กลับหน้าหลัก : บทนำ

 

ความรู้ทั่วไป

 

สรรพคุณสมุนไพรแบ่งตามกลุ่มอาการ

กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ

  จิก

 

  ชะเอมไทย

 

  ปีบ

 

  ไพล

 

  มะแว้งเครือ

 

  มะแว้งต้น

 

  มะกรูด

 

  มะดัน

 

  มะขามป้อม

 

  มะนาว

      มะอึก
      ลำโพงดอกขาว
 

  หนุมานประสานกาย
































 

     

กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ

หนุมานประสานกาย

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Schefflera leucantha  R. Vig.

วงศ์  Araliaceae

ชื่ออื่น :  -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำใกล้พื้นดิน เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 6-8 ใบ รูปรี กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 5-8 ซม. โคนใบแหลม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกเล็กสีขาวนวล ผล เป็นผลมีเนื้อ รูปทรงกลม ขนาดเล็ก
ส่วนที่ใช้ :
 ใบสด

สรรพคุณ :

  1. รักษาโรคหืด โรคแพ้อากาศ ขับเสมหะ

  2. รักษาโรคหลอดลมอักเสบ

  3. รักษาวัณโรคปอด แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด

  4. ตำพอกแผลห้ามเลือด ห้ามเลือด

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

  • รักษาโรคหืด แพ้อากาศ ขับเสมหะ และโรคหลอดลมอักเสบ
    ใช้ใบสดเล็กๆ 9 ใบ ต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า-เย็น เป็นเวลา 49 วัน หืดควรจะหาย

  • ยาแก้อาเจียนเป็นเลือด
    ใช้ใบสด 12 ใบย่อย ตำคั้นน้ำ 2 ถ้วยตะไล รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยตะไล ติดต่อกัน 5-7 วัน

  • ใช้รักษาวัณโรค
    ใช้เหมือนวิธีที่ 1 ติดต่อกัน 60 วัน แล้ว x-ray ดู ปอดจะหาย แล้วให้รับประทานต่อมาอีกระยะหนึ่ง

สารเคมี :
         พบ Oleic acid, butulinic acid, D - glucose, D - Xylose, L - rhamnose