กลับหน้าหลัก : บทนำ

 

ความรู้ทั่วไป

 

สรรพคุณสมุนไพรแบ่งตามกลุ่มอาการ

กลุ่มยาขับปัสสาวะ

  กระเจี๊ยบแดง

 

  ทองกวาว

 

  ตะไคร้

 

  ทานตะวัน

 

  สามสิบ

 

  สับปะรด

 

  สมอพิเภก

 

  หญ้าหนวดแมว

 

  อ้อยแดง



































 

     

กลุ่มยาขับปัสสาวะ

อ้อยแดง

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Saccharum officinarum  L.

ชื่อสามัญ  Sugar cane

วงศ์  Poaceae (Gramineae)

ชื่ออื่น :  อ้อย อ้อยขม อ้อยดำ (ภาคกลาง) กะที (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ส่วนที่ใช้ :
ทั้งต้น  ต้น น้ำอ้อย  ผิวของต้นอ้อย มี wax

สรรพคุณ :

  • ทั้งต้น - แก้ปัสสาวะพิการ แก้ขัดเบา แก้ช้ำรั่ว แก้โรคนิ่ว แก้ไอ

  • ต้น - แก้อาการขัดเบา แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษตานซาง บำรุงธาตุน้ำ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้เสมหะเหนียว ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ ในอก บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลือง แก้ช้ำใน รักษาโรคไซนัส

  • น้ำอ้อย - รักษาโรคนิ่ว บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ แก้เสมหะ แก้หืด ไอ ขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง เจริญอาหาร เจริญธาตุ

  • ผิวของต้นอ้อย มี wax เอามาทำยา และเครื่องสำอาง

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ขับปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา
          ใช้ลำตันทั้งสดและแห้งขออ้อยแดง วันละ 1 กำมือ (สด 70-90 กรัม แห้ง หนัก 30-40 กรัม) หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น
          อ้อยแดงมีฤทธิ์ในทางขับปัสสาวะได้ในหนูขาว กองวิจัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานว่า อ้อยแดงไม่มีพิษเฉียบพลัน
สารเคมี :

  • ราก มี Nitrogenase

  • ต้น มี Alcohols, Phenolic esters and ethers Alkaloids, Amino acids, Asparagine

  • น้ำอ้อย มี Cacium , Potassium, Magnesium, Phosphorus, Sulfur

  • ใบ มี 5, 7-Dimethyl-apigenin-4-O-B-D-glycosideส่วน

  • ดอก พบ 5-0-Methyl apigenin