ผู้อาวุโสแห่งคณะปฏิบัติการหมู่เกาะทะเลไทย
เมื่อเรา นินทานหัวหน้าชุด ..และเล่าเรื่อง
โดย
มิสเตอร์กบ
คำว่า
อาวุโส ราชบัณฑิตได้บัญญัติไว้ว่า
"อาวุโส ความหมาย
ว.
ที่มีอายุแก่กว่าหรือมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงกว่า เป็นต้น เช่น
ข้าราชการอาวุโส ครูอาวุโส ศิลปินอาวุโส
น.
ความมีอายุมากว่าหรือมีประสบการณ์ในอาชีพมากกว่า เป็นต้น เช่น
เขามีอาวุโสในการทำงาน ผู้มีอาวุโสทางการเมือง ( ป. อาวุโส เป็นคำ
อาลปนะ คือคำที่พระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษามากกว่าเรียกพระผู้น้อยหรือที่มีพรรษาน้อยกว่า หรือเป็นคำที่พระเรียกคฤหัสถ์, คู่กับ
ภัณเต
ซึ่งเป็นคำที่พระผู้น้อยหรือที่มีพรรษาน้อยกว่าเรียกพระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษามากกว่า
หรือเป็นคำที่คฤหัสถ์ใช้เรียกพระสงฆ์)" ****
ความหมายในส่วนที่เป็นนาม แปลว่า
ผู้มีอายุมากกว่าหรือประสบการณ์ในอาชีพมากว่า
ซึ่งจะมีความหมายตรงกับหลายคนในคณะปฏิบัติงานวิทยาการ
อพ.สธ.ปัจจุบัน
ผู้มีอาวุโสเหล่านั้นคือแบบอย่างให้คนรุ่นหลังดำเนินรอยตาม
หากกล่าวถึงผู้อาวุโสท่านแรกที่จะนึกถึงคือ
ท่านอาจารย์ ดร.จำลอง เพ็งคล้าย
หรือฉายาที่เหล่าลูกหลานคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ.เรียกว่า
อาจารย์ปู่ ผู้อาวุโสใจดีและร่ำรวยอารมณ์ขัน
อาจารย์ปู่เป็นเหมือนเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจสำหรับรุ่นหลังๆ
อาจารย์มีอายุมากว่า 75 ปี แต่ทุกทริป
ไม่ว่าจะเป็นทริปเล็กหรือทริปใหญ่
หัวหน้าชุดพืชจะเป็นใครไปไม่ได้เลย นอกจากอาจรย์ท่านนี้เท่านั้น
สิ่งที่ลูกหลานมองเห็นคือ ผู้ใหญ่สูงอายุ ตัวสูง
เดินตัวตรงนำคณะลูกหลานออกสำรวจพืชตั้งแต่เช้าและกลับเข้ามาที่พักเมื่อเวลาเย็น
บางครั้งอาจจะกลับมาทานอาหารที่พักตรงเวลาบ้างไม่ตรงเวลาบ้างเพราะหลงทาง
(ใครอยากรู้รายละเอียดถามครูอ้วนได้)
นอกจากการทำงานการจำแนกชนิดพืชพรรณต่างๆ ในระดับชั้นปรมาจารย์แล้ว
อาจารย์ยังเป็นคนที่มีวาทะศิลป์ในการพูดอย่างยอดเยี่ยม
ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบการนำการประชุมของอาจารย์เป็นอย่างมาก
อาจารย์สามาถพูดชมให้คนยิ้มได้ตลอดเวลา
เวลาร่วมประชุมกับอาจารย์แล้วจะเป็นการประชุมที่มีความสุขมากๆ
ได้ทั้งเนื้อหาสาระและอารมณ์ขัน
(ขออนุญาตแอบเก็บเทคนิคของอาจารย์ไปใช้บ้างนะครับ)
ศาสตราจารย์กาญจนภาชน์ ลิ่วมโนมนต์ อาจารย์จากคณะประมง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสาหร่าย ในครั้งแรกๆ
ที่พบเห็นอาจารย์มีความรู้สึกว่า อาจารย์ท่านนี้ท่าทางจะดุ
ออกจะกลัวๆ อาจารย์จะนั่งเก็บตัวอย่างสาหร่ายอย่างเงียบๆ
ล้อมหน้าล้อมหลังด้วยลูกศิษย์ต่างวัย ส่วนใหญ่ล้วนเป็นสาวๆ
ทั้งสาวมากและสาวน้อย
วันหนึ่งผู้เขียนอยากรู้เรื่องสาหร่ายก็เดินไปแอบๆ
ถามว่าอาจาย์ทำอะไร
อาจารย์ก็กรุณาอธิบายวิธีการเก็บตัวอย่างให้พอเข้าใจ
แต่ตอนนั้นยังไม่รู้จักว่าท่านคือใคร จนมาถามท่านอาวุโสอื่นๆ
จึงทราบว่าท่านคือ ศาสตราจารย์กาญจนภาชน์ ลิ่วมโนมต์
เจ้าแม่สาหร่าย การปฏิบัติงานของคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ.
ที่ได้เข้าร่วมพร้อมกับอาจารย์นั้น มักเป็นทริปใหญ่ประจำปี
ที่จัดโดยกองทัพเรือ แต่เราทั้งสองฝ่ายจะมีความต้องการตรงข้ามกัน
ทีมกบเขียดต้องการฝนฟ้าเพื่อทำให้พบเจอกบเขียดมากขึ้น
ในขณะที่ศาสตราจารย์กาญจนภาชน์ ลิ่วมโนมนต์ ไม่ต้องการฝน
เพราะว่าจะทำให้น้ำทะเลขุ่น
ทำให้ทีมงานของท่านมองหาสาหร่ายทะเลลำบาก
เป็นความต้องการที่ตรงข้ามกัน
แต่พวกเรามีใจเดียวกันคือสนองพระราชดำริ
ความประทับใจอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ
ผู้หญิงสวยสมวัยและผมดกดำตลอดเวลา ทั้งที่อาจารย์มีอายุถึง 75 ปี!!
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรวรรณ นุตประพันธ์
ผู้อาวุโสแห่งภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ตุ๊ก เป็นฉายาที่คณะปฏิบัติการ
อพ.สะ. เรียกขานอาจารย์
อาจารย์ผู้มีอารมณ์ขันและขนมที่สามารถขอกินได้ตลอดเวลาเป็นเอกลักษณ์
เรื่องเล่าต่างๆ
ที่อาจารย์เล่าให้ฟังสามารถเรียกเสียงหัวเราะจากสมาชิกที่มาล้อมวงฟังกันได้ตลอดเวลา
ปัจจุบันอาจารย์มีอายุใกล้ๆ 70 แล้ว
เมื่อเห็นอาจารย์แล้วก็ประหวัดให้นึกถึงคุณแม่ของตัวผมเอง
ซึ่งท่านทั้งสองจะคล้ายๆ กัน ดังนั้นเวลาไปทำงานกับทีม อพ.สธ.
เหมือนกับไปทำงานแล้วมีคุณแม่ไปคอยดูแลด้วย
อาจารย์นอกจากจะดูแลเรื่องประสานงานต่างๆ ที่เด็กๆ ไม่กล้าจะขอ
ท่านอาจารย์จะเป็นทัพหน้า ที่คอยไปเอ่ยปากขอจากผู้ใหญ่ให้
ท่านต่อไป รองศาสตราจารย์ผุสตี ปริยานนท์ จัดเป็นผู้อาวุโสอีกท่านหนึ่งของคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ.
อาจารย์ทำงานอยู่ที่ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แม้ว่าวัยจะไม่เท่ากับทั้งสามท่านที่กล่าวมาก่อนหน้า
แต่อาวุโสทางหน้าที่ต้องจัดว่าเป็นทีมบุกเบิกมาตั้งแต่ต้น
ฉายาที่คนอื่นเรียกกันคือ อาจารย์ไก่ อาจารย์ไก่ของน้องๆ
ทหาเรือนั้น จะเป็นคนที่ทราบกันดีว่าคือคนตัวใหญ่ๆ และดุดัน
ตรงไปตรงมา คนที่พบแรกๆ อาจจะกลัวอาจารย์
เพราะบุคลิกอาจารย์เป็นคนดุ แต่ในความเป็นจริงอาจารย์ไม่ดุ
แต่อาจารย์เป็นคนตรง พูดตรงไปตรงมาและเสียงดัง
เรื่องนี้ยืนยันได้จากลูกพี่ของพวกเรา เรียกพี่สมชายหรือครูสมชาย
ของน้องๆทหาร พี่สมชายเล่าให้ฟังว่า ตอนเริ่มงานแรกจะกลัวอาจารย์
พยายามหนีตลอด ไม่อยากทำงานกับอาจารย์
แต่อาจารย์ก็เรียกหาให้มาช่วยงานตลอด สุดท้ายก็หนีไปไหนไม่รอด
ลักษณะเด่นของอาจารย์ประการหนึ่ง เมื่อปฏิบัติงานทริปใหญ่ประจำปี
ไม่ว่าจะลงหมู่เกาะหรือเกาะแก่งใดๆ ก็ตาม
ซึ่งแต่ละคณะหรือทีมจะมีสัมภาระทั้งของใช้ส่วนตัวและเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติ
ทุกกระเป๋าหรือกล่องต่างๆ จะผูกชื่อทีมหรือสถานที่ทำงานของตนเองไว้
แต่เมื่อมาดูกองสัมภาระประมาณเกือบครึ่งลำเรือ จะติดชื่อ รศ.ผุสตี
ปริยานนท์ ภาควิชาชีววิทยา จุฬ่ฯ เป็นจำนวนมาก
จนมีคนสงสัยว่าจะขึ้นไปอยู่เกาะเลยหรือยังไง
ทั้งที่ความจริงแล้วสมบัติของอาจารย์มีเพียงไม่กี่ชิ้น
แต่ที่เหลือเป็นของน้องๆ และทีมงาน
เพราะมั่นใจได้ว่าของตัวเองจะไม่หลงไปอยู่กับกลุ่มหรือที่ไหนแน่นอน
และที่แน่ถ้าหลงไปเดี๋ยวก็ได้กลับมาถึงแหล่งที่พำนักของทีมงานเอง
ชื่อนี้ถ้าหากเป็นสินค้าก็จัดว่าติดตลาดไปเรียบร้อยแล้ว
|