|
|
|
|
|
|
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานให้
ชมพูภูคา
เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ |
|
|
|
ชมพูภูคา
เป็นพืชหายากใกล้สูญพันธุ์ที่มีดอกสีชมพูอมขาวงดงาม
ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ตามแนวพระราชดำริ |
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Bretschneidera sinensis
Hemsl. |
|
ชื่อวงศ์
: BRETSCHNEIDERACEAE |
|
|
|
เป็นไม้ต้นสูงได้ถึง 25 เมตร เปลือกเรียบสีเทา ใบ
เป็นใบประกอบแบบขนนก ยาว 30-80 เซนติเมตร ใบย่อยไม่มีก้านใบ รูปหอกถึงรูปไข่
กว้าง 2.5-6 เซนติเมตร ยาว 8-25 เซนติเมตร โคนใบมนไม่เท่ากัน ปลายใบแหลม ดอก
สีชมพู คล้ายรูประฆัง ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อยาวได้ถึง 40 เซนติเมตร
กลีบรองดอกขนาดใหญ่ รูปถ้วยขอบหยักตื้นๆ กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กว้าง
โคนกลีบเรียวยาว ปลายกลีบม้วนออกด้านนอก ขนาด 1.8-2 เซนติเมตร กลีบบนมักคว่ำลง
เกสรผู้ 8 อัน ผล รูปกระสวย แก่แล้วแตก เมล็ด รูปรี กว้าง
12 มิลลิเมตร ยาว 20 มิลลิเมตร |
|
|
|
ชมพูภูคา
พันธุ์ไม้ใกล้สูญพันธุ์ของโลก ซึ่งพบเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน |
|
|
ด้วยความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง
1,980 เมตร
ดอยภูคานับเป็นยอดดอยที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งของเทือกเขาหลวงพระบาง
และเป็นยอดดอยที่สูงในลำดับต้นๆ ของประเทศไทย
ซึ่งจากสภาพดังกล่าวนี้ทำให้เทือกดอยภูคา มีลักษณะโดดเด่น
ในด้านระบบนิเวศของพืชพรรณภูเขาสูงอันอุดมไปด้วยป่าดงดิบเขา
ป่าดงดิบชื้น รวมทั้งป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง
อีกทั้งเป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำน่านอีกด้วย
พันธุ์ไม้ที่สำคัญที่สุดและพบเพียงแห่งเดียวในโลกที่นี่คือ
ชมพูภูคา ซึ่งเป็นต้นไม้พื้นเมืองของไทย และเป็นพันธุ์ไม้หายาก
ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของโลก โดยเมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา
มีรายงานว่าพบพันธุ์ไม้ชนิดนี้ ที่มณฑลยูนานประเทศจีน
แต่ปัจจุบันคาดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว |
สำหรับในประเทศไทยมีรายงานการสำรวจพบพันธุ์ไม้ชนิดนี้เมื่อมี พ.ศ.
2532 บริเวณป่าดงดิบเขาดอยภูคา อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอปัว
จังหวัดน่าน โดยลักษณะต้นชมพูภูคานี้จะสูงประมาณ 25 เมตร
เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 50 เซนติเมตร เปลือกเรียบเป็นสีเทา
ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวมีใบย่อยรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบแหลมยาว
แผ่นใบด้านล่างมีนวลสีขาว
ช่อดอกตั้งตรงแยกแขนงออกตามปลายกิ่งกลีบเลี้ยงติดกันคล้ายรูประฆัง
กลีบดอกสีชมพูมีริ้วสีแดง ออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม
ผลคล้ายมะกอกแต่มีขนาดใหญ่กว่า
พันธุ์ไม้ชนิดนี้จากการศึกษาพบว่าจะเจริญเติบโตได้ดีบริเวณป่าดงดิบเขาตามไหล่เขาสูงชันที่มีความสูงตั้งแต่
1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป
และมีความชื้นของอากาศสูงอุณหภูมิเฉลี่ยค่อนข้างต่ำตลอดทั่งปี
ปัจจุบันได้มีการทดลองเพาะกล้าไม้ชมพูภูคาจากเมล็ดเป็นผลสำเร็จซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ชมพูภูคาไม่สูญพันธุ์จากโลกนี้ต่อไป |
*
ข้อมูลจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ว่าด้วยเรื่องนิเวศธรรมชาติในเมืองไทย-ภาคเหนือ |
|
|
|
|