บทนำ   1    2    3

 



 

 

         รักอมตะของนกตีทอง
          นก
ตีทองเป็นนกที่พบได้ทั้งในเมืองไทยและตามป่า นกชนิดนี้มีสีเขียว เป็นกลุ่มเดียวกับนกโพระดก ทำรังตามโพรงไม้ พอเข้าฤดูผสมพันธุ์ ราวเดือนธันวาคมถึงเดือนพฤษภาคม นกจะจับคู่กันบินตามกันไปมา และนกเพศผู้จะชักชวนนกเพศเมียให้มาผสมพันธุ์โดยไปหาเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทรเอามาป้อนนกเพศเมีย ขณะเดียวกันนกทั้งคู่จะไปสำรวจหาตำแหน่งที่สร้างรังซึ่งเป็นกิ่งไม้แห้ง นกตีทองจะเริ่มเจาะรังบริเวณด้านท้องของกิ่ง หลายๆ แห่ง คู่หนึ่งอาจจะเจาะรัง 5-6 รัง แต่อาจจะเจาะเป็นหลุมไม่ลึกแล้วเลิกเจาะ ในขณะที่นกทั้งคู่ช่วยกันเจาะรังนั้น นกเพศผู้จะหาเมล็ดโพธิ์ หรือ ไทรมาป้อนนกเพศเมียอยู่เสมอ วันละหลายๆ ครั้ง เมื่อหาเมล็ดโพธิ์มาแล้ว หากหาตัวเมียไม่พบ จะต้องปีกๆ สักครู่นกตัวเพศเมียที่เป็นคู่จะบินมาหา นกเพศผู้จะขึ้นทับตัวเมีย ในขณะที่ปากยังคามเมล็ดโพธิ์อยู่เต็มปาก นกใช้เวลาผสมพันธุ์เพียงชั่วพริบตาเดียว บางครั้งเพียง 30 วินาทีถึง 1 นาที เสร็จแล้วนกเพศผู้จะมาแกะกิ่งไม้ข้างๆ เพศเมีย ค่อยๆ ป้อนเมล็ดโพธิ์ในปากให้เพศเมียจนหมด เท่าที่สังเกตนกตีทองมาแล้ว 2 คู่ พบว่า ทุกครั้งหลังจากที่นกเพศผู้ขึ้นทับเพศเมียแล้ว นกเพศผู้จะป้อมเมล็ดไทรให้นกเพศเมียทุกครั้ง ซึ่งที่กล่าวมานี้ก็เป็นวิธีต่างๆ ที่นกแสดงต่อคู่ของตนที่แตกต่างกัน
 

           นกทั้งคู่จะช่วยกันเจาะโพรงลึกประมาณ 12 เซนติเมตร ความกว้างประมาณ 6 เซนติเมตร ลักษณะโพรงคล้ายรองเท้า ปากรังมีลักษณะกลมอยู่ด้านท้องของกิ่งไม้เสมอ เพื่อป้องกันน้ำฝนเข้าขณะฝนตก นกจะใช้เวลาในการเจาะรังประมาณ 7-10 วัน โดยจะเจาะรังสำรองไว้อีก 1-2 รัง แต่จะใช้วางไข่เพียงรังเดียว ส่วนรังอื่นๆ นกเพศผู้จะใช้เป็นรังนอน ขณะที่นกเพศเมียจะนอนกับลูก นกตีทองคู่หนึ่งจะวางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง ไข่มีสีขาว ลูกนกจะเติบโตในรังใช้เวลานานกว่านกชนิดอื่นที่ไม่ได้ทำรังในโพรง แต่มีขนาดตัวขนาดใกล้เคียงกัน โดยเฉลี่ยลูกนกจะออกจากรังใช้เวลาถึงเกือบ 7 สัปดาห์