1    2    3 

   

          ร่างกายของปะการังแยกได้เป็น  2  ส่วน ส่วนแรกเป็นเนื้อเยื่อที่อ่อนนุ่มเรียกว่า "โพลิบ" (Polyp)  รูปร่างเป็นทรงกระบอกปลายตัน  มีปากอยู่ตรงกลางของปลายท่อด้านบน  และมีหนวดอยู่รอบๆ เป็นจำนวน 6 หรือจำนวนเท่าของหก ส่วนที่ที่สองเป็นโครงสร้างหินปูนที่แข็ง  โดยสร้างขึ้นมาห่อหุ้มตัวเรียกว่า "คอรอลไลต์" (Corallite)  ซึ่งเปรียบเสมือนแบบพิมพ์ที่จะคงสภาพอยู่ภายหลังจากที่เน่าเปื่อยหลุดไป

   ::  โครงสร้างของปะการัง  ::  

 

 

 

          การกินอาหารของปะการังจะอาศัยหนวดที่มีอยู่มากมายคอยดักจับสัตว์ตัวเล็กๆ เช่น แพลงก์ตอน จุลินทรีย์ต่างๆ โปรโตซัว ตลอดจนอินทรียสารที่ล่องลอยอยู่ในน้ำเป็นอาหาร
          โครงสร้างหินปูนที่ห่อหุ้มตัวปะการังไว้  จะถูกกัดกร่อนด้วยกระแสคลื่นและถูกแทะเล็มจากสัตว์น้ำบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลานกแก้วที่มีขากรรไกรแข็งเป็นพิเศษ  ชอบกัดกินปะการังและย่อยสลายปะการังซึ่งมีโครงสร้างเป็นหินปูน  แล้วขับถ่ายออกมาเป็นเม็ดทรายที่ขาวละเอียด  ถูกคลื่นซัดสาดขึ้นไปบนชายฝั่งกลายเป็นชายหาดที่แสนสวยในเวลาต่อมา
          แหล่งแพร่กระจายของแนวปะการังถูกจำกัดด้วยอุณหภูมิของน้ำทะเลและแสงอาทิตย์  โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของปะการังจะอยู่ระหว่าง 23-25 องศาเซลเซียส  สูงสุดไม่เกิน 33 องศาเซลเซียส และต่ำสุดไม่เกิน 18 องศาเซลเซียส บริเวณดังกล่าวต้องเป็นที่ที่มีแสงสว่างส่องลงไปถึง  เพื่อสาหร่ายซูซานเทลลี่ที่อาศัยอยู่รวมกับปะการัง สามารถนำไปใช้ในขบวนการสังเคราะห์แสงสร้างอาหาร  และผลิตก๊าซออกซิเจนให้แก่ปะการังด้วย ระดับความลึกที่พบปะการังจึงมักไม่เกินระดับ 50 เมตร แต่ถ้าหากแสงแดดส่องถึงมากเกินไป ปะการังก็ไม่อาจเจริญเติบโตได้ดี  ในเรื่องระดับความเค็มของน้ำทะเลที่เหมาะสมมีค่าประมาณ 30-36 ส่วนต่อพันส่วน  ปะการังไม่อาจเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มีตะกอนขุ่นข้น และฝนตกระยะยาว ด้วยเหตุนี้จึงพบเห็นแหล่งปะการังเฉพาะในน่านน้ำเขตร้อนและอบอุ่นเท่านั้น

 

          จากรูปร่างภายนอกของปะการังที่มีลักษณะเด่นแตกต่างกัน ทำให้สามารถแบ่งกลุ่มของปะการังได้เป็น  7  กลุ่ม คือ
          1.  ปะการังก้อน  เป็นก้อนตันคล้ายก้อนหิน  ไม่มีกิ่งยื่นออกมา เช่น ปะการังสมอง
          2.  ปะการังกิ่งก้าน  บางทีเรียกว่า  ปะการังเขากวาง มีลักษณะเป็นแท่งรวมกันเป็นกระจุก โดยไม่ติดต่อกันเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั้งก้อน มักพบในบริเวณที่น้ำนิ่ง  เนื่องจากไม่สามารถทนทานต่อคลื่นลมรุนแรงได้
          3.  ปะการังหุ้มห่อ  หรือปะการังเคลือบ  มีลักษณะแผ่ขยายคลุมไปตามลักษณะของพื้นผิวที่มันห่อหุ้มอยู่

          4.  ปะการังแผ่น  มีลักษณะแบบขยายออกไปตามแนวราบคล้ายโต๊ะ อาจซ้อนกันเป็นชั้นๆ บางครั้งเรียกปะการังโต๊ะ
          5.  ปะการังผักกาด  หรือปะการังกลีบซ้อน  หรือปะการังแผ่นตั้ง  มีลักษณะเป็นแผ่นแบนติดกัน หรือรวมกันเป็นกระจุกแบบใบไม้หรือผัก  จะพบอยู่ในแหล่งน้ำที่ตื้นหรือน้ำที่ใส
          6.  ปะการังพุ่ม  มีลักษณะเป็นพุ่มกลม มีกิ่งก้านสั้น เป็นแท่งรวมกันเป็นกระจุก เป็นดง หรืออาจพบอยู่ตามด้านบนของก้อนปะการังขนาดใหญ่
          7.  ปะการังเห็ด  มีลักษณะเป็นปะการังก้อนเดี่ยว มีปะการังอยู่ตัวเดียว มีปากอยู่ตรงกลางเคลื่อนที่ไปได้ช้าๆ มักพบตามพื้นทรายระหว่างแนวปะการัง
          แนวปะการังที่ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทั่วไปนั้น  หากจะพิจารณารูปแบบโครงสร้างการก่อตัวแล้ว  สามารถแบ่งได้เป็น  3 ชนิด  โดยแนวปะการังเล็กๆ ที่ก่อตัวและแพร่กระจายตามบริเวณชายฝั่งเรียกว่า
"แนวปะการังชายฝั่ง"  ห่างจากฝั่งออกไปเป็นแนวปะการังที่มีโครงสร้างแงได้เป็นเขตน้ำต่างๆ ในช่วงน้ำลง  อีกทั้งถูกแบ่งกั้นจากชายฝั่ง  โดยทะเลสาบน้ำเค็ม (
Lagoon)  เรียกว่า "แนวปะการังแบบกำแพง"  ส่วนแนวปะการังที่ก่อตัวในน่านน้ำทะเลลึก มีลักษณะเป็นวงแหวนหรือเกือกม้า  ซึ่งอาจเกิดจากภูเขาไฟยุบตัวเรียกว่า "แนวปะการังแบบเกาะ"
         
แนวปะการังที่พบตามชายฝั่งทะเลไทย
          จากลักษณะภูมิประเทศของชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยที่มีลักษณะเป็นชายฝั่งทะเลน้ำตื้น  มีแม่น้ำใหญ่ๆ หลายสายไหลลงสู่อ่าวไทย  เช่น  แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำแม่กลอง  แม่น้ำบางปะกง  และอื่นๆ  น้ำทะเลจึงขุ่นมากกว่าน้ำทะเลด้านชายฝั่งทะเลอันดามัน  ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศค่อนข้างเป็นหน้าผาชัน  การก่อตัวของแนวปะการังของฝั่งทะเลอันดามันจึงเป็นไปได้ดีกว่าทางฝั่งอ่าวไทย  ทั้งนี้เพราะมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เหมาะสมกว่า  โดยเฉพาะความโปร่งใสของน้ำทะเล
          แนวปะการังที่แผ่ขยายอาณาจักรครอบคลุมน่านน้ำชายฝั่งทะเลไทย  มีพื้นที่รวมประมาณ 12,000 ตารางกิโลเมตร  และมีปะการังมากว่า 300 ชนิด  ซึ่งหากจะเปรียบเทียบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว  พื้นที่แนวปะการังของไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนิเซีย  แต่ในเรื่องความงดงามและความหลากหลายนั้น แนวปะการังของไทยขึ้นชื่อลือนามติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก  ซึ่งแนวปะการังที่งดงามนี้ คือแนวปะการังของหมู่เกาะสิมิลันและหมู่เกาะสุรินทร์

ปะการังสมอง และปะการังเขากวาง
 
ปะการังแผ่น
 
ปะการังผักกาด
 
ปะการังเห็ด (สีดำคือเม่นทะเล)
 
ปะการังแผ่น หรือปะการังโต๊ะ

อ่านต่อ