|
ความเค็ม
ความเค็มของน้ำทะเลเกิดจากเกลือแร่หรือธาตุต่างๆ
ที่ละลายอยู่ในมวลน้ำ ธาตุที่มีอยู่ในน้ำทะเลในปริมาณมาก
คือ โซเดียมและคลอรีน รองลงไปคือ แมกนีเซียม
ซัลเฟอร์ แคลเซียม โปแตสเซียม หน่วยวัดค่าความเค็มของน้ำทะเล
คือ "ส่วนต่อพันส่วน" (ppt)
หมายถึง จำนวนกรัมเกลือทั้งหมด
(ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับน้ำหนักแห้งของเกลือ)
ที่ละลายอยู่ในน้ำทะเล 1,000 กรัม
โดยปกติความเค็มของน้ำทะเลมีค่าแปรเปลี่ยนในช่วง 33-37
ส่วนต่อพันส่วน
ซึ่งค่าเฉลี่ยความเค็มโดยทั่วไปมีค่าประมาณ 35 ส่วนต่อพันส่วน
ค่าความเค็มของน้ำทะเลจะแปรเปลี่ยนไปตามฤดูกาล ปริมาณน้ำฟ้า
อัตราการระเหย ตำแหน่งเส้นรุ้ง (Latitude)
และระยะห่างจากปากแม่น้ำหรือชายฝั่ง
คุณสมบัติทางกายภาพของน้ำทะเล
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นว่า
ค่าความเค็มและอุณหภูมิเป็นคุณสมบัติทางกายภาพของน้ำทะเลที่นับว่าสำคัญมากในการควบคุมความหนาแน่นของน้ำทะเล
ซึ่งมีผลต่อการไหลเวียนของน้ำในมหาสมุทร
อุณหภูมิ
เป็นปัจจัยหลักที่กำหนดการกระจายชนิดและความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตในทะเล
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ในทะเลซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัตว์เลือดเย็น
ไม่สามารถปรับอุณหภูมิในร่างกายตามสภาพแวดล้อมได้
อุณหภูมิภายนอกจึงมีบทบาทต่อเซลล์
และขบวนการในร่างกายของสัตว์เป็นอย่างมาก
การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในน้ำทะเลมีช่วงแคบ คือระหว่าง
-1.9 ถึง 27 องศาเซลเซียส ซึ่งบางแห่งอาจจะสูงถึง 40
องศาเซลเซียส เช่น ประเทศจาไมก้า
ที่มีหาดทรายราบมีความลึกประมาณ 1 เมตรเท่านั้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำทะเลมากที่สุดคือ
พิกัดตั้ง (Latitude)
ซึ่งมีผลต่อการรับพลังงานแสงอาทิตย์เป็นอย่างมาก เช่น
ณ แถบศูนย์สูตรได้รับมากกว่าบริเวณขั้วโลกสำหรับปัจจัยอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง คือ ความร้อนจากใต้พื้นโลก
การเปลี่ยนรูปของพลังงานศักย์เป็นพลังงานจลน์ในการเคลื่อนตัวของมวลน้ำจากกระแสคลื่นคลื่นและการถ่ายเทอุณหภูมิระหว่างผิวน้ำกับบรรยากาศ |