กลับหน้าหลัก : บทนำ

 

ความรู้ทั่วไป

 

สรรพคุณสมุนไพรแบ่งตามกลุ่มอาการ

กลุ่มยาแก้ปวดฟัน

  กานพลู

 

  ข่อย

 

  ดาวเรือง

 

  ผักชี

 

  ผักคราดหัวแหวน

 

  มะอึก

 

  ลำโพงดอกขาว














































 

     

กลุ่มยาแก้ปวดฟัน

ผักคราดหัวแหวน

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Acmella oleracea  (L.) R.K.Jansen
ชื่อพ้อง : Spilanthes acmella  (L.) Murray

ชื่อสามัญ  Para cress , Tooth-ache Plant

วงศ์  Asteraceae (Compositae)

ชื่ออื่น :   ผักคราด ผักเผ็ด อึ้งฮวยเกี้ย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 30-40 ซม. ลำต้นมักทอดเลื้อย ปลายยอดตั้ง ต้นสีเขียวปนสีม่วงแดง มีขน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม สลับตั้งฉาก รูปสามเหลี่ยม กว้าง 3-4 ซม. ยาว 3-6 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียว มีขนประปรายทั้งสองด้าน ดอก ออกเป็นช่อรูปกรวยคว่ำ ตามซอกใบ ดอกสีเหลือง ผล เป็นผลแห้ง รูปไข่
ส่วนที่ใช้ :
ราก ต้น ทั้งต้น ใบ ดอก (ราก ทั้งต้นสด เก็บได้ตลอดปี หรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้)

สรรพคุณ :

  • ราก - แก้ปวดฟัน แก้ปวดศีรษะ แก้คัน เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ

  • ต้น - แก้พิษตานซาง แก้ไข้ แก้เจ็บคอ ฝีในคอ แก้ต่อมน้ำลายอักเสบ แก้ริดสีดวง

  • ทั้งต้น
    - รสเผ็ด ซ่าปาก ทำให้ลิ้นและเยื่อเมือกชา แก้ต่อมน้ำลายอักเสบ
    - แก้ฝีในคอ แก้ไข้ คอตีบตัน แก้ซาง แก้คัน แก้ริดสีดวง แก้เริม
    - แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง แก้ไอ ระงับหอบ ไอหวัด ไอกรน หอบหืด
    - แก้เหงือกและฟันปวด แก้ปวดบวมฟกช้ำ แก้ไขข้ออักเสบจากลมขึ้น ( Rheumatic fever )
    - แก้บิด ท้องเดิน
    - แก้แผลบวม มีพิษ งูพิษกัด สุนัขกัด ตะมอย

  • ใบ - แก้ปวดฟัน แก้ปวดศีรษะ รักษาแผล มีฤทธิ์เป็นยาชา

  • ดอก - แก้ปวดฟัน แก้ปวดศีรษะ

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

  • ใช้รับประทานภายใน
    ต้มแห้งหนัก 3.2- 10 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรือบดเป็นผงหนัก 0.7- 1 กรัม รับประทานกับน้ำ หรือผสมกับเหล้ารับประทาน

  • ใช้ทาภายนอก
    ต้นสดตำพอก หรือเอาน้ำทาถู ใช้ต้นสด 1 ต้น ตำให้ละเอียด เติมเกลือ 10 เม็ด คั้นน้ำ ใช้สำลีพันไม้ชุบน้ำยาจิ้มลงในซอกฟัน ทำให้หายปวดฟันได้

สารเคมี :
     
ทั้งต้น พบ Sitosterol-O-Beta-D-glucoside, Alpha- และ Beta-Amyrin ester, Stigmasterol, Spiranthol, Spilantol, lsobutylamine