PAGE TITLE
 
 
 
กลับหน้าหลัก
บทนำ
การพัฒนาชนบท
การพัฒนาการเกษตร
การพัฒนาแหล่งน้ำ
การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน
การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
การพัฒนาชาวเขา
โครงการธนาคารข้าว
โครงการธนาคารโค-กระบือ
โครงการฝนหลวง
หน่วยแพทย์เคลื่อนที่
แก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ
โครงการศิลปาชีพพิเศษ
กังหันน้ำชัยพัฒนา


                           หน้า   1    2    3  
 

การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้

 
 

"...เรื่องป่า ๓ อย่าง คือ ไม้ฟืน ไม้ผล ไม้สร้างบ้าน..ประชาชนมีความรู้ ทั้งคนที่อยู่บนภูเขาที่คนที่อยู่ในที่ราบเขามีความรู้ เขาทำงานมาตั้งหลายชั่วคนแล้ว เขาทำกันอย่างดี เขามีความเฉลียวฉลาด เขารู้ว่าตรงไหนควรจะทำกสิกรรม เขารู้ว่าที่ไหนควรจะเก็บไม้ไว้ แต่ว่าที่เสียไปเพราะว่าพวกที่ไม่รู้เรื่องไม่ได้ทำมานานแล้ว ทิ้งมานานแล้ว ทิ้งกสิกรรมมานานแล้ว ก็ไม่รู้เรื่อง แล้วก็มาอยู่ในที่ที่มีความสะดวก ก็เลยทำให้ลืมว่าชีวิตมันเป็นไปได้โดยที่ทำกสิกรรมที่ถูกต้อง..."
พระบรมราโชวาท
พระราชทานในวันเปิดการสัมมนาการเกษตรภาคเหนือ
ณ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่
๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔

 
 

ความทั่วไป
         ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งที่อำนวยประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้แก่มนุษยชาติมากมายหลายประการ นับตั้งแต่รักษาดุลธรรมชาติ ควบคุมสภาพดินฟ้าอากาศให้อยู่ในสภาพปกติ ไม่แปรปรวน รักษาต้นน้ำลำธาร พันธุ์พฤกษชาติและสัตว์ชาติ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ รวมทั้งเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ให้ให้มนุษย์ได้บริโภคใช้สอยและประกอบอาชีพการทำไม้ การเก็บหาของป่า การขนส่ง การอุตสาหกรรม การผลิตไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ใช้วัตถุดิบจากไม้และของป่า ตลอดจนการส่งจำหน่ายเป็นรายได้แก่ประชาชนและประเทศชาติอีกทางหนึ่งด้วย
          แต่ในสภาพปัจจุบัน ประชากรไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเป็นแรงผลักดันให้เกิดการบุกรุกทำลายป่าไม้ เพื่อบุกเบิกพื้นที่ทำกิน ลักลอบตัดไม้เพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรมและเผาถ่าน นอกจากนั้นแล้ว การเร่งรัดการดำเนินงานบางโครงการ เช่น ก่อสร้างถนน สร้างเขื่อน เป็นต้น มีการตัดไม้โดยไม่คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ มีผลให้ป่าไม้ของประเทศไทยในปัจจุบันมีเนื้อที่ลดลง และบางแห่งอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมเป็นอย่างมาก
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบถึงปัญหาด้านนี้ ได้มีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปรับปรุง และทรงพัฒนาป่าไม้ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ดังเช่นในอดีต เพื่อเป็นการยังประโยชน์ให้แก่ประชาชนถ้วนหน้า ดังแนวพระราชดำรัสเกี่ยวกับการพัฒนาป่าไม้ เมื่อ พ.ศ.2523 ดังนี้
        
 "...แต่ป่าไม้ที่ปลูกนั้น สมควรที่จะปลูกแบบป่าสำหรับใช้ไม้หนึ่ง ป่าสำกรับใช้ผลหนึ่ง ป่าสำหรับใช้เป็นฟืนอย่างหนึ่ง อันนี้แยกออกไปเป็นกว้างๆ ใหญ่ๆ  การที่จะปลูกต้นไม้สำหรับได้ประโยชน์ดังนี้ ในคำวิเคราะห์ของกรมป่าไม้ รู้สึกว่าจะไม่ใช่ป่าไม้เป็นสวนหรือจะเป็นสวนมากกว่าเป็นป่าไม้ แต่ในความหมายของการช่วยเพื่อต้นน้ำลำธารนั้น ป่าไม้เช่นนี้จะเป็นสวนผลไม้ก็ตามหรือเป็นสวนไม้ฟืนก็ตาม นั่นแหละเป็นป่าไม้ที่ถูกต้อง เพราะทำหน้าที่เป็นป่าคือเป็นต้นไม้ และทำหน้าที่เป็นทรัพยากรในด้านสำหรับเป็นผลที่มาเป็นประโยชน์แก่ประชาชนได้..."
          ซึ่งพระราชดำรัสนี้ เป็นที่มาของสำนวนที่กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องนิยมใช้คือ " ไม้ 3 อย่าง"
     

     ปัญหาด้านป่าไม้
          สัดส่วนของพื้นที่ป่าไม้ที่เหมาะสมต่อการรักษาดุลย์ธรรมชาติในความเห็นของนักวิชาการ ควรมีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมดทั่วประเทศ ส่วนในกรณีของประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นมากเช่นเช่นนี้  พื้นที่ป่าไม้อาจจะลดลงไปได้บ้าง รัฐบาลได้มีนโยบายกำหนดพื้นที่ป่าไม้ให้เหลือไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยมีหลักเกณในการแบ่งพื้นที่ป่าไม้ออกเป็น 2 ประเภท คือ
          - ป่าเพื่อเศรษฐกิจ กำหนดไว้เพื่อการผลิตไม้และของป่าเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจในอัตราร้อยละ 25 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
          - ป่าเพื่อการอนุรักษ์ กำหนดไว้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ป่าที่หายาก และป้องกันภัยธรรมชาติอันจะเกิดจากน้ำท่วม และการพังทลายของดิน ตลอดจนเพื่อประโยชน์ในการศึกษา วิจัย และนันทนาการของประชาชน
ในอัตราร้อยละ 15 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
                                                                                                                                                             อ่านหน้าต่อไป