เมื่อพูดถึงสาหร่าย
หลายคนคงนึกถึงน้ำที่มีสีเขียวตามบ่อหรือคูคลองที่น้ำขัง
หรือตะไคร่ที่เกิดขึ้นตามพื้นที่ทำให้ลื่นล้ม
และเมื่อพูดถึงสาหร่ายทะเลคงจะนึกถึง
"จีฉ่าย" ที่ใส่แกงจืด
ก๋วยเตี๋ยว หรือใช้ห่อขนมจีบ
ข้าวห่อสาหร่าย ตามร้านอาหารญี่ปุ่น
และที่นำมาปรุงรสเป็นแผ่นเล็กๆ
บรรจุซองพลาสติกที่นิยมเคี้ยวกันเพลินๆ
ความจริงแล้วสาหร่ายทะเลที่รับประทานได้
มิได้มีเฉพาะจีฉ่าย หรือสายใบเท่านั้น
แต่ยังมีอีกมากมายหลายชนิดที่บริโภคเป็นอาหารประจำวันในหลายประเทศ
เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และฮาวาย
ที่มีกรรมวิธีปรุงและบริโภคแตกต่างกันไป
ชาวจีนมีประวัติการนำสาหร่ายทะเลมาใช้เป็นยาและเป็นอาหารมานานกว่า
2 พันปีมาแล้ว
โดยเฉพาะแก้โรคคอพอกและแก้ไข้
สำหรับคนไทยยังไม่ค่อยนิยมบริโภคสาหร่ายกันเท่าใดนัก
เฉพาะชาวบ้านที่อยู่ตามเกาะและบริเวณใกล้ทะเลที่รู้จักนำสาหร่ายมาประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน
โดยนำมาจิ้มน้ำพริก ยำ
หรือใช้แทนผักใบแกงส้มหรือแกงเหลือง
ท่านที่ไปจังหวัดชายทะเลและชอบเดินตลาดสดยามเช้า
อาจเห็นชาวบ้านนำสาหร่ายสดใส่กระจาดมาขายหรือยำใส่กะละมังมาตั้งขาย
แม้แต่ร้านอาหารบางแห่งยังมีเมนูอาหารที่ทำจากสาหร่ายทะเล
อาทิ ยำสาหร่ายข้อ ยำสาหร่ายผมนาง
หรือสาหร่ายจิ้มน้ำพริกเคยจะหลู
เป็นต้น
ขอแนะนำให้ท่านได้รู้จักกับสาหร่ายทะเล
เพื่อเป็นทางเลือกในการบริโภคอาหารที่ได้จากธรรมชาติ
เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและหลีกเลี่ยงการใช้ยารักษาโรคโดยไม่จำเป็น
สาหร่ายทะเลมีคุณสมบัติทั่วไปเช่นเดียวกับพืชบก
ที่มีโปรตีนและไขมันไม่มากนัก
มีแคลอรี่ต่ำและมีกากใยอาหารสูง
แต่ที่แตกต่างจากพืชบกตรงที่มีปริมาณไวตามินและเกลือแร่สูง
และเป็นพวกที่ร่างกายมนุษย์ต้องการ
ไวตามินมีทั้งไวตามิน
A,
B, C, D, E
และ K แร่ธาตุได้แก่
แมกนีเซียม
ช่วยให้กล้ามเนื้อและประสาททำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
แคลเซียมช่วยบำรุงกระดูก
โปรแตสเซียมช่วยควบคุมการทำงานของเซลล์และความสมดุลของน้ำในร่างกาย
สังกะสีช่วยเสริมระบบคุ้มกัน
ทองแดงและเหล็กมีประโยชน์ต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง
ไอโอดีนป้องกันและรักษาโรคคอพอก ฯลฯ
นอกจากนี้ในสาหร่ายทะเลยังมีเบตาแคโรทีนเป็นองค์ประกอบ
ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ
ต้านมะเร็ง
และเป็นสารตั้งต้นของไวตามิน
A
อีกทั้งมีกรดอะมิโนที่จำเป็นแก่ร่างกายหลายชนิดที่ไม่พบในพืชบก
สาหร่ายทะเลถึงแม้จะมีรสเค็ม
แต่มีปริมาณเกลือต่ำ
เหมาะสำหรับใช้แทนเกลือในผู้ป่วยที่ไม่ต้องการโซเดียมในอาหารสูง
การที่สาหร่ายทะเลมีกากใยสูงถึง 33-75
% น้ำหนักแห้ง
ช่วยให้การขับถ่ายสะดวก
ป้องกันท้องผูก
และป้องกันการเกิดริดสีดวงทวาร
นอกจากนี้การที่สาหร่ายมีปริมาณไขมันต่ำ
ให้พลังงานน้อย
แต่มีคุณค่าทางอาหารสูง
จึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพและช่วยให้อายุยืน
เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ
สาหร่ายทะเลในน่านน้ำไทยหาได้ง่ายและแนะนำให้บริโภคได้แก่
-
สาหร่ายช่อพริกไทย
Caulerpa
lentillifera
-
สาหร่ายเขากวาง
Caulerpa
corynephora
-
สาหร่ายพวงองุ่น
Caulerpa macrophysa
-
สาหร่ายทุ่น
Sargassum oligocystum
-
สาหร่ายแดง
Halymenia durvilleai
-
สาหร่ายผมนาง
Gracilaria fisheri
-
สาหร่ายข้อ
Gracilaria salicornia
-
สายใบ
Porphyra vietnamensis
-
สาหร่ายหนาม
Acanthophora spicifera
|