเข้ามาอยู่มากกว่า 200 ชนิด ( Shimizu, 1981-1984)
และจากการศึกษาทบทวนของเอนโด (ยุคเทอร์เทียรี,
1963) ปรากฎว่าพบซากดึกดำบรรพ์ (fossil)
ของไม้ยืนต้นเขตอบอุ่นในท้องที่อำเภอลี้
จังหวัดลำพูน 4 ชนิดด้วยกัน ในสกุล Sequiao Taxodium, Alnus
และ Carpinus
ทั้ง 4 สกุลในปัจจุบันยังขึ้นแพร่หลายในเขตอบอุ่น
สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันมีเพียงสกุล Alnus
( Alnus
nepalensis D.Don -
สร้อยสมเด็จ) และสกุล Carpinus (
Carpinus vimania Wall.ex
Lindl. - ก่อสร้อย) เท่านั้นที่ยังพบขึ้นอยู่
พรรณพืชข้ามถิ่นที่พบขึ้นตามธรรมชาติในป่าประเทศไทย
ย่อมถือเป็นทรัพยากรของประเทศไทย ซึ่งมีทั้งไม้ต้น ไม้ล้มลุก
และไม้เถา
ความหลากหลายของพรรณพืชเขตร้อนรวมทั้งพืชเขตอบอุ่นที่แพร่เข้ามาขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในประเทศไทย
พอจะแยกเป็นกลุ่มกว้างๆ ได้ดังนี้
1.
กลุ่มพวกผักกูดหรือเฟิร์น ( ferns)
ในกลุ่มนี้ทำการทบทวนหรือศึกษาวิจัยและพิมพ์ออกเผยแพร่เรียบร้อยแล้ว
(1979 - 1989)
ด้วยความร่วมมืออย่างดีเยี่ยมจาก ศ. ดร.Motozi Tagawa
และ ศ.ดร. Kunio Iwatsuki จากประเทศญี่ปุ่น
ทำให้ทราบว่าประเทศไทยมีผักกูดหรือเฟิร์นขึ้นอยู่ตามธรรมชาติรวมทั้งสิ้น
637 ชนิด (ชนิดเพิ่มใหม่ 4 ชนิด) จากพรรณพืชรวม 34 วงศ์ และ 132
สกุล ในจำนวนดังกล่าวเป็นพรรณไม้ต้นแบบ ( type specimens)
25 ชนิด ซึ่งเป็นพืชถิ่นเดียว ( endemic
) ถึง 21 ชนิด คือ Selaginella
lindhardii Hieron , Crepeomanes
megistostomum (Copel) Copel , Cleilanthes
delicatula Tag.Et Iwatsuki , Pteris phuluangensis
Tag.et Iwatsuki , Asplenium siamense Tag.et
Iwatsuki , Elaphoglossum dumrongii Tag.Iwatsuki ,
Lomagramma grossoserrata Holttum . Polystichum
attenuatum Tag.et Iwatsuki , Ctenitis dumrongii
Tag.et Iwatsuki , Heterogonium hennipmanii Tag.et
Iwatsuki , Tectaria gymnosora Holttum ,
Thelypteris siamensis Tag.et Iwatsuki , Diplazium
siamense C.Chr ; Pyrrosia heteractis
( Mett.Ex Kuhn) Ching var.minor (C.Chr.)
Ching , Lepisorus hirsutus Tag.et Iwatsuki ,
Arthromeris phuluangensis Tag et Iwatsuki , Polypodium
garrettii C.H.Wright , Hymenasplenium
inthanonense N.Murak et J.Yokoy , และ
Xyphopteriskhaoluangensis Tag et Iwatsuki
ส่วนที่เหลืออีก 4 ชนิด มีปรากฎตามประเทศอื่นๆ
ด้วย คือ Selaginella ostenfeldii
Hieron , S.siamense Hieron , S.amblyphylla
Aiston , และ Platycerium hottomii Jonch.&
Hennipman ส่วนชนิดเพิ่มใหม่ ( new
records) อีก 4 ชนิด
มี เขากวาง Platycerium ridleyi
H.Christ , กูดหางนกยูง Lindsaea
tenera Dry ; เฟิร์นแผง Selaginella
ciliaris ( Retz) Spring
และ เฟิร์นโอกินาวา Pteris
ryukuensis Tag. |
|