อีกครั้งที่มีส่วนร่วมในการเขียนบทความลงจุลสาร
หลังจากที่ต้องส่งต้นฉบับให้กับจุลสารสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
(อพ.สธ.) ทุกๆ
สองเดือนเป็นกิจวัตรมาเป็นเวลาร่วมสิบปี
ไม่เว้นแม้แต่ช่วงที่เรียนต่ออยู่ต่างแดน
โชคดีจริงๆ
ที่สมัยนี้การสื่อสารนั้นดีมาก การใช้
electronic mail
(e-mail)
ช่วยอำนวยความสะดวกจริงๆ
แล้วการได้มีโอกาสไปเรียนต่อระดับปริญญาเอกในต่างประเทศเป็นเวลาหลายปีนั้น
เป็นโอกาสในชีวิตที่แตกต่างออกไป
บอกใครๆ เสมอ
ไม่ว่าเป็นรุ่นน้องหรือเพื่อนๆ
ที่กำลังจะไปเรียนต่อต่างประเทศที่มากกว่าหนึ่งปีนั้น
ไม่ควรเป็นการไปเรียนต่ออย่างเดียว
แต่นั่นเป็นการใช้ชีวิตส่วนหนึ่งด้วย
เพราะว่าสี่ห้าปีที่ไปเรียนนั้นเป็นเวลายาวนาน
พอที่จะทำให้อะไรๆ
ที่อยู่ข้างหลังเราเปลี่ยนไป เช่น
เปลี่ยนนายกรัฐมนตรี กรุงเทพฯ
สะอาดขึ้น
มีรถไฟฟ้าใช้แต่รถติดมากขึ้น
มีสะพานพระรามแปด มีอุโมงก์รอดข้ามแยกหน้าบ้าน
รถเมล์เปลี่ยนสาย
บ้านตัวเองเปลี่ยนเลขที่บ้าน
และคงรวมถึงบ้านเพื่อนบ้านด้วย
ยังมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปอีกเยอะ
ยังไม่รวมถึงเพื่อนร่วมรุ่นที่แต่งงานมีลูก
และลูกเข้าโรงเรียนอนุบาลไปแล้ว
อันนี้ทำให้ต้องเร่งตัวเองอีกหลายเท่าเพื่อทำให้สถานภาพใกล้เคียงกัน
เมื่อกลับมาใหม่ๆ
ก็ต้องปรับตัวกันใหม่เล็กน้อย
แต่ไม่มากหรอกเพราะไม่ได้ไปเรียนต่อตั้งแต่เด็กๆ
ไม่ได้กลับมาแล้วพูดภาษาไทยอันเป็นภาษาที่อยู่เกินสามสิบปีไม่ชัด
ส่วนด้านอากาศก็อาจต้องปรับกันสองสามเดือน
แล้วก็กร้านเหมือนเดิม
ถ้ามีโอกาสได้เขียนลงจุลสารฯ
ต่อไปคงได้มีโอกาสเล่าสู่กันฟังเป็นเรื่องๆ
ไป
|
|
ในส่วนเรื่องราวของงานหลังจากกลับจากเรียนต่อ
มีความรับผิดชอบที่แหละที่มากขึ้น
เช่นการเดินทางที่ต้องประสานงานที่ต่างจังหวัดมากขึ้น
เช่นการเดินทางที่ต้องประสานงานที่ต่างจังหวัดมากขึ้น
เนื่องจาก อพ.สธ.มีหน่วยงานและสาขาอยู่ทุกภาคของประเทศไทย
มีเจ้าหน้าที่ในความรับผิดชอบมากขึ้น
มีทีมงานมากขึ้น
ต้องพบปะผู้คนและเรียนรู้ลักษณะของคนที่เกี่ยวข้องกับการประสานงานกับหน่วยงานที่เข้าร่วมสนองพระราชดำริฯ
ให้เป็นไปในแนวทางที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
ทรงมีพระราชดำริไว้
ที่ตั้งชื่อเรื่องว่า "ชีวิตเลขาฯ"
มิได้หมายถึงเลขานุการส่วนตัวของผู้หนึ่งผู้ใด
แต่เป็นเลขานุการคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
จึงละเว้นมิได้ที่ต้องขอขอบพระคุณหัวหน้าซึ่งได้มอบหมายความไว้วางใจและให้โอกาสทำงานสนองพระราชดำริฯ
ให้ทำงานหน้าที่นี้ตั้งแต่ยังเรียนอยู่ในต่างแดน
แน่นอนเพราะเหตุนี้
ชีวิตการทำงานก็ต้องปรับตัว
เพราะว่าไม่ได้ทำงานเหมือนที่เรียนมาโดยตรงในเรื่องการตัดต่อยีนในพืช
(Plant Molecular
Biology)
และการแสดงออกของยีนในพืช (Gene
Expression)
แต่ก็กลับต้องเรียนรู้เข้าใจงานที่อยู่วิจัยงานทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชทุกอย่าง
ซึ่ง อพ.สธ. เน้นในเรื่องนี้ว่า อพ.สธ.
นั้นไม่ใช่แค่อนุรักษ์พันธุกรรมพืชเพียงอย่างเดียว
แต่เป็นการพัฒนาบุคคลกรในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรพันธุกรรมพืชให้เกิดประโยชน์ถึงมหาชนชาวไทย
แน่นอนทำให้รู้ว่า
การที่ไปเรียนต่อจนจบกลับมานั้น
กลับไม่ได้เป็นการสิ้นสุดการเรียน
แต่เป็นแค่สัญญาณของการเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่มากกว่าหลายพันเท่านัก
ณ
ปัจจุบันนี้มีงานทางวิชาการให้ดูแลอย่างเต็มที่ใน
อพ.สธ. ไม่ว่าจะเป็นด้านพฤกษศาสตร์
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
เมล็ดพันธุ์พืช การศึกษาเห็ดและรา งานชีวโมเลกุล
และรวมถึงกิจกรรมต่างๆ ใน อพ.สธ.
ทั้งแปดกิจกรรม ได้แก่
ปกปักพันธุกรรมพืช
สำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช
ปลูกรักษาพันธุกรรมพืช
อนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช
วางแผนพัฒนาพันธุ์พืช
สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
และกิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
ซึ่งชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการก็อยู่ในกิจกรรมนี้
ซึ่งถือเป็นงานที่มีเนื้อหามาก
ไม่อาจสามารถบรรยายในรายละเอียดของเนื้องานในคราวนี้ได้
ด้วยประสบการณ์ในการทำงานและความรู้ที่ได้เรียนมาโดยตรงทำให้มีโอกาสได้ถ่ายทอดความรู้ที่สั่งสมด้วยเวลาอันยาวนานร่วมสิบห้าปี
โดยเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมให้นักศึกษาปริญญาโท
มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และเป็นอาจารย์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยและสถานศึกษาอีกหลายแห่ง
นับว่าเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจที่ได้ทำงานที่รัก
และเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างแท้จริง. |