-4-

1    2    3   4   5   6   7   8

 
 

         การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำทะเลในชั้นผิวน้ำในช่วงหนึ่งวัน จะมีอุณหภูมิแตกต่างกันเพียง 2-3 องศา ขณะที่ผิวดินมีความแตกต่างกันเป็น 10 องศา  การถ่ายเทความร้อนระหว่างผิวน้ำและบรรยากาศ เกิดขึ้นโดยขบวนการ  2  อย่างคือ  การนำความร้อน และการระเหย
          ตามปกติผิวน้ำมีอุณหภูมิสูงกว่าบรรยากาศน้ำทะเล จึงสูญเสียความร้อนให้แก่บรรยากาศตามขบวนการนำความร้อน  ซึ่งการถ่ายเทความร้อนไม่มากนัก  สำหรับขบวนการระเหยอันเป็นขบวนการที่เพิ่มมวลน้ำเข้าสู่บรรยากาศนั้น เป็นกลไกหลักที่ผิวน้ำสูญเสียความร้อนสู่บรรยากาศ ในปริมาณที่มากกว่าขบวนกานำความร้อนถึง 10 เท่า นอกจากนั้น การที่คลื่นทะเลแตกเป็นฟองแล้วฟุ้งกระจายเป็นละอองเล็กๆ สู่บรรยากาศ  ก็ช่วยให้เกิดการถ่ายเทความร้อนระหว่างผิวน้ำและบรรยากาศด้วย
          ความร้อนจากแสงอาทิตย์ถูกดูดซึมไว้ในช่วงความลึกประมาณ 2-3 เมตร  จากผิวน้ำเท่านั้น  การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำทะเลตามแนวลึก สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชั้น  คือ ชั้นผิว ( Surface layer)  อุณหภูมิจะลดลงอย่างช้าตามระดับความลึกที่เพิ่มขึ้น  ชั้นเทอร์โมไคล์น (Thermocline layer) มีระดับความลึกประมาณ 200-1,000 เมตร  อุณหภูมิในชั้นนี้จะลดลงอย่างรวดเร็ว และชั้นน้ำลึก (Deep layer) ตั้งแต่ความลึกประมาณ 1,000 เมตร ถึงพื้นทะเลคือ 4,000 เมตร น้ำทะเลลึกและก้นทะเลจะมีอุณหภูมิประมาณ 2-4 องศาเซลเซียส
          ความเป็นกรดด่างน้ำทะเลส่วนมากมีค่าความเป็นกรดด่างที่ค่า  pH 8  หากท้องที่ใดที่มีการละลายคาร์บอนไดออกไซด์ลงในน้ำมาก  ก็ส่งผลให้น้ำทะเลมีความเป็นกรดมากขึ้น  ค่า pH อาจลดลงถึง 7.5 และหากบริเวณใดที่มีอัตราการสังเคราะห์แสงในน้ำทะเลตื้นมาก หมายถึงมีการใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำมาก  ก็จะลดค่าความเป็นกรดลงไป  pH อาจจะเพิ่มเป็น 9 ได้
          ความหนาแน่นของมวลน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นเมื่อน้ำทะเลมีค่าความเค็มมากขึ้น และมีอุณหภูมิลดลง ดังนั้น  น้ำทะเลในชั้นผิวน้ำของมหาสมุทรแถบขั้วโลกทั้งเหนือและใต้  จึงมีอัตราการเปลี่ยนแปลงค่าความหนาแน่นมากว่าแถบศูนย์สูตร
          ความหนาแน่นของมวลน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นเมื่อน้ำทะเลมีค่าความเค็มมากขึ้น  และมีอุณหภูมิลดลง  ดังนั้น  น้ำทะเลในชั้นผิวน้ำของมหาสมุทรแถบขั้วโลกทั้งเหนือและใต้  จึงมีอัตราการเปลี่ยนแปลงค่าความหนาแน่นมากว่าแถบศูนย์สูตร
          หากศึกษาน้ำทะเลตามแนวลึกจะพบว่า มวลน้ำที่มีความหนาแน่นน้อยจะลอยเหนือความหนาแน่นมาก  ภาวะเช่นนี้ช่วยลดโอกาสการผสมผสานมวลน้ำในทะเลจากชั้นความลึกหนึ่งไปยังอีกชั้นหนึ่ง  ในชั้นความลึกที่เรียกว่าเทอร์โมไคล์น น้ำทะเลที่อุ่นและหนาแน่นน้อยกว่า  ลอยตัวเหนือน้ำที่เย็นและหนาแน่นมากว่า ซึ่งช่วงน้ำทะเลที่มีการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นนี้  เรียกว่า  Pycnocline
         
แสง  แสงอาทิตย์เมื่อส่องกระทบผิวน้ำทะเล ส่วนหนึ่งจะสะท้อนกลับไปสู่บรรยากาศ และอีกส่วนหนึ่งถูกดูดซับไว้โดยมวลน้ำ สารอินทรีย์และอนินทรีย์  และแพลงก์ตอนที่ลอยอยู่ในน้ำ  แสงสีต่างๆ ในแสงอาทิตย์ (Spectrum) จะถูกดูดซับในอัตราที่ไม่เท่ากัน เช่น แสงสีแดงถูกดูดซับมากและรวดเร็วที่สุดในบริเวณผิวน้ำตื้นๆ  แสงสีน้ำเงิน ถูกดูดซึมน้อยที่สุด จึงสามารถส่องผ่านลงไปในน้ำที่ลึกได้มากมที่สุด  อย่างไรก็ตาม แสงอาทิตย์สามารถส่องผ่านลงไปได้ลึกเพียงประมาณ 250 เมตร ( 820 ฟุต ) เท่านั้น  ดังนั้น สีของน้ำทะเลลึกจึงเป็นสีครามหรือน้ำเงินเข้ม แต่หากน้ำตื้นและมีสารแขวนลอยหรือแพลงก์ตอนมากก็จะมีสีเขียวมากขึ้น
          แสงอาทิตย์นอกจากจะช่วยให้มีการมองเห็นใต้น้ำแล้ว  ยังเป็นแหล่งให้พลังงานที่สำคัญแก่ระบบนิเวศในน้ำทะเลด้วย พืชและสิ่งมีชีวิตเซลเดียวที่สังเคราะห์แสงได้  (Phytoplankton) มีชีวิตอยู่ในทะเลจากช่วงผิวน้ำถึงความลึกประมาณ 150-200 เมตร ซึ่งแสงอาทิตย์ส่องถึง  บริเวณนี้เรียกว่า Euphotic zone  ถัดลึกลงไปจากบริเวณนี้เรียกว่า Aphotic zone  ซึ่งพืชเจริญเติบโตไม่ได้ แต่สิ่งมีชีวิตที่อยู่ใน Aphotic zone  จะบริโภคเศษซากพืชที่ตายแล้วและตกลงสู่ก้นทะเลนั่นเอง
          นอกจากนี้สัตว์ที่อาศัยอยู่ใน  Aphotic zone  ได้วิวัฒนาการปรับตัวให้สามารถมองเห็นได้  โดยการมีดวงตาที่ใหญ่ขึ้น มีรงควัตถุสีสะท้อนแสง หรือให้แบคทีเรียที่มีรงควัตถุสะท้อนแสงอาศัยร่วมอยู่ในตัวมัน  แต่หากสัตว์ที่อยู่ก้นทะเลลึกอาจจะไม่มีตาเลยก็ได้

 

อ่านต่อ