|
|
|
|
|
กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น
ท้องอืด ท้องเฟ้อ |
กระวาน |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amomum
krervanh Pierre |
ชื่อสามัญ
: Siam
Cardamom, Best Cardamom, Clustered Cardamom, Camphor Seed |
วงศ์
: Zingiberaceae |
ชื่ออื่น
: กระวานดำ
กระวานแดง กระวานขาว (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก) กระวานจันทร์ กระวานโพธิสัตว์ |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุก มีเหง้า สูงประมาณ 2 เมตร
กาบใบหุ้มซ้อนกันทำให้ดูคล้ายลำต้น ใบเดี่ยว แคบยาว รูปขอบขนาน ยาว 15-25
ซม. ปลายแหลม ช่อดอกออกจากเหง้าชูขึ้นมาเหนือพื้นดิน รูปทรงกระบอก ยาว 6-15
ซม. ก้านช่อดอกยาว 5-15 ซม. ใบประดับสีเหลืองนวล มีขนคาย
เรียงซ้อนสลับกันตลอดช่อ ในซอกใบประดับมีดอก 1-3 ดอก
ปลายกลีบเลี้ยงมี 3 หยัก กลีบดอกสีเหลือง เป็นหลอดแคบ
เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์แปรสภาพเป็นกลีบขนาดใหญ่ สีขาว มีแถบสีเหลืองตรงกลาง
ผลค่อนข้างกลม สีนวล มี 3 พู ผลอ่อนมีขนและจะร่วงไปเมื่อแก่ ผลแก่จะแตก
มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก เมล็ดอ่อนสีขาวมีเยื่อหุ้ม
เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีดำ ทั้งผลและเมล็ดมีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้ : ราก
หัวและหน่อ เปลือก แก่น กระพี้ ผลแก่ที่มีอายุ 4-5 ปี
(เก็บในช่วงเดือนสิงหาคม-มีนาคม) เมล็ด |
สรรพคุณ
:
-
ราก -
แก้โลหิตเน่าเสีย ฟอกโลหิต แก้ลม เสมหะให้ปิดธาตุ รักษาโรครำมะนาด
-
หัวและหน่อ -
ขับพยาธิในเนื้อให้ออกทางผิวหนัง
-
เปลือก - แก้ไข้
ผอมเหลือง รักษาโรคผิวหนัง แก้ไข้อันง่วงเหงา ขับเสมหะ บำรุงธาตุ
แก้ไข้อันเป็นอชินโรค และอชินธาตุ
-
แก่น - ขับพิษร้าย
รักษาโรคโลหิตเป็นพิษ
-
กระพี้ -
รักษาโรคผิวหนัง บำรุงโลหิต
-
ใบ -
แก้ลมสันนิบาต แก้สันนิบาตลูกนก ขับผายลม ขับเสมหะ แก้ไข้เพื่อลม
รักษาโรครำมะนาด แก้ลมเสมหะให้ปิดธาตุ แก้ไข้เซื่องซึม แก้ลม
แก้จุกเสียด บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ไข้อันง่วงเหงา
-
ผลแก่ -
รสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย (Essential
oil) 5-9 เปอร์เซนต์
มีฤทธิ์ในการขับลม (Carminative)
และฤทธิ์ในการยับยั้ง การเจริญของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
ขับโลหิต บำรุงธาตุ แก้ลมในอกให้ปิดธาตุ แก้ลมเสมหะให้ปิดธาตุ
แก้ลมเจริญอาหาร รักษาโรค รำมะนาด แก้ลมจุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ลมสันนิบาต
ผลแก่ของกระวานตากแห้ง ใช้เป็นเครื่องเทศ
-
เมล็ด -
แก้ธาตุพิการ อุจจาระพิการ บำรุงธาตุ
-
เหง้าอ่อน -
ใช้รับประทานเป็นผักได้ มีกลิ่นหอมและเผ็ดเล็กน้อย
วิธีและปริมาณที่ใช้
:
ผลกระวาน ขับลม
แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด
ใช้ผลกระวานแก่จัดประมาณ
6-10 ผล (0.6-2 กรัม) ตากแห้งบดเป็นผง รับประทานครั้งละ 1-3 ช้อนชา
ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือครึ่งถ้วยแก้ว ใช้รับประทานครั้งเดียว
ผลกระวาน ยังใช้ผสมยาถ่าย
เช่น มะขามแขกเพื่อบรรเทาอาการไซ้ท้อง
สารเคมี : ในน้ำมันหอมระเหย
กระวาน (Essential oil) พบสารเคมีคือ
Borneol, Cineol, Camphor |
|
|