PAGE TITLE
 
 
 
กลับหน้าหลัก
บทนำ
การพัฒนาชนบท
การพัฒนาการเกษตร
การพัฒนาแหล่งน้ำ
การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน
การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
การพัฒนาชาวเขา
โครงการธนาคารข้าว
โครงการธนาคารโค-กระบือ
โครงการฝนหลวง
หน่วยแพทย์เคลื่อนที่
แก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ
โครงการศิลปาชีพพิเศษ
กังหันน้ำชัยพัฒนา


                           หน้า  1    2    3  
 

โครงการธนาคารโค-กระบือ (ต่อ)

 
 

                ๔.  การยืมใช้งาน
          เกษตรกรหรือทหารผ่านศึกที่ยากจน ไม่สามารถจะช่วยตนเองได้จริงๆ อาจติดต่อขอรับความช่วยเหลือขอยืมโค-กระบือ ไปใช้งานได้ โดยธนาคารฯ จะได้จัดเจ้าหน้าที่ไปพิจารณาให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษเป็นรายๆ ไป
          การจัดตั้งธนาคารโค-กระบือ แต่ละแห่งจะเริ่มต้นด้วยสมาชิกอย่างต่ำสุด ๑๐ ราย ซึ่งเป็นเกษตรกรยากจนอยู่ในพื้นที่ที่มีความเดือดร้อนในการหาโค-กระบือเพื่อมาใช้งาน คณะกรรมการหมู่บ้านจะเป็นผู้คัดเลือกผู้ที่มีฐานะยากจน มีความประพฤติดี ขยันหมั่นเพียรและไม่มีโค-กระบือของตนเอง จัดเรียงลำดับไว้ ธนาคารฯ จะจัดสรรโค-กระบือให้แก่ราษฎรในหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกไว้แล้วตามจำนวนโค-กระบือที่ธนาคารฯ มีอยู่  ซึ่งได้รับบริจาคจากประชาชนทั่วไป หรือจากงบประมาณของรัฐ ผู้ที่ยังไม่ได้รับโค-กระบือจากธนาคารฯ ในครั้งแรกก็จะมีโอกาสได้รับในคราวต่อไป เมื่อธนาคารฯ มีโค-กระบือ เพิ่มขึ้น
          ธนาคารโค-กระบือ ในหมู่บ้านที่มีการบริหารและการจัดการโครงการที่ดีก็จะเกิดผลประโยชน์เพิ่มพูนขึ้น ลูกโค-กระบือที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นของธนาคารโค-กระบือ ได้นำไปหมุนเวียนให้บริการแก่เกษตรกรรายอื่นๆ ต่อไป การดำเนินงานในลักษณะนี้ทำให้โครงการธนาคารโค-กระบือ เกิดผลประโยชน์ต่อเนื่องไม่สิ้นสุด เกษตรกรได้รับบริการอย่างทั่วถึง โดยที่รัฐไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก
   

          สรุป
          ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากธนาคารโค-กระบือ นั้น ส่งผลโดยตรงกับตัวเกษตรกรที่ยากจน คือได้ช่วยเหลือให้เกษตรกรสามารถมีปัจจัยการผลิตเป็นของตนเอง ไม่ต้องเสียค่าเช่าแรงงานโค-กระบือ ในอัตราสูง  เป็นหลักประกันอย่างหนึ่งซึ่งเอื้ออำนวยให้การผลิตเกิดผลอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
          ส่วนผลประโยชน์ทางอ้อมนั้น  เกิดขึ้นจากการเลือกใช้กลยุทธที่เหมาะสมในการพัฒนา เพราะแรงงานแบบดั้งเดิมนี้ เป็นสิ่งที่เหมาะสมกับระบบเกษตรกรรมแบบยังชีพ ซึ่งเกษตรกรมีฐานะยากจนจะมีพื้นที่ทำกินขนาดเล็ก แรงงานแบบดั้งเดิมนี้ไม่ต้องการความรู้ทางเทคนิควิชาการชั้นสูงใดๆ ในการบำรุงรักษา การใช้แรงงานโค-กระบือ ในการทำนา ปลูกข้าว เป็นลักษณะของการอยู่ร่วมกันและการพึ่งพากันตามธรรมชาติ เกษตรกรสามารถเรียนรู้ได้เองจากการดำรงชีพ อีกทางหนึ่ง การใช้แรงงานสัตว์เป็นการเลือกใช้พลังงานจากธรรมชาติ แทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นทรัพยากรที่นับว่าจะเหลือน้อยลงไป และมีราคาสูงขึ้น ดูจะเป็นประโยชน์หลายทางซึ่งสอดคล้องกันอย่างพอเหมาะยิ่ง