-2-

1    2    3   4   5   6   7   8

 
 

        การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลมีผลต่อแผ่นดินและสิ่งมีชีวิต เช่น ในช่วงเวลาที่น้ำทะเลลด สิ่งมีชีวิตสามารถเคลื่อนย้ายถิ่นฐานระหว่างทวีปได้ ปัจจุบันนี้เราไม่ทราบแน่ชัดว่า ยุคน้ำแข็งสุดท้ายสิ้นสุดหรือยัง  แต่แน่ใจว่าระดับน้ำทะเลกำลังสูงขึ้น ถ้าหากน้ำแข็งตามขั้วโลกในปัจจุบันละลายจะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นประมาณ 60 เมตร หรือ 200 ฟุต
          การใช้ทรัพยากรธรรมชาติประเภทเชื้อเพลิงมากในปัจจุบัน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ประกอบกับการเพิ่มจำนวนประชากรโลกทำให้นักวิทยาศาสตร์กังวลว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (
Greenhouse effects)  จะทำให้อุณหภูมิผิวโลกเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้น้ำแข็งในบริเวณขั้วโลกละลาย ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น จนอาจเป็นอันตรายต่อชุมชนที่อยู่บริเวณที่ราบลุ่มริมฝั่งและก่อความเสียหายมหาศาลต่อชาวโลก ทั้งในเรื่องที่อยู่อาศัยและแหล่งเกษตรกรรมเพื่อเป็นอาหารของพลโลกด้วย
         
  ลักษณะชายหาด
          ริมทะเลมีหาดปรากฏอยู่เสมอ หายหาดเหล่านี้อาจเป็นแนวโขดหินยื่นไปในทะเล หรือเป็นหาดโคลน หาดทรายที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยทั่วไปแล้วชายหาดที่เกิดจากการทับถมของวัสดุที่มีขนาดใหญ่ จะมีความลาดชันค่อนข้างมากกว่าหาดที่มีวัสดุทับถมขนาดเล็ก การเปลี่ยนแปลงของหาดสะท้อนให้เห็นว่าทะเลไม่เคยอยู่นิ่ง  ทะเลมีพลังสร้างและทำลายได้มหาศาล ดังเห็นได้ว่าชายหาดหลายแห่งถูกทำลายไปและขณะเดียวกันก็มีหาดที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ด้วยกลไกทางธรรมชาติ
          บริเวณหาดหินมักมีความชันมาก และค่อยๆ กร่อนอย่างช้าๆ ช้ากว่าหาดทรายมาก อัตราการเกิดและการสึกกร่อนของหาดทรายจะแปรไปตามความรุนแรงของคลื่น หาดทรายเกิดขึ้นเมื่อคลื่นพัดพาทรายเข้ามา และอาจจะพัดพาทรายออกไปเมื่อคลื่นเปลี่ยนทิศทาง โดยปกติแล้วบริเวณแหลมใดๆ  หาดทรายจะทับถมอยู่ด้านเหนือของกระแสน้ำ  และถูกชะพาออกไปทางด้านใต้ของกระแสน้ำ

 

           ลักษณะพื้นท้องทะเล
          บนพื้นโลกมีความสูง 2 เภท คือ ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล และความสูงใต้ระดับน้ำทะเล ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล ได้แค่ ความสูงบนพื้นดิน  ซึ่งเฉลี่ยแล้วมีความสูงประมาณ 800 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง และประมาณร้อยละ 1 ของพื้นดินมีความสูงมากว่า  3 กิโลเมตร เช่น ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ ซึ่งอยู่สูงที่สุดบนพื้นโลก มีความสูงประมาณ 8.8 กิโลเมตร
          ความสูงใต้ระดับน้ำทะเล ได้แก่  ความลึกของทะเล  โดยเฉลี่ยท้องทะเลมีความลึกประมาณ 2.4 กิโลเมตร ซึ่งมีอาณาบริเวณถึงประมาณครึ่งหนึ่งของพื้นผิวโลก  ส่วนบริเวณที่มีความลึกมากกว่า 6.4 กิโลเมตร มีไม่ถึงร้อยละ 1 และบริเวณที่ลึกที่สุดของโลก คือ
Challenger Deep ในมหาสมุทรแปซิฟิก มีความลึกประมาณ 11.2 กิโลเมตร
          มหาสมุทรเป็นเสมือนแอ่งน้ำขนาดมหึมาบนผิวโลกที่มีน้ำเค็มขังอยู่  หากน้ำเหล่านี้แห้งหมดไปก็จะเห็นลักษณะพื้นทะเลเหมือนแผ่นดินบนพื้นโลก  ที่มีทั้งภูเขา หุบเหว เทือกเขา และที่ราบต่างๆ   ลักษณะพื้นทะเลแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
          1.  ขอบทวีป  ประกอบด้วย  2 ส่วน คือ เขตที่ตื้นไหล่ทวีปและเขตลาดชันในที่ลึก เป็นที่ที่มีทรัพยากรมีชีวิตและไม่มีชีวิตอุดมสมบูรณ์ที่สุดในโลก  ในส่วนที่เป็นเขตไหล่ทวีปมีความชันประมาณ  1
: 500  เทียบง่ายๆ คือ หากเราเดินทาง 500 เมตร จะขึ้นเขาเพียง 1 เมตร นั่นเอง และมีความกว้างเฉลี่ยประมาณ 65 กิโลเมตร  พื้นดินส่วนใหญ่จะเป็นทราย หิน และโคลน เลยบริเวณนี้ออกไป เรียกว่า เขตลาดชันในที่ลึก มีความชันประมาณ 1 : 20  และลึกประมาณ 130 เมตร  ถัดออกไปมักจะพบร่องหรือหุบเหวใต้ทะเล ซึ่งเป็นเหมือนลำรางขนาดใหญ่  ช่วยลำเลียงวัสดุจากพื้นทะเลไปที่ต่างๆ  ในรูปของกระแสความขุ่น และนำโคลนลงไปสู่บริเวณที่ราบก้นทะเลต่อไป
          2.  พื้นราบก้นแอ่ง  อยู่ด้านนอกถัดจากขอบทวีป มีความลึก โดยเฉลี่ยประมาณ 4,000 เมตร เป็นบริเวณที่ราบที่สุดเพียงประมาณ  1
: 1000  แต่ก่อนเชื่อกันว่าไม่มีสิ่งมีชีวิตบริเวณนี้  แต่เมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้ว  มีการพิสูจน์ได้แล้วว่า ในห้วงน้ำทะเลที่มืดและเย็นนี้  มีสิ่งมีชีวิตหน้าตารูปร่างแปลกๆ อาศัยอยู่
           3.  แนวเขาใต้ทะเล  เป็นแนวภูเขาใต้ทะเลอยู่สูงจากพื้นราบก้นแอ่งประมาณ 2,000 - 4,000 เมตร  ส่วนใหญ่จมอยู่ใต้ระดับน้ำทะเล มีเพียงบางแห่งเท่านั้นที่โผล่พ้นน้ำมาเป็นเกาะ เช่น เกาะไอซ์แลนด์ ส่วนหนึ่งของ
 Mid - Atlantic Ridge แนวเขาใต้ทะเลมีกำเนิดมาจากหินละลายของภูเขาไฟ (Lava)  ที่อยู่ใต้ทะเลและสิ้นสุดที่แนวรอยเลื่อนของทวีป (Fault)  ที่พาดผ่าน

 

อ่านต่อ