ห่างจากกลุ่มว่านจูงนางออกไปอีกเล็กน้อย
แต่ยังคงอยู่ในสภาพนิเวศน์เดียวกัน
พบจุหลันชนิด
C.
ensifolium
(L.) Sw.
เติบโตอยู่ข้าง ๆ ต้นไม้ใหญ่
แต่พบ เพียงไม่กี่ต้น
เมื่อเดินลึกเข้าไปอีกในดงไม้ใหญ่ของป่าผสมผลัดใบที่อยู่ใกล้
ๆ ความหลากหลายของว่าน จูงนางจึงแสดงตัวให้เห็นมากชนิดขึ้น
คือปรากฏชนิด
G. attenuaum
Griff.
และ
G. citrinum Jacks.
เติบโต อยู่ใกล้ ๆ กับว่านหัวครู
(Eulophia spectabilis (Dennst.) Suresh
และ นางอั้ว
(Pectilis susannae (L.)Rafin.)
เหตุเกิดขึ้นที่ป่าเดียวกันนี้เอง
ในครั้งหนึ่ง
ครั้งที่ได้พบกับต้นว่านอึ่ง
(Eulophia macrobulbon (Par.& Rchb.f.) Hook.f.)
ในครั้งนั้นผู้อาวุโสได้
ประสบการณ์ที่ไม่อาจจะลืมได้
เพราะเกิดเหตุก้าวกระโดดของความต่อเนื่อง
คือเมื่อได้พบกับว่านอึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับทางเดินแคบๆ
และยังตื่นเต้นไม่หาย
พันธมิตรแรงงานผู้ล่วงหน้าไปก่อนก็ส่งเสียงมาจาก
ริมห้วยแห้งข้างล่างลึกลงไปใกล้ๆ กับกอไผ่ใหญ่ว่า ให้รีบลงมาเร็วๆ
ผู้อาวุโสเกิดอาการลุกรี้ลุกรน
จึงได้พบทางลงทางลัดที่ลงได้รวดเร็วเกินคาด
การกลิ้งลงเขาครั้งนั้นเป็นไปอย่างราบเรียบด้วยความช่วยเหลือของใบไม้แห้งที่ทับถมกันจนนุ่ม
ส่งให้การไถลเป็นไปอย่างนุ่มนวลและไร้ตอ
ลงไปพบกับเอื้องใบพลู
(Nervilia plicata (Andr.) Schltr.)
ที่มีใบเดี่ยวสีน้ำตาลแดงสวย
คลุมผิวดินอยู่เป็นผืน
ยังไม่ทันไร
พันธมิตรวัยอ่อนก็ตะโกนมาจากยอดเนินสูงลิบว่าให้ขึ้นมาดู
Eulophia pauciflora
Guillaum.
ที่มีดอกใหญ่และสวยได้ใจ
เอื้องใบบัวบก
(Nervilia crociformis (Zoll.&Mor.) Seidenf.
ที่อยู่กันเป็น กลุ่มใหญ่ และ
Habenaria siamensis
ขนาดจิ๋ว
ใบเป็นมันระยิบระยับ
คุ้มจริงหนอ...
งานนี้
หลังจากที่ได้พบกับเอื้องดินในป่าที่มีความลาดชันและมีร่องรอยของการพัดพาต้นเอื้องไปตามร่องน้ำและร่องห้วย
พันธมิตรจึงปรึกษากัน
ด้วยเป็นห่วงว่าถ้าหากน้ำหลากเกิดขึ้นรุนแรงและบ่อยครั้ง
ต้นเอื้องดินบางส่วนก็อาจจะสูญหาย
โดนชะล้างและ โดนดินและหินทับถมอยู่ในห้วย
ทั้งยังมีร่องรอยของการเผาป่าขยายวงกว้างออกทุกปี
ในบริเวณที่มีการหาของป่าของชาวบ้าน
พร้อมกับเห็นร่องรอยของการถางป่าตัดไม้ไปทำฟืน
และที่ร้ายไปไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน
คือการเห็นหลักฐานของการขุดต้นกล้วยไม้ดิน
และการแซะต้นกล้วยไม้อิงอาศัยออกไปจากป่า เพื่อนำไปขาย
ให้นายทุนผู้ค้ากล้วยไม้ป่า
ซึ่งเป็นการทำให้กล้วยไม้ไทยเปลี่ยนมือไปอยู่
และไปทำประโยชน์ให้ต่างชาติต่างแดน
ภัยธรรมชาติและภัยจากมนุษย์เหล่านี้มีส่วนทำให้ต้นเอื้องดินลดน้อยสูญหายไปได้มากเหมือนกัน
ดังนั้นพันธมิตรจึงตกลงใจว่า
ในการออกสำรวจแต่ละครั้งจะมีการนำตัวอย่างของเอื้องดินไปปลูกรักษาไว้ที่พื้นที่ปลูกรักษาพันธุกรรมพืช
อพ.สธ.ภายในศูนย์ฯ
ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัย โดยเก็บไปแต่น้อยแล้วปล่อยให้ส่วนใหญ่ได้กระจายพันธุ์ตามวิถีแห่งธรรมชาติ
เก็บไปปลูกรักษา ขยายพันธุ์ และ
ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเอื้องเหล่านั้น
สำนึกเช่นนี้ ทำให้ผู้อาวุโสหายเหนื่อยและวางใจว่า
อย่างน้อยก็ได้มีกลุ่มคนผู้เยาว์วัยกว่ากลุ่มนี้สืบทอดเจตนารมณ์
ในความเป็นห่วงเกี่ยวกับความปลอดภัยของพรรณพืช
และคงจะสานความรู้สึกนึกคิดเช่นนี้ต่อไปยังกลุ่มอื่น ๆ
จากป่าต่ำ พันธมิตรเคลื่อนพลสู่ป่าสูง
800-1,200
เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
ในเขตป่าสงวนแห่งชาติขุนแม่กวง
ป่าต้นน้ำลำธารที่ศูนย์ฯ เป็นส่วนหนึ่งของป่า
ป่าสูงนี้มีสภาพทางนิเวศน์แตกต่างจากป่าเต็งรังและป่าผสมผลัดใบที่เคยสำรวจผ่านมา
ป่านี้มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหนาแน่น มีห้วย
มีทางน้ำ อุดมสมบูรณ์
บริเวณชายป่าที่อยู่ใกล้ชุมชนนั้นบางส่วน
ชาวบ้านได้แปรพื้นที่เป็นสวนชาเพื่อทำใบเมี่ยง
โดยปลูกต้นชาแทรกไว้ระหว่างต้นไม้ใหญ่
จากการที่เป็นป่าดิบเขาทำให้มีความชื้นสูงกว่าในป่าต่ำ
ชนิดของเอื้องดินที่พบในป่านี้จึงแตกต่างไป
โดยที่ส่วนประกอบของต้นพืชมีความอวบน้ำมากกว่า ชนิดของ
เอื้องดินก็แตกต่างออกไป
เช่นเดียวกับลักษณะของการกระจายพันธุ์ที่แตกต่างไปบ้างตามสภาพของป่า
ป่านี้เป็นแหล่งกระจายพันธุ์ของเอื้องดินหลายสกุลหลายชนิด
ที่พบคือ เอื้องน้ำต้น
(Calanthe cardioglossa Schltr.)
เอื้องหางกระรอก
(Liparis regnieri Finet)
เอื้องมรกต
(L. sutepensis Rolfe ex Downie)
เอื้องฉัตรมรกต
(L. siamensis Rolfe ex Downie)
เอื้องกลีบม้วน
(L. paradoxa (Lindl.) Rchb.f.)
หูเสือ
(Malaxis acuminata D.Don)
แห้วหมูป่า
(M. calophylla (Rchb.f.) Kze.)
สิกุนคล
(M. latifoliaJ.E.Sm.)
เอื้องหนามเตย
(Habenaria
lucida
Wall.
ex. Lindl.)
และ
นางอั้วชนิด
Peristylus constrictus
Lindl.
เอื้องดินเหล่านี้เมื่อนำลงไปปลูกรักษาในพื้นที่รวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ป่าภายในแปลงปลูกรักษาพันธุกรรมพืช
พบว่าต้นพืชทุกชนิดสามารถอยู่รอด
ออกดอกและ ติดฝักได้ในสภาพนิเวศน์ของป่าผสมผลัดใบ
โดยมีความเหลื่อมล้ำเล็กน้อย เพียงฤดูกาลออกดอก
และความ แตกต่างของขนาดของต้นเท่านั้นเอง
หน้าที่ในการดูแลรักษาต้นพืชเป็นของพันธมิตรแรงงาน
ส่วนหน้าที่ในการศึกษาลักษณะ วงจรการเจริญเติบโตพันธุกรรม
การขยายพันธุ์
โดยการเพาะเลี้ยงฝักอ่อนและการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อการใช้ประโยชน์
เป็นหน้าที่ของผู้อาวุโส
พันธมิตรวิชาการและพันธมิตรวัยเรียน
โดยที่จุดมุ่งหมายอีกหนึ่งอย่างที่นอกเหนือจากการปลูกรักษา และการ
เรียนรู้สรีรวิทยาของการเจริญเติบโตของเอื้องดินเหล่านั้น
คือการศึกษาการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ของต้นพืช
เพื่อว่าในวันหนึ่งข้างหน้าเมื่อมีลู่ทางในการทำให้เอื้องดินป่าเข้าสู่เส้นทางของการเป็นเอื้องดิน
ปลูกหรือเอื้องดินเศรษฐกิจได้แล้วนั้น
ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการผลิตต้นพันธุ์เพื่อการค้า
จะเป็นกลุ่มผู้ที่อาศัยอยู่
ณ.
ชายป่าที่เป็นแหล่ง
พันธุกรรมและแหล่งกระจายพันธุ์ของเอื้องดินแต่ละสกุล แต่ละชนิด
บนพื้นฐานของการสร้างความเข้าใจ
ให้แก่กลุ่มชนเหล่านั้นว่า พันธุกรรมพืชในป่าเป็นของส่วนรวม
พันธุกรรมพืชมีประโยชน์ได้ถ้านำมาศึกษาและพัฒนาให้เกิดประโยชน์โดยถูกวิธี
และถูกขั้นตอน เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
ควรจะช่วยกันดูแล และป้องกันไม่ให้ผู้ฉกฉวยโอกาสได้เข้าไปในแหล่งพันธุกรรมพืช
แล้วนำต้นพืชออกมาใช้ประโยชน์ส่วนตนจนหมดสิ้น
ให้เข้าใจว่าพันธุกรรมพืชนั้นถ้า
ยิ่งมีประชากรลดน้อย
ลงจะยิ่งเป็นการลดโอกาสในการเกิดความหลากหลายตามวิธีทางธรรมชาติของชนิดและพันธุ์ได้
ปฏิบัติการของพันธมิตรเอื้องดินดอย
ได้บรรลุผลไปบางส่วนแล้วอย่างน่าชื่นใจ
โดยที่พันธมิตรยังคงเกาะกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น
จะลดจะเพิ่มจำนวนไปบ้างก็เพียงในชุดของพันธมิตรวัยเรียนเท่านั้น
ที่บางคนจำต้องเติบโตต่อไป และออกสู่โลกกว้าง
โดยมีวัยเยาว์คนอื่นหมุนเวียนเข้ามารับช่วงต่อเป็นรุ่นๆ ไป
พันธมิตรวัยเรียนผู้จากไป
นำความหวังของผู้อยู่หลังไปด้วยว่าเขาเหล่านั้นได้ซึมซับในจิตสำนึกที่เกิดขึ้นร่วมกันในระหว่างการปฏิบัติภารกิจ
ยังรำลึกถึงคุณค่าของมิตรภาพและความนับถือ
ที่เกิดขึ้นระหว่างมิตรต่างวัยและต่างวุฒิ
และคงจะได้นำวัฒนธรรมที่สวยงามเช่นนี้ออกไปสู่สังคมในอนาคต
เพื่อจะช่วยจรรโลงความยั่งยืนให้เกิดในมนุษย์ชาติ
และพฤกษาพรรณสืบต่อไป
บันทึกฉบับนี้ตั้งใจจะเล่าขานว่า
ในพื้นที่สำรวจที่เป็นส่วนเสี้ยวเล็ก ๆ
ของป่าใหญ่ไพศาลนี้
พันธมิตรได้พบเห็นพันธุกรรมเอื้องดินมากมายหลากหลายชนิด
ฉะนั้นจึงนึกภาพได้ว่าในผืนดินและขุนเขาที่กว้างใหญ่ของประเทศนั่น
เป็นที่แน่นอนว่า จะต้องมีพรรณพืชในนิเวศน์ที่แตกต่างกันอีกมากมาย
ที่ยังไม่ได้มีการสำรวจ
ยังมีต้นพืชอีกหลายชนิดที่ยังไม่ได้ศึกษา
ไม่ได้รู้จักการสำรวจ
ศึกษา
ปกปัก
รักษา
จะทำได้ทั่วถึงทันการก่อนที่พรรณพืชจะสูญหายไป
โดยไม่มีโอกาสได้พบเห็นและรู้จักเลยหรือไม่
คำตอบส่วนหนึ่งอาจจะอยู่ที่ว่า
จะมีพันธมิตรเช่นกลุ่มของเอื้องดินเกิดมากขึ้นหรือไม่...
และที่สำคัญ
จะมีการสืบสานส่งทอดกันหรือไม่...
ใครจะตอบได้บ้างหนอ
???
|