|
|
|
|
|
กลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง |
บัวบก |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centella
asiatica (L.) Urban. |
ชื่อสามัญ
: Asiatic
pennywort, Indian pennywort |
วงศ์
: Apiaceae (Umbelliferae) |
ชื่ออื่น
: ผักหนอก
(ภาคเหนือ) ผักแว่น (ภาคใต้) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นไหลทอดเลื้อยไปตามดินที่ชื้นแฉะ ขึ้นง่าย
มีรากฝอยออกตามข้อ ใบชูตั้งขึ้น มีไหลงอกออกจากต้นเดิม ใบ เป็นใบเดี่ยว
ออกเรียงสลับ รูปไต ขนาดกว้างและยาว 2-5 ซม. ปลายใบกลม โคนใบเว้า ขอบใบหยัก
แผ่นใบสีเขียวมีขนเล็กน้อย ก้านใบยาว ดอก ออกเป็นช่อแบบซี่ร่มตามซอกใบ
มีดอกย่อย 2-3 ดอก กลีบดอกมี 5 กลีบ สีม่วงอมแดงกลับกัน ผล
เป็นผลแห้งแตกแบน เมล็ดสีดำ
ส่วนที่ใช้ :
ทั้งต้นสด |
สรรพคุณ
:
-
ใบ - มีสาร Asiaticoside ทำยาทาแก้แผลโรคเรื้อน
-
ทั้งต้นสด
- เป็นยำบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า
- รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงูกัด
- ปวดศีรษะข้างเดียว
- ขับปัสสาวะ
- แก้เจ็บคอ
- เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง
- ลดความดัน แก้ช้ำใน
-
เมล็ด - แก้บิด แก้ไข้ ปวดศีรษะ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
-
ใช้เป็นยาแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
ใช้ต้นสดไม่จำกัด รับประทาน หรือคั้นน้ำจากต้นสดรับประทาน
ควรรับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน
-
ใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ
ใช้ทั้งต้นสด 10-20 กรัม หรือ 1 กำมือ ตำคั้นน้ำเติมน้ำส้มสายชู 1-3
ช้อนแกง จิบบ่อยๆ
-
เป็นยาลดความดันโลหิตสูง
ใช้ทั้งต้นสด 30-40 กรัม คั้นน้ำจากต้นสด เติมน้ำตาลเล็กน้อย
รับประทาน 5-7 วัน
-
ยาแก้ช้ำใน (พลัดตกหกล้ม)
ใช้ต้นสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำคั้นน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อย ดื่ม
1 ครั้ง รับประทานติดต่อกัน 5-6 วัน
-
เป็นยาถอนพิษรักษาแผลน้ำร้อนลวก
ใช้ทั้งต้นสด 2-3 ต้น ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดพอกแผลไฟไหม้
ช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อน
-
เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด
ใช้ใบสด 20-30 ใบ ล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด
ช่วยห้ามเลือดและรักษาแผลให้หายเร็ว
สารเคมี : สารสกัดจากใบบัวบกประกอบด้วย
madecassoside asiatic acid, asiaticoside, centelloside, centellic acid
brahminoside, brahmic acid. |
|
|