-4-

 

                  มีการทดสอบการลดภาวะเครียดที่เกิดจากการ oxidation ของเซลล์มนุษย์ พบว่าส่วนของสารประกอบ phenolic  ในน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์นั้น มีฤทธิ์ในการลดการการเกิดภาวะเครียดในเซลล์มนุษย์ได้ (22)  มีรายงานว่าสาร hydroxytyrosol สามารถลดการเกิดออกซิเดชั่นจากไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ที่ทำปฏิกิริยากับนิวโทรฟิลล์ (neutrophile) ได้ แต่ไม่สามารถที่ยับยั้งการ NADPH oxidase หรืออีกอย่างคือไม่สามารถที่จะป้องกันการเกิด superoxide anion ได้ (23) นอกจากนี้ยังพบว่าสาร  hydroxytyrosol สามารถที่จะลดการเกิดออกซิเดชั่นจากไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในเซลล์เม็ดเลือดแดง (erytrocyte) ของมนุษย์ได้ด้วย (24) กลไกหนึ่งในการยับยั้งการเกิด LDL oxidation ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งในการที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว พบว่าสาร biophenol  ในน้ำมันมะกอก คือ oleuropein และ protocatechluicalin นั้นสามารถป้องกันการเกิด oxidation  ในเซลล์  Macrophage ได้  นอกจากนี้ยังพบว่าระดับของ glutathione และอนุมูลอิสระอื่นๆ ลดลง ทำให้เอ็นไซม์ glutathione reductase และ glutathione peroxidase ทำงานได้ดีขึ้นโดยผ่านการ mRNA transcription ที่ทำให้เกิดการหลั่งของเอ็นไซม์ในกลุ่ม glutathione related (25)  ในการทดสองทางคลินิคในมนุษย์พบว่า เมื่อให้น้ำมันมะกอกแก่ผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงจำนวน 26 คน โดยให้วันละประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 20 กรัม เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าอัตราการเกิด lipid oxidation ลดลง ซึ่งแสดงว่าน้ำมันมะกอกนั้นทำให้ความต้านทานของการเกิด oxidation  ของไขมันเพิ่มขึ้น (26) ได้มีการศึกษาฤทธิ์ในการป้องกันสุขภาพของหลอดเลือดและหัวใจของ oleuropein  โดยการแยกหัวใจหนูแล้วทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ เพื่อดูการเกิดการป้องกันความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อให้ oleuropein ก่อนการทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด ขนาด 20 ไมโครกรัมต่อกรัม พบว่าทำให้ระดับของ  creatine kinase ลดลง และลดการหลั่งของ glutathione ซึ่งในการสังเกตผลหลังจากเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดนั้น  จะดูการเกิดของ glutathione oxidation  ในการให้สาร oleuropein  ทำให้เกิดภาวะดังกล่าวน้อยลง และยังไปป้องกันการเกิด lipid peroxidase อีกด้วย (27)  มีการทดลองในผู้ป่วยที่มีภาวะ dyslipidemia ในระดับปานกลาง ในผู้ป่วยจำนวน 22 คน ซึ่งกลุ่มที่ได้รับน้ำมันมะกอกชนิด Extra virgin olive oil พบว่าทำให้ thromboxane B2 ในเลือดลดลง และเพิ่มความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งน่าจะเป็นผลในการช่วยป้องกันการเกิดโรคทางหลอดเลือดและหัวใจได้ (28)
          ปัจจุบันมีการให้ความสำคัญของอาหารกับเรื่องสุขภาพมากขึ้น ซึ่งโรคบางโรคนั้น การใช้ยาเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถที่จะช่วยลดอาการของโรคได้ดีนัก จึงจำเป็นต้องมีการดูแลเรื่องอาหารไปพร้อมๆ กัน น้ำมันมะกอกก็น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้สนใจในด้านสุขภาพควรให้ความสนใจใช้ในการประกอบอาหาร ถึงแม้ว่าจะมีรายงานว่าในการใช้น้ำมันมะกอกปรุงอาหารทำให้ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระลดลงบ้าง (29) แต่ยังพบว่ามีฤทธิ์อยู่ จากฤทธิ์ดังกล่าวข้างต้นนั้นน้ำมันมะกอกน่าจะมีส่วนส่งเสริมสุขภาพ และลดอัตราการเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจได้

 
 

 


เอกสารอ้างอิง : ติดต่อได้ที่สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 
 
 
  หมายเหตุ จากจุลสาร ข้อมูลสมุนไพร (Medical Plant Newsletter) ปีที่ 22 ฉบับที่ 2  เดือนมกราคม 2548  สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  

         เมนูอาหารไทยปรุงด้วยน้ำมันมะกอกโอลีฟ