ผู้ที่จะเข้าอบอาบสมุนไพรควร
-
วัดความดันก่อนและหลังการอบ
-
ตรวจร่างกายเบื้องต้นโดยใช้หูฟัง
-
ชั่งน้ำหนักก่อนและหลังอบ
การเตรียมสมุนไพรสำหรับใช้ในการอบอาบ
ควรใช้ของสด จะมีคุณภาพดีกว่าสมุนไพรแห้ง
เพราะวิธีการทำให้แห้งจะทำให้คุณภาพของสมุนไพรลดลง
โดยเฉพาะพวกที่มีน้ำมันหอมระเหยเป็นสารสำคัญ
ถ้าจัดซื้อบางครั้งอาจได้สมุนไพรที่เก่า แมลงกัดกิน
เสื่อมคุณภาพ
สมุนไพรที่ใช้สำหรับต้มอบอาบสมุนไพรประกอบด้วยกลุ่มใหญ่
4 กลุ่ม และกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1
สมุนไพรที่มีกลิ่นหอม สมุนพรกลุ่มนี้มีสารสำคัญเป็นน้ำมันหอมระเหย
ซึ่งจะสูดดมเข้าทางจมูก
จะช่วยฆ่าเชื้อโรคในทางเดินหายใจ
ลดอาการเป็นหวัดคัดจมูก
ช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อาการดีขึ้น
บางชนิดช่วยรักษาโรคผิวหนัง ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย
เช่น
-
เหง้าขมิ้น
ข่าแก่ ใบหนาด ใบสำมะดีงา ฯลฯ
ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค รักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้
-
เปราะหอม
หัวหอม ฯลฯ ช่วยทำให้หายใจสะดวกขึ้น
ช่วยทำให้คนที่แพ้อากาศบรรเทาอาการลง
-
เปลือกชะลูด
เปลือกอบเชย แฝกหอม ผิวมะกรูด ช่วยบำรุงหัวใจ
คลายเครียด ทำให้ปลอดโปร่ง
กลุ่มที่ 2 สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว สุมนไพรกลุ่มนี้มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ
เป็นตัวช่วยชะล้างสิ่งสกปรก
ยังช่วยให้ผิวหนังเพิ่มความต้านทานเชื้อโรคได้ดียิ่งขึ้น
ทำให้ผิวหนังสะอาดและลื่น สุมนไพรกลุ่มนี้ได้แก่
ใบและฝักส้มป่อย ใบมะขาม ใบส้มเสี้ยว ผลมะกรูดผ่าซีก
รากมะดัน ฯลฯ
กลุ่มที่ 3 เป็นสารประกอบที่ระเหิดได้
เมื่อถูกความร้อนจะมีกลิ่นหอม ได้แก่ การบูร พิมเสน
การใส่อย่าใส่มากเกินไป
เพราะถ้าใส่มากอาจเข้าตาผู้เข้าอบสมุนไพร
ทำให้ตาอักเสบได้
การบูรและพิมเสน
จะได้จากต้นสมุนไพร เป็นการบูรและพิมเสนจากธรรมชาติ
แต่ราคาจะแพงมาก ปกติที่ขายกันในท้องตลาด
จะได้จากการสังเคราะห์ ราคาจะย่อมเยากว่า
สำหรับพิมเสนหรือการบูร
จะไม่นำไปต้มรวมกับสมุนไพรอื่นๆ
เพราะความร้อนจะทำให้สารระเหิดไปหมด
จะใส่เมื่อได้จัดที่นั่งให้คนที่จะเข้าอบเรียบร้อยแล้ว
พิมเสนจะมีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ
สำหรับการบูรจะช่วยลดอาการหวัดคัดจมูก
และช่วยรักษาโรคผิวหนังด้วย |