การปรับปรุงดินโดยทั่วไป
พืชแต่ละชนิดต้องการลักษณะของดินในการเจริญเติบโตไม่เหมือนกัน
พืชบางชนิดชอบดินที่ดอน แต่พืชบางชนิดชอบดินที่มีน้ำขัง
การปรับปรุงดินให้เหมาะกับพืชแต่ละชนิดนั้นแตกต่างกัน แต่โดยทั่วๆ
ไปแล้วการปรับปรุงดินทำได้ดังนี้คือ
-
การปรับปรุงดินในที่ลุ่มน้ำท่วมเป็นบางฤดู ถ้าต้องการจะปลูกพืชไร่
ทำได้ 2 วิธีคือ
1. ขุดคูทำคันดินรอบบริเวณที่ต้องการปลูกพืช
เมื่อฝนตกน้ำท่วมก็สูบน้ำออก โดยสูบน้ำให้ได้ระดับน้ำต่ำกว่าผิวดินมากๆ
ก็สามารถปลูกพืชไร่ได้ตามต้องการ เช่น ที่บริเวณเกษตรกลางบางเขน
2. ถมดินให้สูงขึ้นกว่าระดับน้ำ แล้วปลูกพืชที่ต้องการ เช่น
ตามริมถนน มักจะถมดินให้สูงขึ้นเพื่อปลูกต้นไม้ริมทาง
แต่การถมดินนั้นควรถมให้กว้าง ถ้าถมให้สูงเฉพาะตรงต้นไม้
ดินจะรับน้ำที่รดไว้ไม่พอกับปริมาณที่ต้นไม้ต้องการ
-
การปรับปรุงดินที่มีน้ำใต้ดินสูง ทำให้ได้การฝังท่อระบายน้ำซึ่งท่อระบายน้ำนี้จะต้องทำด้วยดินเผา
ตรงหัวต่อของท่อกลบด้วยทรายหยาบเพื่อทำให้น้ำซึมผ่านได้สะดวก
ท่อระบายน้ำที่ฝังลงไปลึกให้พ้นจากเขตไถพรวน
และจะต้องวางท่อให้ห่างกันพอเหมาะ โดยดินทรายวางให้ห่างๆ กันได้
แต่ถ้าเป็นดินเนื้อละเอียด จะต้องวางท่อให้ถี่เข้า
เมื่อน้ำระบายออกจากท่อลงในลำคลองหรือร่องน้ำ แล้วสูบออก เช่น
ในประเทศฮอลแลนด์เขาสูบน้ำโดยใช้กังหันลม
-
ดินเปรี้ยวหรือดินกรด ดินโดยทั่วไปมักจะเป็นดินกรดอ่อนๆ
แต่มีบางแห่งที่เป็นกรดจัดมาก จนปลูกพืชอะไรไม่ขึ้น
ดินกรดนี้เกิดจากเหตุดังนี้คือ
1. เกิดจากหิน หรือแร่ที่ให้กำเนิดแก่ดิน
2. เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์
3. เกิดจากการใส่ปุ๋ยเคมีบางชนิด
ปรับปรุงแก้ไขได้โดยการใส่ปูนขาวหรือปูนมาร์ล
แต่จะใส่มากน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับความเป็นกรดของดิน
เนื้อดินและอินทรีย์วัตถุในดิน แต่โดยทั่วๆ ไปแล้ว การใส่ปูนขาวประมาณ
200 ก.ก. ต่อไร่
-
ดินหวานหรือดินด่าง คือดินที่มีปฏิกิริยาเป็นด่าง
ซึ่งโดยทั่วไปดินเป็นด่างมักไม่ค่อยพบนอกจากบางแถบของโลก
ในเมืองไทยมักพบบ้างแถบภูเขาหินปูน จังหวัดลพบุรี หรือสระบุรี
|