|
|||
|
|||
-2- |
|||
นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำมันมะกอกมีส่วนประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด
Monounsaturated 55 - 83 % ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกรดโอเลอิค
ซึ่งน้ำมันมะกอกเองก็ยังมีส่วนในการลดระดับไขมันในร่างกาย
และมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการลดการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งได้
|
|||
|
ฤทธิ์ลดระดับไขมันในร่างกาย |
||
เลือดของน้ำมันมะกอกโดยทำการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าระดับการหลั่งของน้ำดี
ระดับความเข้มข้นและอัตราการขับออกทางอุจจาระของ
bile acid และ
bile cholesterol เพิ่มขึ้น
(8) มีการศึกษาในผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี จำนวน 31 คน
ที่มีอายุตั้งแต่ 84 - 89 ปี ในการรับประทานน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์
พบว่าหลังรับประทานน้ำมันมะกอก ระดับเข้มข้นคลอเลสเตอรอลรวม (total
cholesterol)
และระดับ แอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL-
Cholesterol)
ในเลือดลดลง ซึ่งการลดลงของระดับคลอเลสเตอรอลในร่างกายนั้นมีความสัมพันธ์กับระดับกรดโอเลอิก
(oleic acid)
ในคลอเลสเตอริลเอสเตอร์ (cholesterly
ester) และฟอวสฟอสฟอไลปิด
(phospholipids)
ในพลาสม่า (9)
มีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการรับประทานน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์กับการออกกำลังกานในหนู
พบว่าการที่หนูได้รับน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ทำให้ระดับของไตรเอซิลกลีเซอรอล
(triacylglycerol)
และระดับของคลอเลสเตอรอล (cholesterol)
ซึ่งการออกกำลังกายก็ทำให้ระดับ ไตรเอซิลกลีเซอรอล (triacylglycerol)
และระดับของคลอเลสเตอรอล (cholesterol)
ลดลงด้วยเช่นกัน นอกจากนี้การออกกำลังกายยังทำให้ระดับของ
omega 3 polyunsaturated fatty acid
เพิ่มขึ้นอีกด้วย
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการรับประทานน้ำมันมะกอกร่วมกับการออกกำลังกาย
เป็นแนวคิดที่ดีในการลดระดับของไตรเอซิลกลีเซอรอล (triacylglycerol)
และระดับของคลอเรสเตอรอล (cholesterol)
(10)
นอกจากนี้การให้น้ำมันมะกอกยังทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์
(triglyceride)
และระดับคลอเรสเตอรอลรวม (total cholesterol)
ลดลง และยังทำให้ระดับของ
superoxide dismutase เพิ่มขึ้นอีกด้วย
(11) มีการศึกษาการให้รับประทานน้ำมันมะกอกซึ่งมี
monosatulated fatty acid (MUFA)
ในผู้มีระดับคลอเรสเตอรอลสูงปานกลาง จำนวน 14
คน พบว่าทำให้ระดับคลอเรสเตอรอลรวม และระดับอะโปไลโปโปรตีนบี (Apolipoprotein
B) ลดระดับลง
(12) นอกจากนี้ยังพบว่า สารที่เป็น
minor constituents ของน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์นั้นทำให้ระดับของเอชดีแอลคลอเลสเตอรอล
(HDL Cholesterol)
ในสัตว์ทดลองเพิ่มขึ้น
หลังจากให้ติดต่อกันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ (13) |
|||
หมายเหตุ : จากจุลสาร ข้อมูลสมุนไพร (Medical Plant Newsletter) ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนมกราคม 2548 สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|