กลับหน้าหลัก : บทนำ

 

ความรู้ทั่วไป

 

สรรพคุณสมุนไพรแบ่งตามกลุ่มอาการ

กลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง

  กาหลง

 

  ระย่อมน้อย

 

  บัวบก

 

  มะขาม









































































 

     

กลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง

มะขาม

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Tamarindus indica  L.

ชื่อสามัญ  Tamarind, Indian date

วงศ์  Leguminosae - Caesalpinioideae

ชื่ออื่น :  ขาม (ภาคใต้) ตะลูบ(ชาวบน-นครราชสีมา) ม่งโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) อำเปียล (เขมร-สุรินทร์) หมากแกง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ม้ต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามปลายกิ่ง หนึ่งช่อมี 10-15 ดอก ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และหวาน
ส่วนที่ใช้ : 
ราก เปลือก ทั้งต้น แก่น ใบ เนื้อในฝัก ฝักดิบ เมล็ด เปลือกเมล็ด ดอกสด

สรรพคุณ :

  • รากแก้ท้องร่วง สมานแผล รักษาเริม และงูสวัด

  • เปลือกต้น - แก้ไข้ ตัวร้อน

  • แก่น - กล่อมเสมหะ และโลหิต ขับโลหิต ขับเสมหะ รักษาฝีในมดลูก รักษาโรคบุรุษ เป็นยาชักมดลูกให้เข้าอู่

  • ใบสด (มีกรดเล็กน้อย) - เป็นยาถ่าย ยาระบาย ขับลมในลำไส้ แก้ไอ แก้บิด รักษาหวัด ขับเสมหะ หยอดตารักษาเยื่อตาอักเสบ แก้ตามัว  ฟอกโลหิต ขับเหงื่อ ต้มผสมกับสมุนไพรอื่นๆ อาบหลังคลอดช่วยให้สะอาดขึ้น

  • เนื้อหุ้มเมล็ด - แก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย ยาถ่าย ขับเสมหะ แก้ไอ กระหายน้ำ เป็นยาสวนล้างท้อง

  • ฝักดิบ - ฟอกเลือด และลดความอ้วน เป็นยาระบายและลดอุณหภูมิในร่างกาย บรรเทาอาการไข้

  • เมล็ดในสีขาว - เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลมในลำไส้ พยาธิเส้นด้าย

  • เปลือกเมล็ด - แก้ท้องร่วง แก้บิดลมป่วง สมานแผลที่ปาก ที่คอ ที่ลิ้น และตามร่างกาย รักษาแผลสด ถอนพิษและรักษาแผลที่ถูกไฟลวก รักษาแผลเบาหวาน

  • นื้อในฝักแก่ (มะขามเปียก) - รับประทานจิ้มเกลือ แก้ไอ ขับเสมหะ

  • ดอกสด - เป็นยาลดความดันโลหิตสูง

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

  1.  เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือน ตัวกลม ตัวเส้นด้าย ได้ผลดี
    ใช้เมล็ดคั่วกะเทาะเปลือกออก แล้วเอาเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานเนื้อทั้งหมด ครั้งละ 20-30 เมล็ด

  2. เป็นยาระบาย ยาถ่าย
    -
    ใช้เนื้อที่หุ้มเมล็ด (มะขามเปียก) แกะเมล็ดแล้วขนาด 2 หัวแม่มือ (15-30 กรัม) จิ้มเกลือรับประทาน แล้วดื่มน้ำตามมากๆ
    - เอามะขามเปียกละลายน้ำอุ่นกับเกลือ ฉีดสวนแก้ท้องผูก

  3. แก้ท้องร่วง
    -เมล็ดคั่วให้เกรียม กะเทาะเปลือกรับประทาน
    -เปลือกต้น ทั้งสดและแห้ง ประมาณ 1-2 กำมือ (15-30 กรัม) ต้มกับน้ำปูนใส หรือ น้ำ รับประทาน

  4. รักษาแผล
    เมล็ดกะเทาะเปลือก ต้ม นำมาล้างแผลและสมานแผลได้

  5. แก้ไอและขับเสมหะ
    ใช้เนื้อในฝักแก่ หรือมะขามเปียก จิ้มเกลือรับประทานพอควร

  6. เป็นยาลดความดันสูง
    ใช้ดอกสด ไม่จำกัดจำนวน ใช้แกงส้มหรือต้มกับปลาสลิดรับประทาน

สารเคมี :

  • ใบ  มี  Alcohols, phenolic esters and ethers. Sambubiose, Carboxylic acid, Oxalic acid

  • ดอก  มี  a - Oxoglutaric acid, Glyoxalic acid , Oxaloacetic acid

  • ผล มี  Alcohols, Aldehydes; Citric acid Ketones, Vitamin B1, Essential Oil, Enzyme.

  • เมล็ด  มี  Phosphatidylcholine, Proteins Glutelin, Albumin, Prolamine, Lectin