1    2    3 

   

          แหล่งปะการังที่สำคัญบริเวณอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันออก ได้แก่  หมู่เกาะสีชัง (เกาะค้างคาว)  หมู่เกาะไผ่ (เกาะมารวิชัย) หมู่เกาะล้าน  ในจังหวัดชลบุรี  อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า หมู่เกาะเสม็ด ในจังหวัดระยอง  อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง หมู่เกาะหมาก  หมู่เกาะกูด  ในจังหวัดตราด  บริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันตก ได้แก่ หมู่เกาะหัวหิน หมู่เกาะประจวบ  หมู่เกาะบางสะพาน  (เกาะทะลุ)  ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  หมู่เกาะทุ่งวัวแล่น (เกาะไข่ เกาะง่าม) หมู่เกาะท่าตะเภา หมู่เกาะเสวี  ในจังหวัดชุมพร หมู่เกาะเต่า  อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง  หมู่เกาะแตน  หมู่เกาะสมุย  หมู่เกาะพงัน ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

     

 

 

 

          สำหรับบริเวณชายฝั่งทะเลอันดันดามันได้แก่  อุทยานแห่งชาติแหลมสน  จังหวัดระนอง - พังงา  อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์  อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ในจังหวัดพังงา  อุทยานแห่งชาติสิรินาถ เกาะเฮ  เกาะราชา ในจังหวัดภูเก็ต  อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา - หมู่เกาะพีพี  อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา  จังหวัดกระบี่  อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม  จังหวัดตรัง  อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา  จังหวัดตรัง-สตูล  และอุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล  ทั้งนี้ บริเวณที่ปะการังเจริญเติบโตได้ดีในทะเลอันดามันมักจะเป็นบริเวณที่มีกำบัง

 

แนวปะการังนั้นสำคัญไฉน
          ธรรมชาติได้เสกสร้างแนวปะการังไว้อย่างน่าอัศจรรย์  ความลึกลับซับซ้อนของซอกหลืบโพรงผาหินในห้วงทะเล  ที่นี่สังคมชีวิตดำเนินไปตามวิถีธรรมชาติอย่างแท้จริง  มีสายใยชีวิตผูกพันกันอย่างลึกซึ้งจนไม่อาจแยกจากกันได้  การหมุนเวียนถ่ายทอดพลังงานหรือห่วงโซ่อาหารในแนวปะการับ  คือ ปัจจัยหลักที่กำเนิดความอุดมสมบูรณ์ให้กับท้องทะเล  ความสำคัญของแนวปะการังยังมีอีกมากมายหลายประการ คือ

bullet

ทำหน้าที่เป็นกำแพงธรรมชาติ  ลดความรุนแรงของการกัดเซาะชายฝั่งจากคลื่นลมและกระแสน้ำ

bullet

 เป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญให้มวลมนุษย์

bullet

เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย หากิน  และแพร่กระจายพันธุ์ของสัตว์ทะเล

bullet

 แหล่งกำเนิดเม็ดทรายให้กับชายหาด  อาจเกิดจากการกัดกร่อนตามธรรมชาติ หรือโดยกากกระทำของสัตว์ทะเลบางชนิด เช่น ปลานกแก้ว

bullet

เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญ  ช่วยให้เกิดการกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่น

bullet

เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า วิจัยทางธรรมชาติวิทยา

ปะการังอ่อน อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสิมิลัน
 
เต่าทะเล
 
 

ทำอย่างไรให้แนวปะการังคงอยู่
          การขยายความเจริญอย่างรวดเร็วของบ้านเมืองตามกระแสโลกาภิวัฒน์  ได้ส่งผลให้มีการนำเอาทรัพยากรชายฝั่งมาใช้ประโยชน์อย่างมากมายมหาศาล  รวมทั้งการพัฒนาที่มีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อทรัพยากรชายฝั่ง  จนทำให้สถานภาพของแหล่งทรัพยากรชายฝั่งตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมอย่างน่าเป็นห่วง  แนวปะการังเป็นทรัพยากรที่มีความเปราะบางอย่างยิ่ง และต้องใช้เวลานานมากกว่าที่จะฟื้นคืนสภาพการป้องกันความเสียหายและรู้จักประโยชน์อย่างชาญฉลาด  จึงเป็นหนทางที่จะอนุรักษ์แนวปะการังให้คงอยู่คู่กับชายฝั่งทะเลไทยได้อย่างยั่งยืน  ซึ่งมีวิธีการดังนี้

bullet

ไม่เก็บหรือซื้อปะการัง

bullet

ระมัดระวังในการท่องเที่ยวชมปะการัง ไม่เหยียบย่ำลงบนแนวปะการัง

bullet

ไม่ทิ้งขยะลงชายหาดและในทะเล

bullet

งดเว้นการทิ้งสมอเรือลงในแนวปะการัง โดยใช้วิธีผูกทุ่นแทน