หน้า  1   2   3   4  

-2-

อ่านหน้าต่อไป

 
 
   

โรคหรืออาการที่สามารถช่วยบำบัดหรือบรรเทาได้โดยการอบสมุนไพร

  • โรคภูมิแพ้

  • โรคหอบหืดในระยะต้น เช่น เป็นหวัด น้ำมูกไหล หายใจไม่สะดวก

  • ช่วยลดความเครียดได้บ้างซึ่งปัจจุบันความเครียดจะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ และยังช่วยให้นอนหลับได้สบายขึ้น

  • ใช้ในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

          ปัจจุบันมีการอบอาบสมุนไพร "ทำเพื่อการค้า" จะดัดแปลงวิธีการต่างๆ เพื่อที่จะชักจูงบรรดาลูกค้าที่เป็นท่านชายที่ขี้เมื่อยมาใช้บริการโดยมีสาวๆ แต่งตัวพิเศษนั่งในตู้กระจก เพื่อให้ท่านชายเลือกจะเอาคนไหน ซึ่งหญิงสาวเหล่านี้ไม่ได้เรียนนวดมา แต่พอขยำได้ และสามารถปรนนิบัติอย่างอื่นได้ด้วย สถานอบอาบนวดลักษณะนี้จัดเป็น "สถานบริการ" ไม่ใช่สถานพยาบาล เพราะว่าไม่เป็นสาขาใดสาขาหนึ่งของการประกอบโรคศิลป์ ถือเป็นสถานเสริมสวย จึงไม่ต้องขออนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข เมื่อเป็นการค้า ก็ย่อมนึกถึงผลกำไรเป็นส่วนใหญ่ บางแห่งมีการโฆษณาชวนเชื่ออย่างเกินความจริง เป็นต้นว่า คนสูงอายุเนื้อหนังเหี่ยวย่นตามกาลเวลา (ยกเว้นคนอ้วนมากๆ) เมื่ออบสมุนไพรครบจำนวนครั้งตามที่เขาบอกไว้ ก็จะมีเนื้อหนังเต่งตึง หรือ "คุณสาวๆ " จะรวมถึง "คุณหนุ่มๆ" ด้วยก็ได้ ที่มีร่างกายตุ้ยนุ้ยเกินไป ถ้าเข้าอบสมุนไพรแล้วรูปร่างก็จะงามระหง
          การอบไอน้ำเป็นที่นิยมกันในหลายๆ ประเทศ เช่น ในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ฯลฯ  เป็นการอบโดยใช้ความร้อนอย่างเดียวไม่มีสมุนไพรร่วมอยู่ด้วย สำหรับ "การอบซาวน่า" ซึ่งเป็นการอบโดยใช้ความร้อนแห้ง ในเมืองไทยจะมีสถานบริการที่ออกกำลังกายบริการอบชนิดนี้อยู่ วิธีการจะแตกต่างกับการอบอาบสมุนไพรของไทยที่ใช้ความร้อนชื้น และไอน้ำที่ระเหยออกมา จะมีน้ำมันหอมระเหยของสมุนไพรต่างๆ ที่มีคุณสมบัติบำบัด รักษา หรือบรรเทาอาการโรคต่างๆ ได้มากมาย ดังนั้นจึงคิดว่า "การอบอาบสมุนไพร" ของไทยจะได้รับประโยชน์มากกว่า ทั้งยังเป็นการใช้ทรัพยากรในบ้านเราให้เกิดประโยชน์เพิ่มมากขึ้น และยังช่วยเสริมอาชีพของคนไทยอีกด้วย  สำหรับการจัดเตรียมอบอาบสมุนไพรไม่ยุ่งยาก อาจทำเอง หรือไปรับบริการจากสถานพยาบาลซึ่งราคาย่อมเยามาก

การจัดเตรียมห้องอบอาบสมุนไพร

  1. ในบ้าน

  2. สถานพยาบาล

การเตรียมการอบอาบสมุนไพรในบ้าน

  1. หม้อต้มสมุนไพรขนาดใหญ่

  2. เตา

  3. สมุนไพรสด

  4. การเตรียมกระโจม
    4.1   โดยใช้สุ่มไก่ขนาดใหญ่ ใช้คลุมด้วยผ้าห่มให้เกือบมิด เปิดช่องข้างบนไว้เพื่อให้มีการระบายอากาศ
    4.2  ใช้ไม้ปักสามเส้าเหมือนกระโจมดินเดียนแดง ใช้ผ้าห่มหรือเสื่อล้อมรอบ โดยเปิดส่วนบนไว้ให้มีช่องระบายอากาศ
    4.3  ใช้กระด้งใบใหญ่ๆ เจาะตรงกลาง และร้อยเชือก แขวนไว้ให้สูงจากพื้นประมาณ 1 เมตรเศษๆ ใช้ผ้าห่มล้อมกระด้ง โดยชายผ้าห่มจรดพื้น

  5. การเข้าอบอาบสมุนไพร จะมีหลักเกณฑ์เหมือนกับการเข้าอบอาบสมุนไพรในสถานพยาบาล แต่จะมีข้อแตกต่างอยู่ตรงที่การอบในบ้านจะเอาหม้อต้มสมุนไพรเข้าไปในกระโจม (ของสถานพยาบาลจะต่อท่อให้ไอเข้าไปในห้องอบ) เมื่อคนที่จะอบเข้าไปนั่งแล้วจากนั้นค่อยๆ เปิดฝาหม้อ และโรยการบูร หรือพิมเสน ลงไปทีละน้อย ก้มหน้าสูดดมและรมควัน ทำจนกว่าการบูรและพิมเสนจะหมด

การเตรียมห้องเพื่อใช้ในสถานบพยาบาล
(ใช้ได้ครั้งละ 3-5 คน)

  1. ขนาดห้อง กว้าง 2 เมตร ยาว 2.8 เมตร สูง  2 เมตร

  2. พื้นและฝาห้อง ควรดูให้สวยงาม สบายตา ไม่ลื่น สะดวกในการทำความสะอาด

  3. มีพัดลมดูดอากาศออก

  4. ประตูห้องควรมิดชิด แต่ไม่ล็อคกลอนจากด้านใน และควรมีช่องกระจกที่สามารถมองจากภายนอกเห็นภายในได้

  5. เครื่องใช้

     
     

             สำหรับในห้อง

  • ม้านั่งยาว 1-2 ตัว

  • ทอร์โมมิเตอร์ วัดอุณหภูมิภายในห้อง

  • เครื่องวัดความชื้นภายในห้องอบ (80-100 เปอร์เซนต์)

  • ท่อต่อไอน้ำจากด้านนอกเข้ามาในห้อง
    สำหรับนอกห้องอบ

  • นาฬิกาตั้งเวลา

  • เครื่องวัดความดันล

  • หูฟัง

  • เครื่องชั่งน้ำหนัก

  • เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิร่างกาย

  • น้ำและแก้วไว้ดื่ม

  1. หม้อต้มน้ำสมุนไพรที่มีท่อต่อเข้าไปในห้องอบ

  2. ห้องอาบน้ำมี 2 ห้องแยก ชาย-หญิง