หน้า  1   2   3   4   5 

-1-

อ่านหน้าต่อไ

 
 
   

          ความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ของประเทศไทยที่ตั้งอยู่ในบริเวณจุดเชื่อมระหว่างแผ่นดินใหญ่ไปสู่เขตอบอุ่นกับบรรดาเกาะน้อยใหญ่ในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิคสู่เส้นศูนย์สูตรพร้อมกับมีลมมรสุมพัดผ่านจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  และจากทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทั้งสองทิศทาง ได้นำเอาความชุ่มชื้นและความหนาวเย็นมาสู่ประเทศไทยเป็นเวลารวมแล้วประมาณ 8 เดือน มีช่วงที่ปลอดจากลมมรสุมอีกประมาณ 4 เดือน ที่ประเมินเอาว่าเป็นช่วงฤดูร้อน ทั้งลมและฝนจะเป็นตัวนำพาพรรณพืชจำนวนมากให้ทยอยเข้ามาสู่ประเทศ ซึ่งอาจปลิวมาหรืออาจจะลอยตามน้ำมาจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่งจนส่งผลถึงเข้าสู่ประเทศไทยในที่สุด
          ประกอบกับประเทศไทยมีความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 1,650 กม. และมีความกว้างจากทางตะวันออกจรดตะวันตกประมาณ 770 กม. มีสภาพผิวดินที่ส่วนใหญ่เกิดจากอิทธิพลของหินชนิดต่างๆ ที่รองรับรับอยู่มากชนิด ทำให้พืชสามารถเลือกถิ่นตามความต้องการได้ และอันเนื่องมาจากความผสมผสานตามธรรมชาติของพื้นที่บริเวณนี้ ทำให้บรรยากาศเป็นที่น่าอยู่น่าอาศัย เพราะไม่ร้อนเกินไป ไม่หนาวเกินไป ไม่แห้งแล้งเกินไป ทำให้มนุษย์และสัตว์นานาชนิดเมื่อเข้ามาแล้วไม่อยากกลับถิ่นเดิมมีแต่จะพยายามอพยพเข้ามาเพิ่มขึ้น  ผู้อพยพเข้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์มักจะนำพืชพรรณในถิ่นเดิมของตน ที่สามารถใช้เป็นอาหารหรือเป็นยารักษาโรค หรือที่เกี่ยวพันกับความเชื่อของตนเองนำติดตัวเข้ามาด้วย อย่างเช่น มะขาม พริกไทย และต้นโพธิ์ เป็นต้น ในลักษณะอย่างนี้ไม่ถือว่าพืชหรือพรรณไม้ชนิดนั้นเป็นพรรณไม้ถิ่นเดิมของไทย สำหรับสัตว์ความเด่นชัดในการนำพาจะมาในรูปของพืชหรือเมล็ดพืชที่สัตว์นั้นกินเข้าไปแล้วถ่ายออกเมื่อเดินทางไปถึงจุดหนึ่ง
          การกระจายพันธุ์จะเป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเป็นการกระจายจากป่าหนึ่งสู่อีกป่าหนึ่งโดยตรง ลักษณะอย่างนี้ถ้าพบในป่าของประเทศไทยก็ถือว่าเป็นพรรณไม้ถิ่นเดิมของไทยด้วยเช่นกัน ไม่ต้องคำนึงถึงพรรณไม้ต้นแบบ (Type specimens)
          จากความได้เปรียบพิเศษสุดที่ธรรมชาติมอบให้กับประเทศไทยนี้ได้ก่อให้เกิดความหลากหลายของพรรณพืชในรูปแบบต่างๆ กัน เช่น ความหลากหลายของสังคมพืชหรือชนิดป่า ที่เหล่าพรรณไม้นั้นขึ้นอยู่ ความหลากหลายของพืชข้ามถิ่นและความหลากหลายของพืชเขตร้อน
          ความหลากหลายของสังคมพืชหรือชนิดป่า ปัจจัยสำคัญที่กำหนดสังคมพืชที่เป็นหลักใหญ่ๆ มี 3 ประการด้วยกันคือ  ดิน (หิน) รวมทั้งธาตุอาหารในดิน ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางของผิวดิน ปริมาณน้ำฝน (ฝน) และความชุ่มชื้นในดิน ทั้ง 3 ประการ ก่อให้เกิดสังคมพืชในประเทศไทยในกรอบกว้างๆ 2 รูปแบบ คือ สังคมพืชป่าดงดิบ และสังคมพืชป่าผลัดใบ

 

 

 

 

1. สังคมพืชป่าดงดิบ  evergreen forest  เป็นสังคมที่ประกอบไปด้วยพรรณไม้ที่ให้ความเขียวชอุ่มตลอดปี สังคมนี้มีประมาณร้อยละ 30 ของเนื้อที่ป่าของประเทศไทย และแยกเป็นกลุ่มย่อยๆ ตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมได้อีกหลายกลุ่มดังนี้
          1.1  ป่าดิบชื้น (
tropical evergreen rain forest  ) มีอยู่ตามภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ของประเทศ ที่มีระดับสูงตั้งแต่ระดับเดียวกันกับน้ำทะเลจนถึงระดับ 100 เมตร มีปริมาณน้ำฝนตกไม่น้อยกว่า 2,500 มม. ต่อปี พรรณไม้ที่ขึ้นจะมีมากชนิด ได้แก่ พวกไม้ยางต่างๆ ไม้ตะเคียน ไม้สยา ตะเคียนชันตาแมว ไข่เขียว กระบาก ตีนเป็ดแดง จิกนม ขนุนนก เป็นต้น พืชชั้นล่างจะเต็มไปด้วยปาล์ม หวาย ไผ่ต่างๆ และเถาวัลย์นานาชนิด ตามผิวดินและใต้ดินมีพวกมวลชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ การผุสลายทรากอินทรีย์วัตถุ ฯลฯ ก่อให้เกิดการสะสม

ป่าดิบชื้น

ความโอชะของดิน  และการอุ้มน้ำไว้อย่างมหาศาล ป่าประเภทนี้หากถูกทำลายลง จะด้วยเหตุจากการกระทำของมนุษย์หรือภัยธรรมชาติก็ตาม จะมีพรรณไม้ใหม่ เช่น พวกตองเต้า สอยดาว พวกปอบางชนิด เข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็ว หากไม่มีการทำลายซ้ำอีก จะฟื้นตัวได้ในเวลาอันควร และเป็นไปตามขั้นตอน

1.2  ป่าดิบแล้ง ( dry evergreen forest  )  มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่างๆ ของประเทศ ตามบริเวณที่ราบและหุบเขา ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100-500 เมตร มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000 - 2,000  มม. ต่อปี มีพรรณไม้หลักมากชนิดด้วยกัน อาทิ กระบาก ยางนา ยางแดง ตะเคียนหิน เต็งตานี พยอม ตีนเป็ดหรือสัตบรรณ สมพง มะค่า ยางน่อง กระบก พลอง ฯลฯ
          ความโอชะและการอุ้มน้ำของดินแม้จะไม่เท่าเทียมกับป่าดิบชื้น แต่ก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก พืชชั้นล่างมีพวก ปาล์ม พวกหวาย พวกขิง-ข่า แต่ปริมาณไม่หนาแน่นนัก ป่าประเภทนี้มักเปลี่ยนสภาพมาจากป่าดิบชื้นที่ถูกทำลาย หรือป่าเบญจพรรณชื้นที่สมบูรณ์ก็ได้ หากถูกทำลายโอกาสที่จะกลายเป็นป่าเบญจพรรณจะมีมากกว่าอย่างอื่น โดยมี ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้กระโดย เข้ามาทดแทน แต่เป็นไปอย่างช้าๆ



 











 

          ป่าดิบแล้ง