|
|||
-3- |
|||
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ในระยะหลังนี้มีการศึกษาเรื่องการต้านอนุมูลอิสระ ที่ส่งผลในการป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งพบว่าการที่แอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL- Cholesterol) ถูกออกซิไดซ์นั้น เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งได้ และน้ำมันมะกอกก็มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ได้ พบว่าฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในน้ำมันมะกอกนั้นมาจากกลุ่มโพลีฟีนอล (polyphenol) ซึ่งพบว่าในน้ำมันมะกอกมีสารกลุ่มนี้อยู่ไม่น้อยกว่า 30 ชนิด และสารหลักที่พบคือ oleuropein, hydroxytyrosol และ tyrosol ซึ่งสารเหล่านี้เองเป็นตัวที่แสดงฤทธิ์ในกาต้านอนุมูลอิสระ (14) และพบว่าแม้ในสารประกอบที่กลุ่มรองลงมาไม่ว่าจะเป็นพวกสารประกอบโพลีฟีนอล (polyphenol) หรือไม่ ในน้ำมันมะกอก อาทิ สารในกลุ่ม phytosterol เช่น B-sitosterol, campesterol และ sigmasterol สารกลุ่ม triterpene เช่น urosolic acid, uvanol และ oleanolic acid และสารกลุ่ม tocopherol นั้น มีคุณสมบัติในการต้านการเกิดออกซิเดชั่นของ LDL ได้เหมือนกัน (15) น้ำมันมะกอกมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดออกซิไดซ์ของ LDL (16,17) พบว่าเมื่อให้น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ชนิด Extra virgin olive oil แก่กระต่ายพันธุ์ New Zealand white และวัดระดับ LDL oxidation น้อยกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระนั้นน่าจะมาจากสารประกอบกลุ่มโพลีฟีนอล (polyphenol) ที่อยู่ในน้ำมันมะกอก (16) |
|||
มีการศึกษาถึงการเกิดภาวะ oxidation และการเกิด anti-oxidation ในมนุษย์ พบว่าการให้น้ำมันมะกอกแก่อาสาสมัครที่สุขภาพดีในระยะสั้น ทำให้ลดการเกิดออกซิเดชั่นของ LDL , 8-oxo-d-glutathione perosidase นอกจากนี้ระดับของเอชดีแอลคลอเลสเตอรอล (HDL Cholesterol) เพิ่มขึ้น โดยการแสดงผลเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นตามปริมาณของสารประกอบพีโนลิก (phenolic) ในน้ำมันมะกอกด้วย (17) ได้มีการศึกษาโดยการแยก LDL จากอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี เพื่อศึกษาในการต้านการเกิด LDL oxidation ของน้ำมันมะกอก พบว่าทั้งสารในกลุ่ม oleuropein และ caffeic acid ในน้ำมันมะกอกนั้น มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระแม้ในขณะต่ำๆ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงผลทางสุขภาพในเชิงบวก ในผู้ที่รับประทานอาหารแบบ Mediteranean มีน้ำมันมะกอกร่วมอยู่ด้วย ซึ่งผลดีนั้นอาจมาจากสารในกลุ่มดังกล่าว (18) พบว่าสารในกลุ่มโพลีฟีนอล (polyphenol) ในน้ำมันมะกอกและไวน์แดงสามารถยับยั้งการเกิด endothelium adhesion ได้ สาร oleuropein, hydroxytyrosol และ resnerotral เป็นตัวที่ต้านอนุมูลอิสระที่ทำให้เกิด adhesion ที่ endothelium ซึ่งน่าจะแสดงได้ว่าการรับประทานอาหารแบบ Mediteranean นั้น มีส่วนในการป้องกันหลอดเลือดด้วย |
|
||
(19)
ระดับของสารกลุ่ม
phenolic ตั้งแต่ 0
- 150 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบว่าน้ำมันมะกอกช่วยให้เกิดการลดระดับของ
LDL oxidation ทำให้ระดับของ
เอชดีแอลคลอเลสเตอรอล (HDL
Cholesterol) เพิ่มขึ้น ระดับ
tyrosol และ
hydroxytyrosol ในปัสสาวะเพิ่มขึ้น
ซึ่งพบว่าในระดับของสาร
phenolic
ที่สูงในน้ำมันมะกอกนั้นส่งผลดีมากกว่าระดับอื่นๆ (20)
จากผลการศึกษาในกระต่ายที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว
พบว่าการทีให้อาหารที่ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของไขมันในไมโตรคอนเดรียของตับ
พบว่าทำให้เกิด
hydroperoxide ในตับได้
ทั้งยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกของการต้านอนุมูลอิสระในร่างกายอีกด้วย
(21) |
|||
หมายเหตุ : จากจุลสาร ข้อมูลสมุนไพร (Medical Plant Newsletter) ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 เดือนมกราคม 2548 สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|