หน้า  1   2   3

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัณฑรีย์ บุญประกอบ  กวินนาถ บัวเรือง
ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

  .....................................................................................

     การสะสมโลหะหนักในเพื่อนไลเคนเนื่องจากไม่มีเนื้อเยื่อที่ผิวหน้า เช่น คิวทิเคิล (Cuticle) หรือไข (Wax) เช่น พืชชั้นสูงซึ่งปกป้องการผ่านเข้าออกของอากาศและน้ำในใบพืช แต่เพื่อนไลเคนมีชั้นคอร์เทกซ์ (Cortex) ซึ่งประกอบด้วยเส้นใยของราประสานกันแน่น แต่ชั้นคอร์เทกซ์ของไลเคนไม่สามารถยับยั้งการผ่านเข้า-ออกของน้ำและสิ่งต่างๆ ในบรรยากาศได้ ไลเคนจึงสามารถสะสมสิ่งต่างๆ ที่ปะปนอยู่ในอากาศได้ดี และใช้เป็นดัชนีบ่งบอกคุณภาพอากาศอย่างแพร่หลาย
 

 การเพาะเลี้ยงน้องราจะช่วยให้เข้าใจถึงคุณสมบัติต่างๆ ของเพื่อนไลเคนได้ดีขึ้น เช่น การแพร่กระจายของสปอร์น้องราที่ก่อให้เกิดเพื่อนไลเคน เนื่องจากน้องราในเพื่อนไลเคนมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากราทั่วไป คือเจริญเติบโตช้าไม่สร้างสปอร์   และเส้นใยมีการรวมตัวอย่างหนาแน่น จึงจำเป็นต้องติดตามการเจริญเติบโตอย่างใกล้ชิดซึ่งอาจทำได้โดยการวัดความยาวของเส้นใยที่เพิ่มหลังการงอก

 

   

นอกจากเป็นการศึกษาที่จะได้คำตอบที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานแล้ว การนำราในไลเคนมาเพาะเลี้ยงยังนำไปสู่การใช้ประโยชน์จากการใช้ทรัพยกรชีวภาพที่มีอยู่ เนื่องจากราในไลเคนนี้สามารถสร้างสารได้หลายชนิด เช่น เอนไซม์, สารปฏิชีวนะ และ

สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพอื่นๆ เช่น ฤทธิ์ในการยับยั้ง ไวรัส เนื้องอก และมะเร็ง เป็นต้น
          การตรวจสอบสารออกฤทธิ์ของเพื่อนไลเคน เป็นการศึกษาต่อยอดอันสืบเนื่องจากการจำแนกชนิดของเพื่อนไลเคนเพื่อให้ทราบคุณประโยชน์ และศักยภาพของสารจากเพื่อนไลเคน ประกอบด้วย 4 หน่วยงานย่อย คือ หน่วยงานประสิทธิภาพสารต้านมะเร็ง  หน่วยงานสร้างต้านไวรัสและแบคทีเรียสาเหตุโรคของมนุษย์  หน่วยงานสร้างต้านรา ไวรัสและแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช และหน่วยงานสารกำจัดแมลงและวัชพืช

การศึกษาดังกล่าว นำข้อมูลและเพื่อนไลเคนเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ไลเคน ซึ่งมีการทำความสะอาดและผ่านกระบวนการกำจัดราหรือแมลง เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาด้านอื่นๆ ต่อไป โดยสามารถค้นคว้าข้อมูลได้จาก ห้องสมุดไลเคน ได้อีกด้วย

      ความดีของเพื่อนไลเคนที่อยู่ในธรรมชาติยังมีอีกมาก แต่จะสูญสิ้นไปเมื่อธรรมชาติถูกทำลาย ถึงแม้ภายหลังจะรู้สำนึก นำเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยฟื้นฟู แต่โอกาสที่จะคืนกลับดังเดิมนั้นอาจน้อยมาก หากการที่เราช่วยกันดูแล จึงเป็นวิธีที่ง่ายและดีที่สุดในการรักษาเพื่อนไลเคนในธรรมชาติเอาไว้ ดังนั้นน้องราและน้องสาหร่ายที่อยู่ด้วยกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน ยังคงดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันได้ตลอดไป..โดย ไม่มีวันพรากจากัน..ไลเคน

        

หน้า  1   2   3


   สนใจติดต่อขอสมัครสมาชิกและขอรับจุลสารได้ที่ : สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริฯ สวนจิตรลดา ถนนราชวิถี เขตดุสิต  กรุงเทพ 10303 โทร. 0-2282 1850 , 0-2282 0665