|
|
|
|
|
กลุ่มยาขับปัสสาวะ |
ทานตะวัน |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helianthus
annuus L. |
ชื่อสามัญ
: Sunflower. |
วงศ์
: Asteraceae (Compositae) |
ชื่ออื่น
: บัวตอง
(ภาคเหนือ) ชอนตะวัน (ภาคกลาง) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ส่วนที่ใช้ :
แกนต้น ใบ ดอก ฐานรองดอก เมล็ด เปลือกเมล็ด ราก |
สรรพคุณ
:
-
แกนต้น - ขับปัสสาวะ แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ
นิ่วในไต ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่นขาว ไอกรน แผลมีเลือดออก
-
ดอก - ขับลม ทำให้ตาสว่าง แก้วิงเวียน หน้าบวม
บีบมดลูก
-
ใบ, ดอก - แก้หลอดลมอักเสบ
-
ฐานรองดอก - แก้อาการปวดหัว ตาลาย ปวดฟัน
ปวดท้อง โรคกระเพาะ ปวดประจำเดือน ฝีบวม
-
เมล็ด - แก้บิด มูกเลือด ขับหนองใน ฝีฝักบัว
ขับปัสสาวะ เสมหะ แก้ไอ แก้ไข้หวัด
-
เปลือกเมล็ด - แก้อาการหูอื้อ
-
ราก - แก้อาการปวดท้อง แน่นหน้าอก ฟกช้ำ
เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ
ข้อห้ามใช้
: ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
1. แก้อาการปวดหัว ตาลาย ใช้ฐานรองดอกที่แห้งแล้ว
ประมาณ 25- 30 กรัม นำมาตุ๋น กับไข่ 1 ฟอง รับประทานหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง
2. แก้อาการช่วยขับปัสสาวะขุ่นขาว และขับปัสสาวะ
ให้ใช้แกนกลางลำต้น ยาวประมาณ 60 ซม. (หรือประมาณ 15 กรัม )
และรากต้นจุ้ยขึ้งฉ่ายราว 60 กรัม ใช้ต้มคั้นเอาน้ำ
หรือใช้ผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน
3. แก้อาการปวดท้องโรคกระเพาะ
และปวดท้องน้อยก่อนหรือระยะที่เป็นรอบเดือน ให้ใช้ฐานรองดอก 1 อัน
หรือประมาณ 30- 60 กรัม และกระเพาะหมู 1 อัน แล้วใส่น้ำตาลทรายแดง ประมาณ
30 กรัม ต้มกรองเอาน้ำรับประทาน
4. แก้อาการมูกโลหิต ให้ใช้เม็ดประมาณ 30 กรัม
ใส่น้ำตาลเล็กน้อย ต้มน้ำนานราว 60 นาที แล้วใช้ดื่ม
5. ช่วยลดความดันโลหิต ให้ใช้ใบสด 60 กรัม (แห้ง 30 กรัม )
และโถวงู่ฉิกสด 60 กรัม (แห้ง 30 กรัม ) นำมาต้มเอาน้ำรับประทาน
6. แก้อาการปวดฟัน ให้ใช้ดอกที่แห้งแล้ว ประมาณ 25 กรัม
นำมาสูบเหมือนยาสูบ หรือใช้ฐานรองดอก 1 อัน พร้อมรากเกากี้
นำมาตุ๋นกับไข่รับประทาน
7. โรคไอกรน ให้ใช้แกนกลางลำต้นโขลกให้ละเอียด แล้วนำมาผสมกับน้ำตาล
ทรายขาว ชงด้วยน้ำร้อนรับประทาน
8. แก้อาการไอ ให้ใช้เมล็ดคั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่มกิน
9. แก้อาการหูอื้อ ให้ใช้เปลือกเมล็ดประมาณ 10- 15 กรัม
ต้มน้ำรับประทาน
10. ขับพยาธิไส้เดือน
ให้ใช้รากสดประมาณ 30 กรัม เติมน้ำตาลทรายแดงเล็กน้อย ต้มน้ำรับประทาน
11.
แผลที่มีเลือดไหล ให้ใช้แกนกลางลำต้นโขลกให้ละเอียดแล้วนำมาพอก
บริเวณแผล
สารเคมี : สารเคมีในใบ
ถ้านำมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์ (0.2%)
มีฤทธิ์สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของพารามีเซียม (paramecium)
และเชื้อแบคทีเรีย Bacillus aureus แต่ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อ แบคทีเรีย
Bacillus coli และนอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นยาต้านโรคมาลาเรีย
และช่วยเสริมฤทธิ์ยาควินิน |
|
|