กลับหน้าหลัก : บทนำ

 

ความรู้ทั่วไป

 

สรรพคุณสมุนไพรแบ่งตามกลุ่มอาการ

กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ

  จิก

 

  ชะเอมไทย

 

  ปีบ

 

  ไพล

 

  มะแว้งเครือ

 

  มะแว้งต้น

 

  มะกรูด

 

  มะดัน

 

  มะขามป้อม

 

  มะนาว

      มะอึก
      ลำโพงดอกขาว
 

  หนุมานประสานกาย


















 

     

กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ

ชะเอมไทย

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Albizia myriophylla  Benth.

วงศ์  Leguminosae - Mimosoideae

ชื่ออื่น :  ชะเอมป่า (กลาง) ตาลอ้อย (ตราด) เพาะซูโพ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ย่านงาย (ตรัง) ส้มป่อยหวาน (ภาคเหนือ) อ้อยช้าง (สงขลา,นราธิวาส)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถารอเลื้อย ลำต้น กิ่งก้านมีหนามแหลมสั้น เปลือกต้นมีรอยแตกตามขวางลำต้น ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายใบรูปใบหอก โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด มีดอก 2 แบบ ดอกสีเหลืองอ่อน กลีบดอกเล็ก เกสรเพศผู้ยาว ผล เป็นฝักแบน ผิวเรียบ ฝักอ่อนสีเขียว พอแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแตกออก
ส่วนที่ใช้ :
ราก เนื้อไม้

สรรพคุณ :

  • ราก  - แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ใช้แทนชะเอมเทศ

  • เนื้อไม้   - บำรุงธาตุ แก้กระหายน้ำ แก้โรคในคอ

วิธีและปริมาณที่ใช้

 แก้ไอขับเสมหะ
      
       
ใช้รากยาว 2-4 นิ้ว ต้มน้ำรับประทาน เช้า-เย็น ถ้าไม่ทุเทา รับประทานติดต่อกัน 2-4 วัน