|
|
|
|
|
สมุนไพรให้สีแต่งสีอาหาร |
ฝาง |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia
sappan L. |
ชื่อสามัญ
: Sappan
Tree |
วงศ์
: LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE |
ชื่ออื่น
: ง้าย
(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); ฝาง (ทั่วไป); ฝางส้ม (กาญจนบุรี) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้พุ่มแตกกิ่งที่โคน สูง
5-8 เมตร สำต้นมีหนามโค้งสั้นๆ
และแข็งทั่วทุกส่วน ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น
เรียงสลับกัน ใบย่อยรูปไข่หรือรูปขอบขนานกว้าง
0.6-0.8 ซม. ยาว 1.5-1.8 ซม. โคนใบเฉียง ดอก ช่อ
ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่งและที่ปลายกิ่ง กลีบรองดอกมี 5 กลีบ
ขอบกลีบเกยซ้อนกัน กลีบล่างสุดโค้งงอและใหญ่กว่ากลีบอื่น กลีบดอกสีเหลือง
มี 5 กลีบ เกสรตัวผู้มี 10 อัน แยกเป็นอิสระ ผล เป็นฝักแบนแข็งเป็นจงอยแหลม
เปลือกเป็นสันมน ปลายแหลม มีเมล็ดเป็นรูปรี 2-4 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ :
แก่นของไม้มีสีแดง
- มี วัตถุไม่มีสี ชื่อ Haematoxylin อยู่
10% วัตถุนี้เมื่อถูกอากาศ อาจจะกลายเป็นสีแดง
- มี แทนนิน เรซิน และน้ำมันระเหยนิดหน่อย |
สรรพคุณ
:
สรรพคุณทางยา
-
แก่นฝาง
- รสขื่นขมหวาน ฝาด รับประทานเป็นยาบำรุงโลหิตสตรี ขับประจำเดือน
แก้ปอดพิการ ขับหนอง ทำโลหิตให้เย็น รับประทานแก้ท้องร่วง แก้ธาตุพิการ
แก้ร้อน แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา
- รักษาน้ำกัดเท้า แก้คุดทะราด แก้เสมหะ แก้โลหิต แก้เลือดกำเดา
-
น้ำมันระเหย - เป็นยาสมานอย่างอ่อน แก้ท้องเดิน
วิธีและปริมาณที่ใช้
-
แต่งสี ย้อมสี
นำแก่นฝางเสนหรือฝางส้ม มาแช่น้ำหรือต้มเคี่ยวจะได้สีชมพูเข้ม (Sappaned)
นำมาใช้ตามต้องการ
-
เป็นยาขับประจำเดือน
ใช้แก่น 5-15 กรัม หรือ 5-8 ชิ้น ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว
เติมเนื้อมะขามที่ติดรกอยู่ (แกะเมล็ดออกแล้ว) ประมาณ 4-5 ฝัก
เคี่ยวให้เหลือ 1 แก้ว รับประทาน เช้า-เย็น
-
เป็นยารักษาน้ำกัดเท้า
ใช้แก่น 2 ชิ้น ฝนแก่นฝางกับน้ำปูนให้ข้นๆ ทาบริเวณที่น้ำกัดเท้า
ในแก่นฝางมีตัวยาฝาดสมาน
-
แก้ท้องร่วง ท้องเดิน
ใช้แก่น หนัก 3-9 กรัม 4-6 ชิ้น ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว
เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว หรือใช้ฝาง 1
ส่วน น้ำ 20 ส่วน ต้มเคี่ยว 15 นาที รับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนโต๊ะ
หรือ 4-8 ช้อนแกง
|
|
|