หน้า  1   2   3

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัณฑรีย์ บุญประกอบ  กวินนาถ บัวเรือง
ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

  .....................................................................................

     ครั้งหนึ่ง นานมากประมาณ  4,000 ล้านปีมาแล้ว มีสาหร่ายเล็กๆ ตัวหนึ่งเกิดขึ้นมาในโลก เรียกว่าน้องสาหร่าย มีร่างกายเล็กมาก น้องสาหร่ายต่อสู้แย่งชิงพื้นที่อยู่อาศัยกับใครๆ ไม่ค่อยได้  แต่น้องสาหร่ายมีดีคือมีคลอโรฟิลด์ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำซึ่งมีมากในบรรยากาศโลกยุคนั้นพร้อมทั้งแสงอาทิตย์สร้างอาหารที่เป็นสารอินทรีย์มีโมเลกุลใหญ่ได้เองไม่ต้องพึ่งพาใคร ทำให้อยู่ที่ไหนก็ได้ที่แสง คาร์บอนไดอออกไซด์ และกระทั่งไอน้ำในอากาศ เป็นที่อิจฉาของสรรพสัตว์ทั้งหลาย แต่น้องสาหร่ายอ่อนแอไม่สามารถปกป้องตัวเองจากความรุนแรงของสิ่งต่างๆ รอบตัวได้ เช่น แสงอุลตร้าไวโอเล็ตที่ปปนอยู่กับแสงที่น้องสาหร่ายชอบนักชอบหนา นอกจากนี้ยังไม่มีอาวุธที่เป็นสารเคมีป้องกันเจ้าแมลงร้ายที่คอยมาจับกินเป็นอาหาร  ยังโชคดีที่น้องสาหร่ายมาพบกับน้องราซึ่งมีขนาดกระจ้อยร่อยเช่นกัน มีดีคนละอย่างกับน้องสาหร่ายคือ น้องราเก่งในทางสร้างสารเคมีที่เป็นสารธรรมชาติใช้ป้องกันตัวเอง  แต่น้องราต้องได้อาหารสำเร็จรูปคือสารอินทรีย์ก่อน เพราะน้องราใช้คาร์บอนไดออกไซด์และแสงโดยตรงไม่ได้ นี่คือข้อเสียเปรียบของน้องรา เมื่อทั้งสองต่างก็ได้รับความกดดันจากสิ่งรอบข้างในการดำรงชีวิต และเห็นว่าถ้าต่างคนต่างอยู่คงสู้ใครไม่ได้แน่ๆ อย่ากระนั้นเลย เรามาอยู่ด้วยกันแบบพึ่งพาอาศัยกันดีกว่า แล้ใช้ชื่อว่า ไลเคน เราอยู่ที่ปรัชญาการดำรงชีวิต คือให้และรับอย่างพอดี และไม่ทำอันตรายที่อยู่อาศัยโดยไม่รบกวนหรือทำร้ายที่เกาะอาศัยต่างๆ เช่น เปลือกไม้ วัสดุอื่นๆ และสร้างสารธรรมชาติขึ้นมาปกป้องตัวเองซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสิ่งอื่นๆ ด้วย  ในสมัยโบราณชาวบ้านจึงใช้ภูมิปัญญานำเพื่อนไลเคนมาทำอาหาร เครื่องดื่ม สีย้อม ยารักษาโรค ทำบรั่นดี เบียร์ และส่วนประกอบของเครื่องหอมในปัจจุบัน

จากที่น้องราทำหน้าที่ดูดซับความชื้นและธาตุอาหารจากบรรยากาศในเวลากลางคืน พอรุ่งขึ้นตื่นมามีแสงแดด น้องสาหร่ายจึงใช้น้ำและธาตุอาหารที่น้องราดูดซับไว้สังเคราะห์แสงสร้างสารอินทรีย์ไว้แบ่งให้กับน้องรา  จนกระทั่งแสงแดดจัดน้ำที่น้องราซับไว้หมด เนื่องจากทั้งคู่ไม่มีเครื่องป้องกันการระเหยของน้ำเหมือนพืชทั่วไป ทำให้กลไกต่างๆ หยุดลงทั้งสองเข้าสู่ช่วงเวลาพักผ่อนหรือนอนกลางวัน จึงทำให้การเติบโตเป็นไปอย่างช้างๆ ซึ่งเราสามารถใช้เป็นเครื่องมือบอกอายุหินและโบราณวัตถุได้

          จากนั้นมาน้องสาหร่ายกับน้องราก็ชักชวนพรรคพวกพากันมาจับคู่กัน เกิดเป็นรูปร่างที่แตกต่างกันและเป็นเพื่อนกัน ที่พบทั่วไปมี 3 ลักษณะคือ ลักษณะคล้ายฝุ่นผงเรียกว่าเพื่อนครัสโตส ( crustose ) ลักษณะเป็นแผ่นบางๆ เรียกว่าเพื่อนโฟลิโอส ( foliose ) และลักษณะเป็นเส้นสายพุ่มเรียกว่าเพื่อนฟรูทิโคส ( fruticose )
          เพื่อนทั้งสามต่างชอบที่อยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันไป เช่น เพื่อนครัสโตสที่มีร่างกายยึดราบไปกับที่เกาะอาศัยสามารถเติบโตและทนอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่รุนแรงหรือที่มีมลภาวะ ส่วนเพื่อนโฟลิโอสมีร่างกายบางส่วนยกตัวขึ้นมาในอากาศทำให้มีส่วนร่างกายสัมผัสกับสภาพแวดล้อมดีกว่าจึงชอบอาศัยอยู่ในที่มีมลภาวะน้อย ในขณะที่เพื่อนฟรูทิโคสร่างกายสัมผัสกับอากาศทุกส่วน ไม่ทนต่อบริเวณที่มีมลภาวะ จึงชอบอยู่ในที่ที่อากาศบริสุทธิ์ เราสามารถใช้เพื่อนทั้งสามช่วยบอกถึงคุณภาพของอากาศได้อีกด้วย

หน้า  1   2   3


   สนใจติดต่อขอสมัครสมาชิกและขอรับจุลสารได้ที่ : สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริฯ สวนจิตรลดา ถนนราชวิถี เขตดุสิต  กรุงเทพ 10303 โทร. 0-2282 1850 , 0-2282 0665