2549                                                                                    ห้องสมุด อพ.สธ. : บทความปี 2548 บทความปี 2549

 
   



บทความเดือนมกราคม 2549
 

 

การ " อบอาบสมุนไพร"  เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย ในการดูแลสุขภาพของคนไทยมาช้านาน และมีการใช้สืบทอดกันมาตลอดเวลาในชนบท ปัจจุบันกลับรื้อฟื้นและกำลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย "สำหรับการรักษาสุขภาพ ช่วยเสริมสุขภาพ และการบำบัดรักษาโรคบางโรค"  ดังนั้น น่าจะมีการส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปเห็นคุณค่าของการอบอาบสมุนไพร ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้สุขภาพดีขึ้น ทั้งยังเป็นการส่งเสริมผู้ปลูกสุมนไพรและเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยในการดูแลสุขภาพของคนไทย โดยใช้ทรัพยากรในประเทศไทย.

     



บทความเดือนกุมภาพันธ์ 2549
 

  หอยทาก เป็นสัตว์โบราณขนาดเล็กที่มีกำเนิดมาเป็นเส้นทางกึ่งกลางให้เกิดวิวัฒนาการเป็นสัตว์ที่อยู่ในลำดับที่สูงกว่าเกิดได้   ในจำนวนที่มีหลายหลาก ในถิ่นอาศัยแทบทุกประเภท ทำให้หอยทากมีบทบาทในระบบนิเวศใกล้เคียงกับแมลง แต่เนื่องจากการเคลื่อนที่ที่ช้ากว่าแมลง ทำให้การถ่ายทอดพันธุกรรมมีรูปแบบเป็นของตัวเอง  โดยเฉพาะหอยที่อยู่ตามเกาะถูกตัดขาดจากแผ่นดินใหญ่มาเป็นเวลานาน และทะเลก็เป็นกำแพงธรรมชาติที่ขวางกั้นการแพร่กระจาย ดังนั้นเรื่องราวหลายอย่างของวิวัฒนาการในอดีต อาจไขความลับได้จากหอยทางที่ติดอยู่บนเกาะนี่เอง....ขอเชิญติดตามอ่านเรื่องราวของ "หอยทากติดเกาะ" โดย ดร.สมศักดิ์ ปัญหา จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
     



บทความเดือนมีนาคม 2549
 

 

จากการศึกษาของ ดร. โจฮันเนส ชมิดท์ ในปี ค.ส.1899 ได้ทำการสำรวจทั้งบนเกาะและริมฝั่งทะเล ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้ได้ทั้งหมด 1,523 ชนิด แบ่งเป็นพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่มีใครพบมาก่อน 194 ชนิด ผลงานถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์พฤกษชาติและสัตว์ชาติแห่งมหาวิทยาลัยโคเปนฮาเกน  และได้พิมพ์ในหนังสือนิตยสารทางพฤกษศาสตร์ของสมาคมเดนมาร์คชื่อ Batanisk Tidsskriff รวมทั้งหมด 10 ภาค โดยตีพิมพ์เป็นเล่มพิเศษ ที่ชื่อว่า Flora of Koh Chang เมื่อวันที่ 17-19 ธันวาคม พ.ศ. 2545 โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ร่วมกับคณะปฏิบัติงานวิทยาการจากสถาบันต่างๆ และคณะวิทยปฏิบัติการจากกองทัพเรือ ได้เข้าทำการศึกษาสำรวจทรัพยากรธรรมชาติบนเกาะช้าง นับเป็นปฏิบัติการย้อนรอยอดีตเส้นทางสำรวจที่ ดร.ชมิดท์ ได้ทำการสำรวจไว้ นับกลเวลาผ่านมาถึง  10 3 ปีแล้ว

     


บทความเดือนเมษายน 2549
 
  ปะการัง (coral)  เป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ประกอบด้วยตัวปะการังซึ่งเรียกว่า "โพลิป" (polyp) ซึ่งมีลักษณะไม่ซับซ้อนอยู่รวมกันเป็นโคโลนี (colony) ปะการังมีลำตัวนิ่ม มีหนวด (tentacle) ที่มีส่วนปลายเป็นเข็มยื่นออกมาใช้ในการจับเหยื่อที่เป็นตัวอ่อนของสัตว์ต่างๆ ที่ล่องลอยในน้ำเป็นอาหาร ปะการังสร้างชั้นหินปูนเคลือบลำตัว จึงมีโครงสร้างภายนอกแข็งแรง ซึ่งทำให้แตกต่างจากดอกไม้ทะเลที่เป็นสัตว์ทะเลที่มีลักษณะพื้นฐานอื่นคล้ายคลึงกัน โครงสร้างแข็งของปะการังจะขยายขนาดขึ้นโดยการแตกหน่อของโพลิป ทั้งนี้ ปะการังบางชนิดที่มีขนาดใหญ่สามารถเติบโตถึง 500 ปี และอาจมีจำนวนโพลิปนับล้านล้านตัว
 
     


บทความเดือนพฤษภาคม 2549
 
  ปลวก จัดเป็นแมลงสังคมชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับ Isoptera มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างสลับซับซ้อน แบ่งออกเป็น 3 วรรณะ มีรูปร่างและหน้าที่ต่างกันชัดเจนคือ วรรณะปลวกงาน ทำหน้าที่หาอาหารและสร้างรัง วรรณะทหาร ป้องกันศัตรูที่เข้ามารบกวนประชากรในรัง และวรรณะสืบพันธุ์ ทำหน้าที่สืบพันธุ์วางไข่ แม้ว่าปลวกบางชนิดจะเป็นศัตรูที่สามารถทำลายความเสียหายให้แก่ไม้ ต้นไม้ หรือผลิตผลที่มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบได้ แต่ในทางนิเวศวิทยาแล้ว ปลวกกว่า 80% จัดเป็นแมลงที่มีประโยชน์และมีความสำคัญต่อระบบนิเวศป่าไม้มาก โดยปลวกจัดเป็นผู้ย่อยสลายในป่าธรรมชาติ ซึ่งทำหน้าที่ร่วมกันกับเชื้อราและแบคทีเรีย พบว่าประมาณ 3 ใน 4 ของขยะธรรมชาติ เช่น ซากพืช เศษไม้ ใบไม้ ท่อนไม้ หรือต้นไม้ที่หักล้มร่วงหล่นทับถมกันอยู่ในป่า ปลวกจะทำหน้าที่ ช่วยในการย่อยสลายให้ผุพังและเปลี่ยนแปลงไปเป็นฮิวมัสหรือินทรีย์วัตถุภายในดิน ก่อให้เกิดการหมุนเวียนอย่างรวดเร็วของธาตุอาหารในดิน สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินในป่า ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้
     


บทความเดือนมิถุนายน 2549
 
  จังหวัดนครราชสีมา จัดเป็นเมืองธุรกิจ อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวที่สำคัญ ของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ปัจจุบันยังนับว่าโชคดีที่มีพื้นที่ของป่าที่ห่างจากตัวเมืองเพียง 10 กิโลเมตร มีเส้นทางไปตามถนนสายนครราชสีมา-โชคชัย เมื่อถึงป่าช้าจีนแล้วจะมีป้ายบอกทางเข้าให้เลี้ยวซ้ายเดินทางประมาณ 6 กิโลเมตร สังเกตดูมีป้ายโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อยู่ทางด้านซ้ายมือซึ่งเป็นเส้นทางเข้าสู่ป่าหนองระเวียง
 
     


บทความเดือนกรกฎาคม 2549
 
  สิ่งมีชีวิตในทะเล แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ตามหลักของนิเวศวิทยา ได้แก่ แพลงก์ตอน (Plankton)  เนคตอน (nekton)  และเบนโธส (benthos)  แพลงก์ตอนเป็นสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ไม่ได้ด้วยตัวเอง  แต่ล่องลอยไปในน้ำสุดแต่คลื่นและลมจะพาไป  เนคตอนเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถว่ายน้ำได้ด้วยตัวเอง  ได้แก่  ปลาหมึก  โลมา วาฬ ฯลฯ กลุ่มสุดท้ายที่อาศัยอยู่บนพื้นท้องน้ำมีทั้งที่เกาะอยู่กับที่หรือคลืบคลานตามพื้น คือ พวกเบนโธส ซึ่งประกอบด้วยสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ดาวทะเล  ปะการัง  กุ้ง  ปู ฯลฯ
     


บทความเดือนสิงหาคม 2549
 
  เมื่อพูดถึงสาหร่าย หลายคนคงนึกถึงน้ำที่มีสีเขียวตามบ่อหรือคูคลองที่น้ำขัง หรือตะไคร่ที่เกิดขึ้นตามพื้นที่ทำให้ลื่นล้ม และเมื่อพูดถึงสาหร่ายทะเลคงจะนึกถึง "จีฉ่าย" ที่ใส่แกงจืด  ก๋วยเตี๋ยว หรือใช้ห่อขนมจีบ ข้าวห่อสาหร่าย ตามร้านอาหารญี่ปุ่น และที่นำมาปรุงรสเป็นแผ่นเล็กๆ บรรจุซองพลาสติกที่นิยมเคี้ยวกันเพลินๆ ความจริงแล้วสาหร่ายทะเลที่รับประทานได้ มิได้มีเฉพาะจีฉ่าย หรือสายใบเท่านั้น แต่ยังมีอีกมากมาย..........อ่านบทความจาก ศาสตราจารย์ กาญจนภาชน์ ลิ่วมโนมนต์
     


 
 

ดินเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์มากมายหลายชนิด ประกอบไปด้วย แบคทีเรีย รา เชื้อแอคติโนมัยสีท สาหร่าย โปรโตซัว และไวรัส นอกจากนี้แล้วในดินยังมีสัตว์หน้าดิน และแมลงหน้าดินต่างๆ สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีความสัมพันธุ์กันในระบบนิเวศของดิน ส่วนใหญ่แล้วดินเกิดจากการสลายตัวและผุพังของแร่หินต่างๆ โดยอิทธิพลจากธรรมชาติ เช่นความร้อน ความเย็น กระแสน้ำ และการทับถมของซากสิ่งมีชีวิตที่เน่าเปื่อยผุพัง ซึ่งเป็นผลมาจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดิน จุลินทรีย์เหล่านี้จึงมีบทบาทสำคัญในการเกิดความอุดมสมบูรณ์ของดิน จำนวนของจุลินทรีย์ในดินขึ้นอยู่กับอาหารทีมีประโยชน์ในดิน ความชื้น ค่าความเป็นกรด-ด่าง และ อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมในดิน.. บทความของ รศ.ดร.วรวุฒ จุฬาลักษณานุกูล ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย