-1-

 
 

              จาก ภาวะการดำเนินชีวิตแบบเร่งรีบในปัจจุบัน ทำให้การดำเนินชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไป อุบัติการณ์ของการเกิดโรคต่างๆ ก็เปลี่ยนไปด้วย  โรคหัวใจเป็นโรคที่อุบัติการณ์การเกิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ซึ่งโรคหัวใจที่พบบ่อยโรคหนึ่ง คือ โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease) อาจแบ่งตามอาการทางคลินิกได้ 4 กลุ่มด้วยกันคือ Chronic stable angina, Acute myocardial infration และ Ischemic cardionyopathy  ซึ่งพยาธิสภาพที่พบเห็นกันบ่อยในโรคเหล่านี้ คือ ภาวะการเกิดหลอดเลือดแดงแข็งตัว (Atherosclerosis) (1) เป็นภาวะที่มีไขมันไปเกาะที่เยื่อบุที่เยื่อบุหลอดเลือดขนาดกลางและใหญ่ ทำให้การยืดหยุ่นของหลอดเลือดลดลง และในกรณีที่มีการสะสมของไขมันที่หลอดเลือดมากขึ้น อาจเกิดเป็น foam cell ทำให้ความหนาของหลอดเลือดมากขึ้น เพิ่มความต้านทานในการไหลของกระแสเลือด จนอาจทำให้เกิดภาวะขาดเลือดของเนื้อเยื่อนั้นๆ ได้ ปัจจัยหลายอย่างที่เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัว อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น อายุ เพศชายมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง กรรมพันธุ์ และปัจจัยที่สามารถแก้ไขได้ เช่น การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง ความอ้วน การขาดการออกกำลังกาย ความเครียด เป็นต้น (2) โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะการมีระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง (Hypercholesterolemia) เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัว จากการศึกษาของ Lipid Research Clinic-Coronary Primary Prevention พบว่าทุกๆ  1 % ของการลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือด จะลดอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ 2 % (2)
          ไขมันในร่างกายและในเลือดที่สำคัญมีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด คือ ไตรกลีเซอไรด์ (
triglyceride) ฟอสโฟไลปิด (phospholipids)  คลอเลสเตอรอล (cholesterol) และคลอเลสเตอรอลเอสเทอร์ (cholesterol ester) ซึ่งไขมันเหล่านี้จะรวมอยู่กับอะโปไลโปโปรตีน (apolipoprotein) เป็นไลโปโปรตีน (liporotien) ที่สามารถละลายในเลือดได้ และแบ่งได้ 4 ประเภท คือ Chylomicron , Very low density lipoprotein (VLDL) , High density lipoprotein (HDL) ซึ่งความเข้มของ LDL และ HDL เป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว (2)

 
 

ได้มีการศึกษาวิจัยพืชหลายชนิด เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจซึ่งรวมทั้งมะกอกโอลีฟ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Olea  europaea  L. เป็นพืชในวงศ์  Oleaceae ซึ่งมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มะกอกโอลีฟเป็นไม้ต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นอาจสูงถึง 20 เมตรใบ เดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน รูปใบหอก กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-6 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือมนแคบ มีติ่งเล็กๆ โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบ ก้านใบสั้น ยาว 3-4 มิลลิเมตร ผิวด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบด้านล่างสีเทา ดอก ช่อแยกแขนงออกที่ซอกใบ ดอกฝอยมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกไม่สมบูรณ์เพศ ก้านดอกยาว กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน กลีบดอก 4 กลีบโคนเชื่อมติดกัน ดอกมีสีขาวหรือสีครีม เกสรตัวผู้ 2 อัน ขนาดใหญ่ติดที่กลีบดอก อับเรณูสีเหลืองลักษณะเป็น 2 พู รังไข่มี 2 คาร์เพลแต่ละคาร์เพลมี 2 ออวุล ก้านเกสรเพศเมียตรง สั้นและหนา ยอดเกสรเพศเมียค่อนข้างใหญ่ ผล สด มีเนื้อ รูปร่างกลมรี ยาว 1-4 เซนติเมตร กว้าง 0.6-2 เซนติเมตร สีผลมี

 
 

 สีต่างๆ เช่น สีเขียว สีแดง สีม่วงหรือสีดำ มีเมล็ดแข็ง ผล มะกอกโอลีฟมีเมล็ดในเดี่ยวและมีรูปทรงค่อนข้างกลมอาจจะกลมน้อย หรือกลมมากแตกต่างกันไป ส่วนขนาดของผลขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ผลประกอบด้วยส่วนของเปลือกชั้นนอก ซึ่งสีจะเปลี่ยนเมื่อผลสุก
          ต้นมะกอกชอบขึ้นในเขตร้อนซึ่งมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในพื้นที่โลกที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 30 - 45 องศาเหนือ แม้แต่ในอุณหภูมิลดต่ำถึง - 8 หรือ -10 องศาเซลเซียส ต้นมะกอกก็สามาถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้  โดยมีเงื่อนไขว่าช่วงเวลาหนาวจัดจะต้องไม่นาน การได้รับอากาศเย็นในบางเวลาก็มีส่วนดี เพราะต้นมะกอกได้พักผ่อน แสงแดดเจิดจ้าและอุณหภูมิที่สูงสม่ำเสมอเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้นมะกอกสามารถเจริญเติบโตได้งาม เวลาต้องการน้ำมันมะกอก ชาวสวนจะเก็บผลที่สุกและสมบูรณ์มากว้านเมล็ดออก แล้วนำไปบดด้วยโม่หินโดยไม่ใช้ความร้อน หรือเติมสารเคมีใดๆ เนื้อมะกอกที่มีน้ำมันมากว่า 40 เปอร์เซนต์ จะให้น้ำมันมะกอกสีเขียวอ่อนที่มีรสดีและมีคุณภาพสูง จึงเหมาะสำหรับนำไปทำเป็นยาหรืออาหาร มะกอกโอลีฟมีสรรพคุณการใช้หลายอย่าง น้ำมันจากผลใช้เป็นยาระบาย ช่วยหล่อลื่น บำรุงผม รักษาสิว ใช้เป็นอาหารและทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น (3)                                                                                                                                          
อ่านต่อ>>

 
 
 
  หมายเหตุ จากจุลสาร ข้อมูลสมุนไพร (Medical Plant Newsletter) ปีที่ 22 ฉบับที่ 2  เดือนมกราคม 2548  สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  

               เมนูอาหารไทยปรุงด้วยน้ำมันมะกอกโอลีฟ